EP.01 เส้นทาง 30 ปีบริษัทในตลาดทุนไทย โอกาสของบริษัทยุคใหม่ ที่อยาก IPO อยู่ตรงไหน
บริษัทที่สามารถ IPO ได้ ตั้งแต่ยุค Analog จนถึงยุค Digital มีหน้าตาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? ในยุคที่ Software โดดเด่นในตลาดโลกปัจจุบัน โอกาสของธุรกิจที่อยาก IPO อยู่ตรงไหน? และทักษะสำคัญของผู้นำที่จะนำพาบริษัทไปสู่ความสำเร็จมีอะไรบ้าง หาคำตอบที่น่าสนใจเหล่านี้กับคุณจิ๋ม สุวภา เจริญยิ่ง อุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย ผู้มีประสบการณ์ช่วยหลายบริษัทชั้นนำในไทย ให้ประสบความสำเร็จในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ เช่น บริษัทที่เราคุ้นหูกันดีอย่าง Land & Houses, Workpoint หรือ Thai AirAsia
Guestคุณจิ๋ม-สุวภา เจริญยิ่ง
อุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย
Transcript
ทุกคนอาจจะแปลกใจว่าเอ๊ะ สมัยก่อนการเข้าตลาดมันไม่คึกคักเท่าเหมือนวันนี้ ก็เพราะว่าสมัยก่อนมูลค่ามันไม่ได้เยอะอย่างนี้ แต่วันนี้มันเกิดการคุยถึงลักษณะบริษัทที่มีการโตแบบก้าวกระโดด บริษัทที่อยู่บนหน้า Main board วันนี้คือ MINOR เข้าตลาดหลักทรัพย์วันนั้นก็ได้เงินแค่ 100 กว่าล้าน Land and Houses ได้เงินประมาณไม่ถึง 300 สองบริษัทนี้วันนี้แสนล้านทั้งคู่ อันนี้คือประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
สมัยก่อนยังไม่มีสตาร์ทอัพ กลุ่มที่มาแรงมากคือกลุ่มโรงพยาบาล shift มาที่กลุ่มอะไรอีก ก็มากลุ่มทางด้านเกี่ยวเนื่องกับ Entertain จิ๋มเพิ่งทำงานบริษัทปีที่แล้วคือ ONEE ONE Enterprise จาก Land and Houses ซึ่งเป็นลักษณะ Property ต้องมีที่มีทาง มี Asset มาสู่ยังบริษัท ONEE พูดจริงๆ แล้ว ไม่มี เป็นคอนเทนต์ทั้งสิ้น ทุกอย่าง Everything in the air หมด
ธุรกิจสมัยนี้ที่เข้าตลาด การที่มีโอกาสสเกลได้เยอะ มี Potential สูงๆ เขาหน้าตาเป็นยังไงกันหรอครับ
พี่จิ๋มมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้บริหารเก่งๆ เยอะมากในประเทศนี้ ผู้บริหารสมัยนี้เขามีทักษะอะไร เขามีลักษณะยังไงทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ขนาดนั้นครับ
ทุกวัน ในการทำงานของผู้บริหารชั้นนำ พวกเขาคิดอย่างไร ลงมือทำอย่างไร เรียนรู้อย่างไร และนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร พูดคุยเจาะลึกแบบใกล้ชิดติดขอบโต๊ะ คราฟต์เนื้อหาจากวัตถุดิบที่ดีที่สุด เสิร์ฟเป็นความรู้แบบพอดีคำกับผม ต้า วิโรจน์ จิรพัฒนกุล ในรายการ Chief's Table
รายการ Chief's Table ในวันนี้นะครับ เราจะมาพูดคุยกับผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการตลาดทุน วงการการลงทุนในประเทศไทยกว่า 30 ปี เขาผู้นี้มีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดร่วมกับ CEO ในบริษัทชั้นนำหลากหลายแห่งในประเทศไทย วันนี้เราได้รับเกียรติจาก พี่จิ๋ม สุวภา เจริญยิ่ง นะครับ
รู้จักกันดีในฐานะผู้ที่อยู่เบื้องหลังการนำบริษัทกว่า 80 บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยนะครับ พี่จิ๋มเป็นคนทำคลอดหลายๆ บริษัทที่พวกเราอาจจะคุ้นเคยกันดีอย่าง Land and Houses, Workpoint, AirAsia นะครับ หรือว่าล่าสุดก็จะเป็น The One Enterprise
พี่จิ๋มยังดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทยนะครับ แล้วก็เป็นกรรมการอิสระให้กับหลายๆ บริษัทในประเทศไทยอีกด้วย ก็เลยชวนพี่จิ๋มมาพูดคุยกันถึง Landscape ว่าธุรกิจทุกวันนี้เราอยากทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ รูปแบบธุรกิจในวันนี้มันเปลี่ยนไปยังไงบ้าง แล้วทักษะที่ผู้นำหรือทีมงานต้องมีเพื่อที่จะพาทีมให้ประสบความสำเร็จได้ สามารถทำ Winning Strategy ที่เราอยากทำให้สำเร็จได้ เขาต้องมีทักษะอะไรกันบ้าง เดี๋ยววันนี้พี่จิ๋มมาเล่าให้พวกเราฟัง
พี่จิ๋มสวัสดีครับ
สวัสดีค่ะ ต้าสวัสดีค่ะ
วันนี้เราคุยกันสบายๆ นะครับ อย่างที่ผมเกริ่นไปนะครับว่าพี่จิ๋มเป็นหนึ่งในคนที่คร่ำหวอดในวงการตลาดทุนนะครับ เอาหลายๆ องค์กรเข้าตลาดไปได้ วันนี้ก็เลยอยากจะมาชวนพี่จิ๋มคุยว่าธุรกิจทุกวันนี้เขาเป็นอะไรยังไงกันนะครับ แล้วผู้ฟังก็จะได้พอเห็นภาพว่า ในอนาคตถ้าเขาอยากทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเขาต้องทำยังไง ต้องมีสกิลอะไรยังไงกันบ้าง
เริ่มต้นอาจจะอยากให้พี่จิ๋มเล่าครับว่า ประสบการณ์ของพี่จิ๋มคร่าวๆ ว่าพี่จิ๋มมีโอกาสเข้าไปช่วยบริษัทไหนยังไงมาบ้างครับผม
ได้ค่ะ ถือว่าขอบคุณพี่ๆ ทั้งหลายที่ให้เกียรติเรา คือสมัยก่อนก่อนจะมาเป็นวันนี้ จิ๋มก็เป็นน้องน้อยคนหนึ่งซึ่งเข้ามาได้มีโอกาสไปทำเคสใหญ่ๆ ตอนนั้นก็เป็นความตื่นตาตื่นใจ แล้วก็ทุกคนอาจจะแปลกใจว่าเอ๊ะ สมัยก่อนการเข้าตลาดมันไม่คึกคักเหมือนทุกวันนี้ ถามว่าทำไม ก็เพราะว่าสมัยก่อนมูลค่ามันไม่ได้เยอะอย่างนี้
คุณต้าเคยได้ยินคำว่า P/E ไหมคะ Price to Earnings สมัยก่อนได้อยู่ประมาณ 8 เท่า 10 เท่า หลายคนก็บอกเดี๋ยวผมทำ 2 ปีผมก็ได้ละ มูลค่าแค่นี้ แต่วันนี้มันเกิดการคุยถึงลักษณะบริษัทที่มีการโตแบบก้าวกระโดด มันพูดถึง P/E 20 เท่า
P/E 20 เท่า คืออะไร หมายถึง กำไรวันนี้ แต่ราคาที่ได้เท่ากับ 20 ปีล่วงหน้า เป็น 20 เท่าขึ้นมา เพราะฉะนั้นถ้าในสายสตาร์ทอัพที่คุณต้าอยู่เนี่ยเขาก็จะพูดถึง XX ทั้งหลาย ใช่มั้ยคะ ส่วนใหญ่ 10X ก็เป็นอะไร เป็นกี่เท่าที่สายนี้ แต่ว่าสายตลาดทุนมันเกินเลยจากตรงนั้น
ถามว่าถ้ากลับย้อนไปอดีต จิ๋มเคยทำบริษัทชื่อ Land and Houses นะคะ เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์บริษัทแรกที่เข้าตลาด
ผมเชื่อว่าทุกคนรู้จัก
คิดว่าทุกคนคงรู้จักนะคะ แล้วก็ในการตั้งชื่อ Land and Houses มีบ้านหลายหลังนะคะ ตามที่คุณอนันต์มา จิ๋มเจอคุณอนันต์ตั้งแต่ท่านอายุ 38 ปีนี้ท่านก็คงจะ 70 กว่าละ ความฝันของท่านก็คือว่า แรกสุดเลยเนี่ย เห้ย ทำไมผมจะต้องเซ็นค้ำประกันแบงก์อยู่นั่นแหละ คือเจ้าของธุรกิจทุกคนก็คงจะทราบ เวลาท่านไปกู้ยืมแบงก์เนี่ย สิ่งที่ท่านเจอก็คือว่าบุคคลต้องค้ำ ท่านก็ถามว่ามีทางไหนมั้ยที่บุคคลจะไม่ต้องค้ำ วันนั้นก็เลยบอกว่าถ้าบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทางแบงก์มีความเชื่อมั่น ก็จะถอนหลักประกันจากการเป็นบุคคลค้ำขึ้นไป
แต่สิ่งที่แลกที่แบงก์เขามอง เขาไม่ได้ใจดีหรอกนะคะ เขามองก็เพราะว่าพอคุณเข้าตลาด คุณเพิ่มทุนได้ แล้วเรื่องราวคุณเป็นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะยิ่งขึ้น ก็เลยเกิดกลไกนี้ขึ้นมา
แล้ว Land and Houses ก็เลยเป็นหนึ่งในบริษัทที่อาจจะเรียกว่าต้นแบบก็ได้ เพราะอสังหาริมทรัพย์ตอนนั้นไม่มีใครกล้าเข้าเลย แล้วตลาดก็ไม่ยอมที่จะให้เข้า หลังจากเขาเข้าสิ่งที่เขาได้วันนั้นเนี่ย ที่ย้อนกลับไป ทุนจดทะเบียนแค่ 60 ล้านบาท กระจายหุ้นแค่ 10% 6 แสนหุ้น ได้มา 48 บาท ไม่ต้องคูณเลย ตัวเลขแบบ จิ๊ด นะคะ
แต่ถ้าไปอย่างนั้น บริษัทที่อยู่บนหน้า Main Board วันนี้คือ MINOR วันนั้นใช้ MINOR Food เข้าตลาดหลักทรัพย์ คุณบิล ทำไมตั้งชื่อบริษัทนี้ว่า MINOR เพราะตอนท่านตั้งบริษัทท่านเป็นผู้เยาว์ อายุ 17 นะคะ บริษัทนี้เป็นผู้เยาว์ เป็น Minors อายุ 17
ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ค่ะ เป็น Minor เลยรักชื่อบริษัทนี้มาก สำหรับวันนี้ชื่อย่อในกระดานคือ MINT หลายคนคงจะรู้ที่ว่าทำโรงแรม ทำบอนชอน chain ทั้งหลาย Burger King เข้าตลาดหลักทรัพย์วันนั้นก็ได้เงินแค่ร้อยกว่าล้าน อันนี้คือประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
Land and Houses ได้เงิน 100 กว่า 48 บาทคูณ 6 แสนก็เป็นเท่าไหร่ ก็คูณมา ก็คือ 3 ร้อยกว่าล้าน ประมาณไม่ถึงสามร้อย MINOR ได้ร้อยกว่าล้าน สองบริษัทนี้วันนี้แสนล้านทั้งคู่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือวันนั้นมันมี Drive ให้เขาเดิน ความมุ่งมั่นของตัวบริษัทเอง ตัวประธาน ตัว CEO ตัวเจ้าของเองเนี่ย มันเป็นสิ่งที่สามารถสำเร็จได้และถือซะว่ามันเป็นความท้าทายสองทาง
คือเวลาเราไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทุกปีเรากำไร ด้วยความเคารพ ครอบครัวนะ กำไร 50 ล้าน 60 ล้านก็มีความสุขได้แล้ว เหลือจะเกินพอ ไม่มีใครมาจ้ำจี้จ้ำไช อยากจะซื้อรถซักคัน อยากจะไปเที่ยวต่างประเทศ อยากจะเบิกเงินบริษัทมาซื้อกระเป๋า แล้วใครจะว่าอะไร คุณฟังแล้วคุ้นมั้ยคะ ใครจะว่าอะไรท่าน ถูกมั้ยคะ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า ถ้าเข้าตลาดแล้วเริ่มเข้าใจว่า 1 บาทที่อยู่ นอกตลาดหลักทรัพย์ก็คือ 1 บาทกำไร แต่ 1 บาทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มันกลายเป็น 20 บาทราคาหุ้น 100 ล้านที่กำไรนอกตลาดหลักทรัพย์มันกลายเป็น 2 พันล้าน ในที่สุดเราเจอ 100 ล้านกลายเป็นของ 6 พันล้าน 7 พันล้าน คือ 60-70 เท่าก็ได้ มันก็เลยเกิดความตื่นตาตื่นใจ
แล้วคำถามว่า เอ๊ะ แล้วนักลงทุนเขาไม่ฉลาดหรือไง ทำไมต้องซื้อของแพงขนาดนี้ ก็ต้องบอกว่าเวลาที่เขาให้มูลค่ากิจการประเภทที่ว่า P/E สูงๆ เนี่ย มันมาจากที่เขาเชื่อว่าคุณโตมั้ย เพราะฉะนั้นถามกลับก็คือว่า ถ้าศัพท์แสงสตาร์ทอัพก็จะใช้คำว่า สเกล นะคะ สเกลได้ไหม ศัพท์แสงของพี่จิ๋มก็คงเป็นว่า เห้ย คุณเติบโตได้เร็วแค่ไหน ถ้าคุณยิ่งเติบโตได้เร็ว ตลาดเป็นของคุณได้มาก P/E คุณจะ command ได้สูงมาก
สมัยก่อนยังไม่มีสตาร์ทอัพ กลุ่มที่มาแรงมาก จากสมัยก่อน P/E 8 9 ขึ้นมาเป็น P/E 40 คือกลุ่มโรงพยาบาล เพราะเขาคิดว่า หนึ่ง วันนึงคนก็ต้องอายุเยอะขึ้น แล้ว at the end สุดท้ายทุกคนก็อยู่ที่โรงพยาบาลหมด แล้ววันนี้ด้วยประชากรเมืองไทย เราอยู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โรงพยาบาลก็เลยเป็นกลุ่มที่ command high P/E
หลังจาก command high P/E เสร็จปุ๊บ มันก็ถูก shift มาที่กลุ่มอะไรอีก ก็มากลุ่มทางด้านเกี่ยวเนื่องกับ Entertain ก่อนที่จะมีการประมูลทีวี คือเขามองว่าคอนเทนต์เนี่ย ตอนนั้นมันมีคำว่า OTT ขึ้นมา คือไม่ได้ฉายแค่ทีวีอย่างเดียว แต่คนที่นึกภาพไม่ออกว่าใครจะมานั่งดู Streaming content บนมือถือ ซึ่งหมุน
มันช้ามาก
ด้วยวิทยาการมันไม่ได้ แต่มันก็มีการคุยเรื่องนี้ เราก็นึกภาพไม่ออกว่ามันจะสเกลยังไง จนมาถึงวันนี้จิ๋มเพิ่งทำงานบริษัทปีที่แล้วคือ ONEE One Enterprise นะคะ ของพี่บอย ก็คือว่า เป็นครั้งแรกที่จิ๋มเริ่มเห็น Business Model นี่ก็คือคำอีกคำนึงที่ชอบพูดเสมอว่า เวลาที่คุณมอง Business Model คุณต้องเหมือนตีโจทย์ให้แตกว่าคุณจะเติบโตทางไหน
ลักษณะของบริษัท Media อื่นๆ จะเป็นลักษณะที่ว่ามีเป็นช่องบ้าง เป็นอะไรต่างๆ จะมีรายได้จากค่าโฆษณาซัก 80% แต่ ONEE ถูกปรับ Business Model ที่มีรายได้ค่าโฆษณาแค่ 50 มีความท้าทายตั้งแต่วันแรก เป็นเจ้าพ่อการ tie-in ที่สุดของเมืองไทยละ ในละคร ในทุกรายการของเขา ซึ่งเราก็จะเห็นนี่กับซีรีส์เกาหลีมากๆ มีความทะเยอทะยานในการทำซีรีส์ลง Netflix ที่อาจจะเคยได้ยิน เด็กใหม่ บ้าง มีซีรีส์อย่าง เคว้ง มีซีรีส์อย่างอะไรต่างๆ
แต่ที่เราไม่รู้เลยก็คือว่า เห้ย เขาเป็นเจ้าพ่ออันดับ 1 โดยช่องชื่อ VIU ถ้าเปิดใน VIU Top 10 เนี่ย เกือบ 8 เรื่องเป็นของช่อง ONEE แล้วตามมาด้วย WeTV iQIYI แล้วก็ Apple ซึ่งวันนี้จิ๋มก็เริ่มนับไม่ถูกแล้ว ส่วนตัวในฐานะคนชอบเสพคอนเทนต์นะคะ
แต่ตรงนี้มันจะกลับเข้ามาเรื่องที่ว่า โอเค จาก Land and Houses ซึ่งเป็นลักษณะ Property ต้องมีที่มีทาง มี Asset มาสู่ยังบริษัท ONEE เนี่ย พูดจริงๆ แล้วไม่มี เป็นคอนเทนต์ทั้งสิ้น ทุกอย่าง Everything in the air หมด
ดีครับ ที่พี่จิ๋มเล่าเราพอเห็นภาพมากขึ้นว่าการเข้าตลาดมันกลายเป็นเหมือนจุดสำเร็จขององค์กร เพราะเวลาเข้าไปปุ๊บมันก็จะมี Spotlight มา มีทุนเข้ามา แล้วถ้าคุณสามารถหาช่องทางที่สเกลได้ เติบโตได้ ตลาดเชื่อในตัวคุณ คุณจะสร้างมูลค่าให้บริษัทได้มากขึ้นแล้วคุณก็จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
เพราะฉะนั้นคนก็จะเลยมองว่าบริษัทในตลาดเป็นบริษัทที่มันน่าเชื่อถือ มันประสบความสำเร็จแล้วนะครับ พี่จิ๋มก็เกริ่นมาแล้วว่าจากเดิมอสังหา ไล่มาโรงพยาบาล ไล่มาคอนเทนต์ รูปแบบธุรกิจเริ่มเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นะครับ
เราอาจจะคุยเรื่องสเกลกันต่อละเอียดขึ้นนิดนึง หลังๆ ผมได้ยินมาว่าพี่จิ๋มมีโอกาสได้เข้าไปทำคลอดให้หลายๆ บริษัทที่มีความล้ำ เรียกว่ามีความล้ำมากขึ้นนิดนึงแล้วกันในยุคนี้ พี่จิ๋มอาจจะลองเล่าให้ผู้ฟังฟังซักนิดนึงนะครับว่าธุรกิจสมัยนี้ที่เข้าตลาดกัน ที่มีโอกาสสเกลได้เยอะ มีศักยภาพสูงๆ เขาหน้าตาเป็นยังไงกันครับ
คือต้องบอกว่าจิ๋มชอบ Software มากในบรรดาทั้งหมด เพราะว่าเป็นความน่าสงสารว่า Software เนี่ย ใครที่เป็น Soft Power แล้วกัน พวกไอเดีย พวก Creative เป็นบริษัทที่ต้องการเงินทุน แต่ขอกู้แบงก์ไม่ได้เลย เพราะคุณไม่มีหลักทรัพย์ไปประกัน
ถ้าย้อนกลับไปตอนที่จิ๋มเจอ Workpoint ครั้งแรก พี่ตา พี่จิก ทำช่อง ไม่ใช่ช่อง คือทำรายการอยู่บน เช่น ชิงร้อยชิงล้าน ตอนเปิดสัญญาให้กับกลต. ตลาดทรัพย์ดูเนี่ย อะไร สัญญาสามารถยกเลิกวินาทีนี้ได้เลย ด้วยความที่ช่องมีอิทธิพลมาก มากจริงๆ เป็นสัญญาที่ฝ่ายนี้เสียเปรียบตลอด
ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า แต่ก็ต้องยอมรับว่าถึงช่องจะยกเลิกก็ได้ เขายังยืนระยะได้ 20 ปี มันต้องมีความหมายบางอย่าง แต่จุดนั้น วันแรกที่ Workpoint เข้าตลาด เราต้องบอกว่าเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของคนที่ทำ Soft Power ให้เห็นภาพจริงๆ เลยนะคะ หลังจากนั้นจิ๋มก็จะชอบลักษณะนี้ ก็คือว่า Workpoint วันนั้นก็ได้สตูดิโอขึ้นไปเป็นเจ้าของช่องทีวีที่ยิ่งใหญ่วันนี้ แล้วก็ทำเกมโชว์
ถัดไปอีก จิ๋มก็จะมาเจอบริษัทอย่าง OfficeMate ซึ่ง Central Online เจอคุณหมู พี่หมูเนี่ย เป็นครั้งแรกที่จิ๋มรู้จักว่าออนไลน์มันไม่ใช่แค่ว่าออนไลน์แล้วลูกค้าจะซื้อนะ
ถูก อันนี้เป็นปัญหาของหลายๆ Retail ตอนนี้
ของพี่หมูเนี่ย คือออนไลน์แบบลูกค้าโทรสั่ง หมายถึงว่าสร้าง Call Center ให้ พี่หมูไม่ได้จบ Software แต่เป็นนายกสมาคมซอฟต์แวร์วันนั้นแล้วก็ขึ้นมา ถ้าเข้าไปตึกแกสมัยก่อนชื่อตึกอุ่นใจ นามสกุลเลยนะคะ แล้วก็ทั้งห้องเป็น Call Center หมดเลย จิ๋มบอกเอ้า พี่ออนไลน์ยังไง พี่หมูบอกว่า เพราะว่าคนไทยไม่มีทางกดเอง สิ่งที่กดเองก็คือว่าให้โทรศัพท์มาแล้วเรากดให้
แต่ความล้ำวันนั้นซึ่งมหัศจรรย์มากคือ Supervisor สามารถพูดแทรก (interfere) ในสายได้ แล้วฟังว่าคุยอะไร สมมติน้องต้ากำลังคุยกับลูกค้าอยู่ เสร็จแล้วบนหน้าจอมีประวัติลูกค้า เขาก็ดู เห้ย เคยสั่งกระดาษ A4 ประมาณ 10 ลัง ตอนนี้มา เขาสามารถพูดแทรกเข้าไปในสายได้ว่าตอนนี้มี A4 ลดราคา ให้ 20% อย่างนี้เลย แล้วไงต่อหรอคะ ไปถึง ส่งของ แล้วค่อยรับเงิน โห นี่เป็นการบิด 2 Business Model ก็คือ ออนไลน์ไม่ใช่ให้ลูกค้าคีย์เอง สอง ไปจ่ายเงินเมื่อรับของ ตรงนี้เลยทำให้แกสามารถก้าวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วมากๆ
แล้วเล่นบนของสัดส่วนกำไรน้อย (Low Margin) แกบอกว่า โชคดีหรือโชคร้ายไม่รู้พี่เพราะบ้านผมขายเครื่องเขียน ผมก็เลยต้องทำออนไลน์บนเครื่องเขียน แต่พอมันเริ่มจาก Low Margin 2-3% พอคุณขายของ High Margin คุณเหมือนติดปีกเลย มันคงคล้ายๆ คนที่วิ่งแล้วเอาทรายมาถ่วงตัวซัก 5-6 กิโล พอปลดทรายออกแล้วมันวิ่งได้ ไม่แตกต่างกับปตท. ซึ่งมาทำ OR ปตท. Margin 3% มาทำอย่าง PTOR ขายกาแฟอะเมซอน Margin 40% นะคะ กดทีเดียว 8,000 สาขาได้เลย
ย้อนกลับมา จิ๋มเจอพี่หมูก็ พอมันเริ่มอย่างนี้แล้วแกถึงขั้นว่าใช้เทคโนโลยีมาช่วยแกวางแผน รถ 1 คันวิ่งยังไง มีแผนที่เรียบร้อย
มันเหมือนมัน shift เนาะ แต่เดิมร้านเครื่องเขียนต้องเปิดสาขาเยอะๆ พอมันแทบไม่ค่าสาขาเนี่ย เราประหยัดเงินพวกนี้เอาไปลงทุนในเทคโนโลยีในอะไรของเรา แล้วพอมันมีเทคโนโลยีก็เหมือนตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น
ใช่ แล้วตามมาด้วยพวกนี้ตายที่อะไร ตายที่สต็อก ใช่มั้ยคะ พอมันเป็นแบบนี้ปั๊บมันเลยไม่ต้องสต็อก Amazon ติดลบมากี่ปีกว่าจะยืนวันนี้ที่ Jeff Bezos เป็นอันดับ 1 จริงๆ คุณหมูก็บอกว่า ผมก็ดูเขาน่ะพี่ ระหว่างทางที่ล้มลุกคลุกคลานไม่กำไร แกก็ไป Unlike แกก็บอกว่าเอ้ย สิ่งที่แกเห็นคือ แคตตาล็อกฝรั่งมันสวยดี แกก็เลยบอกงั้นเราลองทำแคตตาล็อก หลายคนอาจจะเคยเห็นแคตตาล็อก OfficeMate 4 สีทั้งเล่ม หนาๆ ทำครั้งแรกเนี่ย กำไร 10 ล้าน เพราะแกเพิ่งรู้ว่าอ๋อ แฟ้มตราช้าง ปากกาตราม้า ไม่มีที่โฆษณา พอมันเปิดอย่างนี้ปั๊บ
ใครอยากได้พื้นที่ ต้องมาจ่ายตังค์
ใช่ แล้วเล่มนี้มันกลายเป็นไบเบิ้ล คือเป็นราคากลางของทุกที่ก็ได้ใช้ ของเราอาจจะไม่ถูกที่สุดแต่เราให้บริการ 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น มันลดงานการจัดหา (Procurement) แล้วก็ลดเรื่องที่ว่าจะสั่งซื้อได้ลง 20% ที่มันบอกว่าจริงๆ แล้วบริษัทไม่ควรจะสต็อกใดๆ มันควรจะเป็นเรื่องที่ว่าใช้ตรงนี้ แล้วทีนี้คุณคุมได้หมดเลย ในที่สุดแกก็มาเป็น Central Online แล้วล่าสุดคือ CRC เข้าตลาดไป แกก็ exit ออกมา
จากนั้นมาพี่ก็มาเจออีกบริษัทนึงคือ Humanica พี่ตุ๋ย คุณสุนทร ซึ่งก็คือลักษณะสเกลเหมือนกัน แล้วมาในสเกลที่โหดด้วยเพราะพี่ตุ๋ยเป็นคนแรกที่ วันนั้นยังไม่มีคำพูดนี้เลย คือ Subscription Model
ตอนนี้ฮิตมาก พวกเราใช้กัน Netflix หลายๆ อย่างที่เรียกว่าจ่ายเงินไปเรื่อยๆ รายเดือน รายปี คุณสมบัติหลักของมันคือ มันล็อกอินลูกค้าไว้ได้ พอจ่ายปุ๊บจ่ายกันยาวๆ
ใช่ แล้วก็วิธีการที่ยอมเสียสละครั้งแรกคือ ระบบ HR มันแบ่งเป็น 2 ส่วน HRD กับ HRM สิ่งที่ทุกคนอยากได้คือ HRD แต่ไม่เคยทำหรอก เพราะทั้งวันนี้มันอยู่กับ HRM ก็คือ ป่วย สาย ขาด ลา เบิกประกัน อะไรต่างๆ วันลา โอที นะคะ แต่ทีนี้มันเป็นธุรกรรมทำซ้ำ ฐานะคนเสร็จก็คงทราบว่าธุรกิจทำซ้ำใช้เครื่องทำเหมาะที่สุด แล้วตามมาด้วยคือว่า คนเพิ่มมากขึ้น เราคงเพิ่ม HR มาไม่ได้เพราะมันแบ่งฝั่งที่เป็น Cost Center แต่ไม่มีก็ไม่ได้
แกปลดล็อก สิ่งที่แกเสียสละครั้งแรกคือ แกให้ต่อรายเดือนแกเท่ากับจ้างคน 1 คน ฉะนั้น 3 หมื่นบาท Humanica ทำทุกอย่างในแง่ของ HRM ให้กับทั้งบริษัทได้เลยที่พนักงานไม่เกิน 50 คน แล้ว Business Model นั้นแกก็มาทำให้ MINOR
MINOR ทำขนาดโหดมาก ก็คงทราบว่า MINOR มีร้านอาหารเยอะแยะ ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เด็กเราเป็นเชฟ แล้วเด็กเราก็ไม่ใช่เด็กประจำ แต่มีเรื่องของ Compensation, Commission ซึ่งมัน metric มาก การออกแบบอย่างนี้ ในตอนท้ายก็คือว่า Humanica ก็เติบโตจากตรงนั้น วันที่จิ๋มมาเจอพี่ตุ๋ยเนี่ย พอเจอกันก็คือว่า แกยังขาดทุนอยู่ แล้วก็อยู่ในสถานการณ์ที่ว่าแกมีนักลงทุน (VC) เข้าไปละ แล้ว VC ครบ 7 ปีแล้ว ต้องออก เงื่อนไข VC ต้องออกก็คือว่า ไม่ออกในตลาดหรือไม่ก็ต้องซื้อคืน
ตอนนั้นแกก็เลยวิ่งหา VC อีกเจ้านึง ซึ่งในที่สุดก็ได้ VC เจ้านี้เข้ามาซื้อ ทีนี้พอเข้ามาซื้อเสร็จปุ๊บ ระหว่างที่ซื้อตอนนั้นแกก็ถามว่า VC เจ้านั้นก็คิดว่าตามปกติ 3 ปีค่อยเข้า แต่พี่พอดูเห็นทรงแกกำไรขึ้นมานิดนึงเนี่ย เราก็เลยพอนั่งแงะ Business Model พบว่า เห้ย Fixed Cost แกกลบ จบแล้วนะ
จริงๆ อันนึงที่หลายคนไม่เข้าใจคือ Software เนี่ย มันแค่ Fixed Cost ตอนเริ่ม พอ Software เสร็จ เขาเรียกว่า Zero Marginal Cost คือการไปให้บริการลูกค้าคนถัดไป ต้นทุนเกือบ 0 เลย
ถูกต้อง เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่ใช่พัฒนา Software ตอนนี้ต้องหาลูกค้าใหม่ พอพี่เข้าไปตอนนี้มันปลดล็อกปั๊บ จะสังเกตว่าถ้าเข้าไปดูงบ Humanica ไม่มี (17:55...) เลย ก็คือกำไรตลอด ขึ้นตลอดเลย เพราะว่าสิ่งที่ตามมาคือ พอเขาทำด้วยต้นทุนแบบนี้ ลูกค้าก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยน พอยิ่งเขาเข้าตลาดหลักทรัพย์ ความหนักแน่นของเขา ความมากมายของเขา ในที่สุดพอถึงตรงนี้เพื่อนของพี่ตุ๋ยที่อยู่อินโด ในที่สุดจะเข้าตลาดเอง ไม่เข้าละ ขายบริษัทชื่อ DataOn ซึ่งเป็นอันดับ 1 Outsource HR ของอินโดนีเซียเหมือนกัน กำลัง Transition อยู่ตอนนี้
ซึ่งพี่ว่านี่คือ พอสิ่งที่พี่เห็นสเกลแบบนี้แล้ว ความน่าสนใจนะคะ แล้วในอนาคตเขาอาจจะเอา Database ทั้งหมดของเขา 4-5 ล้านทำเป็น Marketplace ก็ได้ เพราะฉะนั้น จากตรงนั้นพี่ก็ชอบอย่างนี้ตลอด ก็มาเจอบริษัทชื่อ YGGDRAZIL ซึ่งจะเจอคุณยิ้ม คุณยิ้มเนี่ยพี่ไม่ได้สนิทมาก่อนแต่พี่เป็นคนชอบแอนิเมชั่น แอนิเมชั่นเราเนี่ยบางทีมันก็ยากนะ บางทีพี่ชอบถาม ทำไมแอนิเมชั่นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระอภัยมณี โทษ ด้วยความเคารพ คือทำไมมันต้อง Personalize ขนาดนั้น พอมาเจอคุณยิ้มอะ ใช่เลย มันไม่ได้ติดเรื่องใดๆ
สิ่งที่ตามมาก็คือว่า แล้วคุณยิ้มเป็นคนขายของ แล้วก็ชอบมากก็คือว่าไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่ Animate ก็มาทำเรื่องของ Special Effect ก็คงจะบอกว่าโฆษณารถทุกคันในเมืองไทยน่าจะผ่านฝีมือคุณยิ้ม สรุปว่าที่เราเห็นรถหล่อๆ สวยๆ ในโฆษณา ไม่เป็นจริง มันคือกราฟิกล้วนๆ
ถึงก็ต้องบอกว่า ในความทำกราฟิกเนอะ เขาก็พัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมา พัฒนา Know-how ของตัวเองขึ้นมาแล้วมันทำให้เขาสเกลได้ง่ายขึ้น ถ้าเขาทำ Digital Effect ให้รถ 1 คัน บริษัทรถอีก 20 บริษัทอยากทำ Effect คล้ายๆ กันให้รถออกมาดูดีน่าขับ ทุกคนก็วิ่งมาหาเจ้านี้ได้
เสร็จแล้วก็เลยมาเป็นการสร้างเกมของเขา ก็คือเป็นเกมที่ขึ้นหน้าหนึ่งไปก็คือ Home Sweet Home ที่มาผีรำละครอะไรประมาณนี้ จิ๋มว่ามันจะมีเกมไทยซักกี่เกมที่ขึ้น International ระดับนี้ได้ ก็ต้องถือว่าชื่นชมมากๆ
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ DNA นี่โคตรครีเอทีฟ
ซึ่งจริงๆ ผมว่าก็น่าสนใจ ตอนนี้เกาหลีจริงๆ เขาโดดเด่นเรื่อง Soft Power เขามากๆ แล้วคนไทยครีเอทีฟ แล้วต้องบอกว่างานคอนเทนต์ งานครีเอทีฟ ถ้ามันทำถึงจริงๆ มันเป็นงานระดับโลกได้ง่ายมากๆ ง่ายกว่าผลิตของส่งทั่วโลกเยอะเลย
ใช่ แล้วมันเหนือกาลเวลา (Timeless)
มันก็เลยมีเรื่องของสเกล เรื่องของความ Timeless มันก็เลยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่พี่จิ๋มมองว่ามันสเกลได้ง่าย
ใช่
จริงๆ มีอันล่าสุดที่พี่จิ๋มเข้าไปช่วยแล้วก็ดูเป็นบริษัทเทคโนโลยีมากๆ เลยครับ อย่าง Bluebik พี่จิ๋มเล่าให้ฟังได้มั้ยครับว่าความน่าสนใจของธุรกิจนี้ เรื่องของสเกล ทำไมมันถึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจครับ
ได้ค่ะ สิ่งที่เกิดขึ้นคือจิ๋มเจอคำว่า Transform เยอะแยะอยู่ ทีนี้พอดีจิ๋มไปเจอคุณโบ๊ทกับคุณโป้ง 2 หนุ่มนี้ จิ๋มก็ค่อนข้างแปลกใจว่าเขาสเกลคนยังไง เขาสเกลงานยังไง แล้วเขาเติบโตได้ยังไง ก็มาถึงคำศัพท์ที่ทุกคนพูด ทุกวันนี้คือ Digital Transform ก็คือใช้ดิจิทัลเข้ามาจับ ใช้การมองภาพรวมขององค์กร
เจอ Bluebik ได้เพราะตอนนั้นจิ๋มทำ TQM ก่อน แล้วที่ TQM เนี่ยเรากำลังอยากจะ transform องค์กรนะคะ คือ TQM ก็ต้องมาแบบองค์กรที่เติบโตมานาน ปีนี้อายุ 67 ปีละ อีก 2-3 ปีก็จะ 70 ละ ใช้ระบบ Call Center เป็นระบบหลักนะคะในการรับลูกค้า ทำแต่ Non-Insurance คำถามคือ TQM จะ shift ไปอย่างไรได้ ทีม Bluebik ก็เข้ามานำเสนอ ให้กลยุทธ์ในแต่ละรูปแบบแล้วให้เลือกว่าตัว organic ยังไง เปลี่ยนโครงสร้างยังไง ซึ่งเดี๋ยวเร็วๆ นี้ TQM ก็คงจะมี Development
จากจุดนั้นเห็นก็เลยเริ่มชอบ เลยได้รู้จักผ่านทางอีกคนนึงคือ พี่โจ้ ธนา ก็เป็นคนแนะนำ พอรู้จักเสร็จปุ๊บ จิ๋มก็มองน้องกลุ่มนี้ว่าน่าสนใจ ก็เลยถามว่าเขาสนใจจะเข้าตลาดหลักทรัพย์มั้ยก็เลยได้นั่งคุยกัน พอนั่งคุยกันเสร็จก็เลยเห็นว่าถ้าเข้าตลาดมันต้องมีเรื่องที่ต้อง Commit 3-4 เรื่อง Performance เรื่องนึงละ อันที่สองคือ เขาจะโตในรูปแบบไหน สามก็คือการ Maintain คือคนเก่งๆ ต้าก็คงรู้
มัน maintain ยากมากครับ
ยากค่ะ อย่างที่ทุกคนรู้ค่ะ หน้าที่ CEO คืออะไร หาคนเก่งๆ เข้าบริษัท แต่ที่โหดกว่านั้น ใต้ภูเขาน้ำแข็งคือทำยังไงให้คนเก่งทำงานร่วมกัน
ถูก
อันนี้แหละโหดสุด สิ่งนี้ปรากฎว่าหนุ่มสองคนนี้ก็ทำได้แล้วก็แบ่งงานกันชัดเจน ตามมาด้วยคือ Portfolio เขา คือลูกค้า เท่าที่เช็คทุกคนคือลูกค้าก็รักเขา ก็ continue ตลอด นั่นคือสิ่งที่เราเริ่มพบว่า อื้อ มันมีศักยภาพแบบนี้
พอได้แบบนี้ปั๊บก็เลยลองคุยดู ก็ใช้เวลาเร็วมาก ไม่ถึง 6 เดือนมั้งสำหรับ Bluebik มีความพร้อมสูงมาก สิ่งที่มีความพร้อมสูงมากอย่างที่บอก CEO กับ CFO ทำงานเข้าขากัน คุณเล็ก CFO เนี่ย คือทุกคนจะเข้าใจว่า CFO คือคนปิดงบ อันนั้นไม่ใช่นะคะ ปิดงบเนี่ยคือ Financial Director Head บัญชี ซึ่งทุกคนจะรู้ว่าเหนื่อยมากก็เพราะช่วงก่อนเข้าตลาดมันต้องปิดบัญชีให้ได้ทันเวลา ตามยอด ต้องดูงบภายใน 45 วัน
แต่จริงๆ หลังเข้าตลาด CEO ต้องการคนที่เป็นกลยุทธ์ร่วมกัน แล้ว CFO คือคนคนนั้น เช่น ชั้นอยากจะบุกตรงนี้ ใช้เงินเท่านี้ ลองดูซิ ทำ Proforma ให้ดูซิว่าไปไหวมั้ย ใช่มั้ยคะ อยากจะมูฟอะไรต่างๆ อันนี้คือหน้าที่ CFO
คือทุกคนจะบอกว่าไม่ค่อยเห็นเลย โอ้โห ง่ายมาก ถ้า CFO ไม่เก่ง สมมติมีโรงแรมแห่งหนึ่ง ตอนเศรษฐกิจไม่ดีชั้นขายโรงแรมไปแล้วชั้นเช่าคืน (Lease Back) โรงแรมก็อาจจะพอได้เพราะมันไม่มีการดูแลรักษา (Maintainance) มาก
แต่ถ้ามีสายการบินอยู่แห่งหนึ่ง ชั้นขายเครื่องบินไปแล้วชั้นเช่าคืน ปรากฎว่าถ้าแบบนี้ CEO ต้องคำนวณแล้ว ค่า Maintainance สมัยก่อนเครื่องบินเป็นของเรา ถูกทำให้เป็นทุน (Capitalize) อยู่ในทรัพย์สิน แต่พอขายออกไปแล้วเช่าคืนกลายเป็นรายจ่ายทั้งก้อน อันนี้คือจังหวะจะวางแล้วที่จะมุ่งไปข้างหน้าด้วยกันยังไง นะคะ ประมาณนี้
ตื่นเต้นมากเลยพี่จิ๋ม ฟังมาเราเห็นวิวัฒนาการ เราพูดกันเยอะว่า Software is eating the world เรากำลังกลายเป็นโลกของ Software พี่จิ๋มเล่าทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นมากๆ ว่าองค์กรจากยุคเดิมเขาอยากเข้าตลาดไประดมทุนกัน คนเขาจะยอมให้ทุนก็ต้องเชื่อเรื่องสเกล ตอนนี้พอ Software เข้ามา ธุรกิจสมัยใหม่ที่เข้าไประดมทุนได้ พลิกโฉมไปเลย เป็น Subscription เป็น Platform เป็น Product ต่างๆ ขึ้นมา
เดี๋ยวอาจจะขอ Shift gear หน่อยนึงครับพี่จิ๋ม ในฐานะที่พี่จิ๋มมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้บริหารเก่งๆ เยอะมากในประเทศนี้ ผู้บริหารสมัยนี้เขามีทักษะอะไร มีลักษณะยังไงทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ขนาดนั้นครับ
ค่ะ จริงๆ แล้วจิ๋มว่าต้าก็มีครบแล้วนะ จริงๆ สิ่งที่จะเจอมากที่สุดคือว่า ทุกคนที่เราเห็นบนความสำเร็จ พูดจริงๆ พี่ชอบใช้คำว่าภูเขาน้ำแข็ง (Iceburg) คือเราเห็นแค่ 1 ใน 10 ของเขา ไอ 9 ใน 10 ที่เขาต้องทรมานทั้งหลายเรามักไม่ค่อยเห็นกัน ใช่มั้ยคะ
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่จิ๋มเจอ จิ๋มชอบว่า มันมีคำพูดที่ว่าทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ว่าในอนาคตต้องเป็นยังไง เพราะความรู้ความสามารถทันกันอยู่แล้ว แต่จิ๋มว่ามันมีหลายเรื่องที่ไม่มีทางใช้ความรู้ความสามารถอย่างเดียว
เรื่องที่ 1 ที่จิ๋มชอบพูดก็คือคำว่า Critical Thinking กระบวนการในการตัดสินใจ ตัดสินใจบนพื้นฐานของอะไร แต่ก่อนจิ๋มชอบพูดเสมอว่าในโลกนี้มันจะมีความจริง (Fact) อยู่ตรงนี้ แต่จากความจริงทำยังไงให้มันเป็นข้อมูล (Data) ให้ได้ สรุปที่มันโอเคมา มีความสัมพันธ์ร่วมกันมา
จาก Data เราต้องการเปลี่ยนให้เป็นอีกอันคือ Information เพื่ออะไร เพื่อให้ Information นี้มาสำหรับ Decision Making มาเรื่องการตัดสินใจ Critical Thinking คือกระบวนการทำจาก Fact มาเป็น Data จาก Data ไปเป็น Information จาก Information ไปเป็น Decision Making ให้ได้
ไม่มีใครตัดสินใจถูกทุกเรื่อง แต่การตัดสินใจควรมีเหตุผลบ้างไหม คือบางคนนี่ อื้อหือ สัญชาตญาณ (Gut Feeling) มาก มั่นใจ เซนส์ดีมาก ชั้น Make Sense จิ๋มบอก ไม่เป็นปัญหา ท่านจะเซนส์ดีไม่มีปัญหา แต่อย่างน้อยขอให้จิ๋มทราบเหตุผลว่าทำไมถึงตัดสินใจอย่างนี้ แล้วพอเราตัดสินใจอย่างนี้มันเหมือนกับ Root Cause อะ พอมันถูกเราก็จะได้รู้ว่าอ๋อ เราคิดแบบนี้ ถูกนะ หรือถ้ามันไม่ถูก อย่างน้อยเราก็รู้ว่าวิธีนี้มันไม่ถูกนะ เราก็จะได้ลองวิธีอื่นต่อไป อันนี้อันแรกเลยนะ
อันนี้ดี จริงๆ หลายครั้งเวลาเราเข้าไปคุยในองค์กร ผมก็ชอบบอกว่า ผู้บริหารเราได้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารเพราะสัญชาตญาณเราดี อันนั้นคือจุดอ่อนเนอะ สัญชาตญาณเราดีเราเลยได้รับการโปรโมต เติบโตขึ้นมา แต่ปัญหาคือ โลกนี้สัญชาตญาณมันหมดอายุเร็ว คนเปลี่ยนเร็ว เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว มันเลยทำให้เราตัดสินใจยากขึ้น
เพราะฉะนั้นทุกวันนี้ก็อย่างที่พี่จิ๋มบอก อย่างน้อยเอา Data มาดู คือผมว่าอย่างน้อยเราไม่เชื่อ Data แปลว่าเราต้องมั่นใจมาก เราต้องมั่นใจว่าสัญชาตญาณเราถูกจริงๆ หรืออย่างน้อยให้ Data มาช่วยสะกิดมุมนู้นมุมนี้ให้มันครบถ้วนมากขึ้น อะ โอเค มีสกิลอะไรครับพี่จิ๋มครับ
อันที่ 2 คือ การสื่อสาร (Communication) เนื่องจากพี่อยู่แบงก์มาก่อน จะสังเกตมั้ยคะ เดี๋ยวนี้แบงก์เพิ่งจะมีจอทีวีได้ คือเรายังขำๆ กัน บริหารคนเป็นหมื่นกว่าคนจะให้ยกมือขวาตอน 8 โมงยังทำไม่ได้เลย คือพร้อมกัน มันยากมาก แล้วระบบแบงก์มันเยอะมากว่าไอนี่ทำไม่ได้ ไอนั่นนี่นู่น เพราะฉะนั้นแบงก์ทุกคนก็ต้องหาวิธีสื่อสาร
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ต้องจากบนลงล่าง แล้วก็ล่างขึ้นบนได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นกระบวนการสื่อสารมันไม่ใช่เรื่องที่สามารถที่จะใช้เครื่องมือได้อย่างเดียว มันต้องมี Human Touch เหมือนกับวันนี้ เราก็ยังคิดว่ามาเจอตัวเป็นๆ น่ะ นั่งคุยก็ดีกว่าที่เราต่างคนต่างซูมมาคุยกัน
แต่การสื่อสารเนี่ยยิ่งสำหรับคนเป็นนายพี่ว่าสำคัญมาก เพราะทุกครั้งพี่จะบอกลูกน้องเสมอว่า ทำผิดต้องไม่โทษเด็กเลยนะ ต้องโทษนาย เพราะยูเป็นนายเขา แล้วยูบอกกับเขาไม่ดี ช่องทางการสื่อสารไม่ดี
เรื่องเดียว หลายคนจะบอกว่า บอกไปแล้ว บอกครั้งเดียวพอมั้ย อาจจะไม่พอ เรื่องบางเรื่องต้องบอกเป็นสิบๆ ครั้ง เรื่องบางเรื่องบอกไม่พอต้องจับเซ็นให้รู้กัน เรื่องบางเรื่องไม่พอจับเซ็น มันต้องอบรม บางเรื่องนอกจากอบรมแล้วต้องมีการลงโทษ (Penalty) คือ ถ้าไม่ทำตามจะมีลงโทษ เป็นต้น อันนี้คือเรื่องการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สองที่พี่คิดว่าสำคัญมากๆ
อันที่ 3 พี่ใช้คำว่า Collaboration คือ ทำงานร่วมกับคนอื่นเป็น คือทุกคนถูกสอนแต่คลาสเดียวคือ คลาสการเป็นผู้นำ (Leader) ลืมไปว่าตัวเองก็ต้องเป็นผู้ตาม (Follower) ด้วย คือชีวิตมึงจะเป็น Leader อะไรกันได้ทุกวัน แล้วในแต่ละอันแต่ละโปรเจกต์มันมีความเก่งของคนไม่เท่ากัน โลกนี้เขายังให้มือไม่เท่ากันเลย แต่เราก็ขาดนิ้วใดนิ้วหนึ่งไม่ได้ ถูกมั้ยคะ
เพราะฉะนั้น กระบวนการในการ Collab ด้วยการทำงานร่วมกันเนี่ย มันไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องทำงานร่วมกันได้นะ แต่ The Best Team เขาจะหากันจนเจอ แล้วพอยูอยู่ใน Best Team ยูจะฮึกเหิมอยู่ตลอด พี่คิดว่าตอนนี้คนที่ประสบความสำเร็จมากคือบริษัท Tech ทั้งหลายในการรับคน พี่รู้สึกว่าเขาค่อนข้างจะทำเรื่อง Recruit ดีมาก แล้วพอ Recruit ที่ดีมันทำให้กลุ่ม Community ของคนทำงานมันเป็นกลุ่มที่ดึงดูดซึ่งกันและกัน แล้วพอดึงดูดซึ่งกันและกันมันแทบไม่ต้องใช้เงิน
ในขณะที่อีกบริษัทนึงไม่สามารถเก็บคนได้เลย เพราะว่ามาถึงแล้วเขาไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ต้องอื่นไกล ถามเด็กรุ่นใหม่ วันนี้อยากทำงานไหน เอ่อ อะไรนะ Shopee Lazada ไป Flash หรือไป Kerry สมัยก่อนรุ่นพี่หรอ โอ้โห ต้องทำงานแบงก์ เดี๋ยวนี้เด็กๆ ไม่มีแล้ว
สมัยก่อนอาจจะเน้นความมั่นคงเนอะ เดี๋ยวนี้เด็กๆ ก็จะหางานที่ทำแล้วเอ็นจอย ได้อยู่กับเพื่อนเก่ง ได้อยู่ในบริษัทชั้นนำที่เขาได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
ซึ่งการทำอย่างนี้ นายต้องเก่งในการทำให้ทีมทำงานด้วยกัน ทีนี้มันเลยเกิดคำคำนึงก็คือ สร้าง Community พี่ว่าเดี๋ยวนี้ตลาดมันใหญ่เพียงพอ แล้วตลาดมันคือทั่วโลก สมัยก่อนเราจะต้องพยายามเอาใจตลาดตลอด จะต้องเป็นแมสตลอด ทำทุกอย่างเพื่อทุกคนที่ชอบ
พี่ยังแซวเพื่อนอยู่เลย สมัยก่อนทำร้านเสริมสวย แกมีร้านเสริมสวยนะ นอนได้ซักประมาณ 10 เตียงมั้ง แล้วแกจะโฆษณาไทยรัฐไปทำเพื่อ คือเขาจะรู้สึกว่ามันต้องลงไทยรัฐมันถึงได้เป็น First Class อะไรอย่างนี้ โอเค 10 เตียงแกเนี่ย แกต้องการให้ลูกค้ามาซัก 6 ราย ทำครั้งละแสนก็พอแล้ว ฉะนั้ ใช้ Member get member ทำให้มันสุดยอด หรูหรา ใช้ของดีอย่างเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Community ยูโฟกัสในสิ่งที่ยูเก่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นแมส
ต้องทำทุกอย่าง
ไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเลย แล้ววันนี้คนที่เก่งและชำนาญจะวิ่งมาหากันเอง แล้วมันจะดึงดูดซึ่งกันเอง แล้วก็คงมาในเรื่องอันสุดท้ายที่ต้าถาม คือว่าทุกคนต้องเตรียมพร้อม มันต้องมี Preparation คือ โอกาสมันมาไม่มีใครรู้ แต่ทุกคนมีการเตรียมตัว
ซึ่งการเตรียมตัวต่อให้เราใส่แค่ไหนมันต้องเกิดจาก Insights คือน้องจะต้องเป็นคนที่ตั้งใจ ใฝ่รู้ สนใจเรียน คนเหล่านี้ ทุกวันนี้เบอร์หนึ่งแต่ละคน เด็กเป็นเด็กหญิงเด็กชายจำไมทั้งนั้น เพราะว่าซน ประวัติทุกคนพี่จะเจออย่างนี้ ซน ช่างซักช่างถาม
แล้วก็โทษเถอะ ผิดเยอะ โดนตี ถ้าเป็นโบราณก็โดนตีก้นลาย ถ้าโตมาหน่อยก็เรียกพ่อแม่มาโรงเรียน ประมาณนี้นะคะ แต่เชื่อมั้ย ถามว่าทำไมเป็นอย่างนั้น มันเลยเหมือนมีคำพูดว่าน้องที่เรียนไม่เก่งมันอาจจะมีช่องทางได้มากกว่า ไม่ใช่หรอกค่ะ คือน้องที่เรียนไม่เก่งเขากล้าผิดมากกว่าน้องที่เรียนเก่ง มันจะยากมากที่น้องที่เรียนเก่งๆ ที่ประสบความสำเร็จตลอดจะกล้าทำอะไรที่ผิด นี่คือตรงนั้น
ฉะนั้นสิ่งที่พี่ท้าทายก็คือ ท้าทายน้องที่เรียนเก่งทุกคนให้ไปทำผิดบ้าง ไปผิดเลยแก ตอนเด็กๆ ส่วนน้องที่เรียนไม่เก่ง แกอย่าผิดเยอะ แกช่วยจำด้วยที่ผิดๆ น่ะ ไม่ต้องผิดซ้ำ มันก็คือ Combination ของสองคน ซึ่งมาเจอกันกลับเป็น The Best Couple จริงๆ
ดีมากๆ นะครับ ก็เป็น 4C เนอะ Critical Thinking, Communication, Collaboration แล้วก็สร้าง Community โฟกัสทำในสิ่งที่เราทำให้เก่ง ทั้งนี้ทั้งนั้น อยากประสบความสำเร็จก็ต้องกล้าผิด สมัยนี้มันต้องลองเยอะๆ เพราะทุกอย่างมันเปลี่ยนไว เลยทำให้เด็กที่โดนตีก้นลายประสบความสำเร็จมากกว่าเด็กเรียน จริงๆ เขาบอกว่าคนที่จบที่ 1 ของคลาส สุดท้ายมักจะไม่ได้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในรุ่น
แล้วอีกอย่างนึง ด้วยเส้นทางของมันเนี่ย ส่วนใหญ่เด็กที่เรียนเก่งๆ มักจะได้ Offer ด้วยความเคารพนะ ก็คือ Scholarship และทุน แล้วก็ตามมาด้วยก็คือทุนต้องให้กลับมาทำงาน เพราะฉะนั้น end up เขาก็เลยกลายเป็นอาจารย์ซะส่วนใหญ่ ซึ่งพี่ว่าไม่ได้ผิดเลย เพียงแต่อาจารย์บ้านเราไม่ได้เหมือน Professor เมืองนอกที่เขามีบริษัทส่วนตัว สามารถทั้งสอนและ join experience ทั้งคู่ได้ พี่บอกว่าในอนาคตอยากจะจับอาจารย์มาทำงานให้หมด จะได้มีเรื่องไปสอนน้องมากขึ้น
จริง ตอนผมเรียนอเมริกา อาจารย์แต่ละคนแทบจะมีสตาร์ทอัพเพียบเลย เหมือนเด็ก PhD หนึ่งคนคือหนึ่งไอเดียใหม่สำหรับธุรกิจใหม่
เลย แล้วแกก็เป็น Venture Capitalist ลงกับเด็กๆ เลย พี่ว่ามันมหัศจรรย์ ตามมาด้วยอย่างคลาสที่ Harvard ที่ดังๆ อาจารย์เหมือนเกือบจะประมูลไปสอนเลยนะ เพราะว่าในคลาสนั้น เช่น AMP ที่ดังมาก ที่คนไทยไปเรียน คลาสละประมาณเกือบ 4 ล้าน Professor ที่เข้าคลาสนั้นต้องถูกเกรด ถ้าที่เคยได้ยินคือต่ำกว่า 98 จะไม่ได้สอนคลาสนี้ เพราะฉะนั้นเหมือนกับ Effort ทั้งหมดถูกทุ่มไปในคลาส
ทุ่มไปในคลาสคืออะไร เพราะคนที่มานั่งเรียนคือ CEO ระดับโลกทั้งนั้น แล้วถ้าชอบคนไหนก็เชิญ CEO นั้นๆ CEO ก็เชิญอาจารย์ไปเป็นที่ปรึกษาตัวเองอีกที ซึ่งมูลค่างานก็เป็นสิบๆ ล้านเหรียญ มันคือเรื่องที่ว่า เรื่องการศึกษาถ้าเราทำให้ลึกซึ้ง แล้วมันเป็นอะไรที่แชร์ได้จิ๋มว่ามันมหัศจรรย์ที่สุด
ดีมากๆ ครับผม อาจจะปิดด้วยคำถามสุดท้ายครับ จะส่วนตัวนิดนึงสำหรับพี่จิ๋มเนอะ ผมอยากให้พี่จิ๋มเล่าให้ทุกคนฟังนิดนึงว่าในมุมส่วนของพี่จิ๋ม พัฒนาตัวเองยังไง หาความรู้ยังไง หรือจริงๆ พี่จิ๋มก็มีลูกชายที่ประสบความสำเร็จมากๆ เลี้ยงเขายังไงครับ
ขอบคุณค่ะ อันนี้ลูกก็ความเก่งเขานะ จิ๋มเป็นเด็กที่สมัยก่อนเล็กๆ เรียนหนังสือค่อนข้างดีนะคะ ทุกคนอาจจะไม่ทราบ จิ๋มมีคุณพ่อจบ 5 ปริญญา เป็น PhD เป็นดอกเตอร์ แต่เหลือเชื่อมาก จิ๋มมีคุณแม่ที่ พูดว่า EQ ชนะคุณพ่อ คือคุณแม่เป็นครูอนุบาล คุณพ่อนี่เป็น IQ คุณแม่เป็นโคตร EQ เป็น Combination ซึ่งหลายคนจะแบบไม่น่าเชื่อ มาเจอกันได้ยังไง ส่วนใหญ่คุณพ่อซึ่งเรียบร้อยก็น่าจะเจอกับสาวเรียบร้อย เป็นหมอ
โอเค เล่าสั้นๆ ก็คือว่าจิ๋มเรียนหนังสือตั้งแต่เล็กๆ เริ่มโตๆ ขึ้นมาก็เหลวไหล เป็นเด็กไม่ได้สนใจเรียนเท่าไหร่ จนชีวิตใกล้ๆ ที่จะต้องหางาน ตอนนั้นในช่วงที่จิ๋มจบเป็นช่วงวิกฤตพอดี โดยเฉพาะอยากทำงานแบงก์ก็จะไม่ค่อยรับผู้หญิง ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือไอเดียว่าทำยังไงให้เขารับเรา ก็เลยคิดว่าต้องทำกิจกรรม แล้ววันนั้นก็คือเอา Portfolio กิจกรรม เป็นประธาน Vintage หาเงิน จัดงานพิเศษ ได้เงิน 3-4 ล้าน อันนี้คือตอนเด็กเราไม่เคยกลัวอะไรเลย เรารู้สึกว่าโลกนี้อยู่ที่เราอยากทำอะไรก็ทำ ไปขายหนังสือ ขายสมุด ทุกอย่าง นะคะ
แต่จุดนั้นเป็นครั้งแรกที่จิ๋มพบว่าเอ้ย มันก็ดี แล้วก็ไปอยู่โครงการของแบงก์กรุงเทพ ก็ได้เพราะเป็นเด็กกิจกรรม พอจากตรงนั้นเข้ามาเสร็จปุ๊บ โชคดีมาก เป็นคนช่างพูดช่างคุย Master ที่ AC ก็เลยส่งไปสอนหนังสือ การไปสอนหนังสือเป็นครั้งแรกที่จิ๋มบอกน้องทุกคนเลย เป็นครั้งแรกที่ได้กลับมาทบทวนวิชา แล้วก็ว่าด้วยการ Communication ว่าเราเข้าใจแล้วเราสื่อสารได้ไหม
แล้วตามมาด้วยคือพอไปอยู่แบงก์ต้องเขียน Call Report จิ๋มจะเจอ 3-4 เรื่องที่เป็นตัวที่ (35:21??) ตอนช่วงนั้นคือ
หนึ่ง ถ้าคุณไม่เข้าใจ คุณจะเขียนไม่ได้ แล้วก็ถ้าคุณไม่อ่านเยอะ คุณก็จะสรุปไม่ได้ จิ๋มก็เลยกล้าพูดเลยว่าทุกคนที่เป็นนักเขียนวันนี้เป็นนักอ่านทั้งสิ้น ไม่มีใครที่เป็นนักเขียนแล้วไม่ใช่นักอ่านเลยเด็ดขาด คนที่เป็นนักอ่านอาจไม่ใช่นักเขียน โอเค ไม่เป็นไร แต่นักเขียนทุกคนจะเป็นนักอ่านล้านเปอร์เซ็นต์
จากตอนนั้นก็เลยทำให้ต้องอ่าน ต้องเขียน เราต้องไปสอน นะคะ ด้วยการที่ชีวิตวัยรุ่นมันหมดไปอย่างนั้นก็เลยไม่ได้วอกแวกอะไร เสาร์อาทิตย์สอนหนังสือตลอด แล้วพอเติบโตมาได้ทุนแบงก์อีกก็กลับไปเรียน พอกลับไปเรียนเสร็จปรากฎว่าหลักทรัพย์มันบูม ทำให้เป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อก็มาทำหลักทรัพย์
คราวนี้สนุกละ อายุ 20 ได้เจอโอ้โห CEO เก่งๆ ฟังเขาก็ตาเป็นประกาย รู้สึกว่าทำไมเขาเก่งอย่างนี้ ทำไมเขาเก่งมากเลย ตอนที่จิ๋มเจอ CEO นะ จิ๋มก็เจอทุกคน ไม่มีใครไม่เก่งเลย แล้วแต่คนก็จะมีเอกลักษณ์ (Uniqueness) ของตัวเอง มันมีความท่าเฉพาะ ไม่มีความเก่งใดไปลอกเลียนแบบแล้วเก่งได้ จิ๋มก็เรียนรู้ตรงนั้นแล้วทุกวันนี้ก็ยัง continue ที่จะยังมีพาร์ทสอนหนังสืออยู่ ยัง continue พาร์ทเขียนหนังสืออยู่นะคะ
แล้วก็โชคดีนิดนึงที่ตอนที่ตัดสินใจคืออายุ 52 คิดว่าอืม มันพอทุกอย่าง ตึงละ ก็เป็นการกล้าที่จะลาออกแล้ว take early retire มันก็เลยทำให้มีเวลาในชีวิตมากขึ้น
พี่จิ๋มมีคำแนะนำอะไรให้น้องๆ ที่กำลังจะจบการศึกษาในช่วงนี้ กลางโควิดเลย
กลางโควิดกันเลยนะคะ ปีนี้ได้เจอ คือ สำหรับน้องๆ เนี่ยถ้าใครรู้เป้าหมายตัวเอง จิ๋มขอแสดงความยินดีด้วย เหมือนที่ต้าถามว่า ลูกคนโตจิ๋มโคตรรู้เป้าหมาย เขาตรงแหน่วไปที่เป้าหมายเขา ชัดเจนมาก แต่คนเล็กไม่ค่อยจะรู้เป้าหมาย อันนี้เป็นความแตกต่างนะคะ ฝากทุกท่านนะคะ มีลูกต้องห้ามเลี้ยงเหมือนกันนะคะเพราะลูกไม่เหมือนกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ สำหรับท่านที่ยังไม่รู้อะไรเนี่ย จิ๋มก็กล้าบอกว่าทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุดก่อน ใช่มั้ยคะ ลองสมัครงาน ไม่ได้ก็สมัครอีก ไม่ได้ก็สมัครอีก เสร็จแล้วตามมาด้วยคือ เมื่อได้งานแล้วขอให้เป็นธุรกรรมทำเกิน คือไม่ใช่ว่าจ้างแค่นี้ชั้นทำแค่นี้ พอ กลับบ้าน ตอนเป็นเด็กๆ เนี่ยมันมีแรง มันผิดได้ มันอยู่ตี 3 ตี 4 ก็ได้
แล้วตามมาด้วยตอนช่วงเป็นเด็กเนี่ยอยากให้ศึกษาว่านายที่ดีเป็นยังไง นายคนนั้นอาจจะไม่ใช่นายเราแต่ทำไมเขาชอบคนนี้มาเลย แล้วดูลักษณะที่เขาดูกับลูกน้อง ดูลักษณะที่เขาทำงาน ใช่มั้ยคะ จิ๋มว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่โตมาแล้วไม่สามารถเอาคืนได้ สำหรับน้องจบใหม่เนี่ย ขอตรงนี้เลย
แล้ววันนี้ถ้าเกิดยังไม่มีงานประจำนะคะ มีงานออฟเยอะแยะมาก คือ งานโปรเจกต์ งาน based เยอะแยะมาก จิ๋มว่ามาที่ Skooldio ก็อาจจะมีงานให้ทำตลอด
ทาบทามตลอดเวลา
ใช่ มาลอง แม้กระทั่งจากงานเล็กๆ งานบริการ งานเสิร์ฟ งานอะไรก็เป็นงานที่น่าสนใจทั้งสิ้น จิ๋มว่าตรงนี้อะค่ะ แล้วค่อยๆ ค้นหาตัวเอง น้องๆ อาจจะได้ยินคำว่า "อิคิไก" ที่เขาชอบพูดกัน เอาเป็นว่าไม่ต้องไปฟังคำอะ
หนึ่ง ทำอะไรได้ดี สอง ทำอะไรแล้วมีความสุข ถ้าทำดีมีความสุขอันนี้ประเสริฐหนึ่งละ สาม แล้วมีคนจ่ายตังค์ให้ไหม เออ คือทำได้ดี มีความสุข มีคนจ่ายตังค์ให้ สี่ไม่ต้องพูดถึง โฟกัสตรงนั้นเลย ที่สุดละค่ะ
ดีครับ ก็เป็นเรื่องของให้ทำเยอะๆ เนอะ ผมชอบคำว่าธุรกรรมทำเกิน จริงๆ ต้องบอกว่าอันนึงที่เราพูดกันเยอะคือเด็ก Gen Z อยากมี Work-Life Balance เราอยากทำน้อยได้เยอะ แต่อันนึงที่ก็ต้องบอกว่า ทำเยอะ จริงๆ มันก็ได้เยอะ
แล้วก็อันนึงที่พี่จิ๋มพูดผมว่าดีมันคือเรื่องการ Connect the dots เราต้องไปสร้าง dots ก่อนแล้วเราถึงจะหาเส้นทางที่เราต้องการได้ แล้วสุดท้ายเราถึงจะเจองานที่เราทำได้ดี เราทำแล้วมีความสุข แล้วโลกต้องการ นะครับ
ก็ขอบคุณพี่จิ๋มมากๆ นะครับ วันนี้คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ฟังทุกๆ ท่าน ตั้งแต่ภาพของ Landscape ธุรกิจที่เป็นนักธุรกิจ ทำธุรกิจของตัวเองอยู่น่าจะพอเห็นภาพมากขึ้นว่าตอนนี้โลกกำลังหมุนไปทางไหน สกิลอะไรที่เราต้องเติมบ้าง รวมไปถึง Tips เล็กๆ น้อยๆ จากพี่จิ๋มในการพัฒนาตัวเองและทำให้เราเป็นคนที่เรียกว่ามีคุณค่าและสามารถอยู่ได้ในโลกยุคดิจิทัลนี้นะครับ
วันนี้ขอบคุณพี่จิ๋ม สุวภามากๆ นะครับ แล้วเราพบกันใหม่ในโอกาสหน้าครับผม สวัสดีครับ
ทุกคนอาจจะแปลกใจว่าเอ๊ะ สมัยก่อนการเข้าตลาดมันไม่คึกคักเท่าเหมือนวันนี้ ก็เพราะว่าสมัยก่อนมูลค่ามันไม่ได้เยอะอย่างนี้ แต่วันนี้มันเกิดการคุยถึงลักษณะบริษัทที่มีการโตแบบก้าวกระโดด บริษัทที่อยู่บนหน้า Main board วันนี้คือ MINOR เข้าตลาดหลักทรัพย์วันนั้นก็ได้เงินแค่ 100 กว่าล้าน Land and Houses ได้เงินประมาณไม่ถึง 300 สองบริษัทนี้วันนี้แสนล้านทั้งคู่ อันนี้คือประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
สมัยก่อนยังไม่มีสตาร์ทอัพ กลุ่มที่มาแรงมากคือกลุ่มโรงพยาบาล shift มาที่กลุ่มอะไรอีก ก็มากลุ่มทางด้านเกี่ยวเนื่องกับ Entertain จิ๋มเพิ่งทำงานบริษัทปีที่แล้วคือ ONEE ONE Enterprise จาก Land and Houses ซึ่งเป็นลักษณะ Property ต้องมีที่มีทาง มี Asset มาสู่ยังบริษัท ONEE พูดจริงๆ แล้ว ไม่มี เป็นคอนเทนต์ทั้งสิ้น ทุกอย่าง Everything in the air หมด
ธุรกิจสมัยนี้ที่เข้าตลาด การที่มีโอกาสสเกลได้เยอะ มี Potential สูงๆ เขาหน้าตาเป็นยังไงกันหรอครับ
พี่จิ๋มมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้บริหารเก่งๆ เยอะมากในประเทศนี้ ผู้บริหารสมัยนี้เขามีทักษะอะไร เขามีลักษณะยังไงทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ขนาดนั้นครับ
ทุกวัน ในการทำงานของผู้บริหารชั้นนำ พวกเขาคิดอย่างไร ลงมือทำอย่างไร เรียนรู้อย่างไร และนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร พูดคุยเจาะลึกแบบใกล้ชิดติดขอบโต๊ะ คราฟต์เนื้อหาจากวัตถุดิบที่ดีที่สุด เสิร์ฟเป็นความรู้แบบพอดีคำกับผม ต้า วิโรจน์ จิรพัฒนกุล ในรายการ Chief's Table
รายการ Chief's Table ในวันนี้นะครับ เราจะมาพูดคุยกับผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการตลาดทุน วงการการลงทุนในประเทศไทยกว่า 30 ปี เขาผู้นี้มีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดร่วมกับ CEO ในบริษัทชั้นนำหลากหลายแห่งในประเทศไทย วันนี้เราได้รับเกียรติจาก พี่จิ๋ม สุวภา เจริญยิ่ง นะครับ
รู้จักกันดีในฐานะผู้ที่อยู่เบื้องหลังการนำบริษัทกว่า 80 บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยนะครับ พี่จิ๋มเป็นคนทำคลอดหลายๆ บริษัทที่พวกเราอาจจะคุ้นเคยกันดีอย่าง Land and Houses, Workpoint, AirAsia นะครับ หรือว่าล่าสุดก็จะเป็น The One Enterprise
พี่จิ๋มยังดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทยนะครับ แล้วก็เป็นกรรมการอิสระให้กับหลายๆ บริษัทในประเทศไทยอีกด้วย ก็เลยชวนพี่จิ๋มมาพูดคุยกันถึง Landscape ว่าธุรกิจทุกวันนี้เราอยากทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ รูปแบบธุรกิจในวันนี้มันเปลี่ยนไปยังไงบ้าง แล้วทักษะที่ผู้นำหรือทีมงานต้องมีเพื่อที่จะพาทีมให้ประสบความสำเร็จได้ สามารถทำ Winning Strategy ที่เราอยากทำให้สำเร็จได้ เขาต้องมีทักษะอะไรกันบ้าง เดี๋ยววันนี้พี่จิ๋มมาเล่าให้พวกเราฟัง
พี่จิ๋มสวัสดีครับ
สวัสดีค่ะ ต้าสวัสดีค่ะ
วันนี้เราคุยกันสบายๆ นะครับ อย่างที่ผมเกริ่นไปนะครับว่าพี่จิ๋มเป็นหนึ่งในคนที่คร่ำหวอดในวงการตลาดทุนนะครับ เอาหลายๆ องค์กรเข้าตลาดไปได้ วันนี้ก็เลยอยากจะมาชวนพี่จิ๋มคุยว่าธุรกิจทุกวันนี้เขาเป็นอะไรยังไงกันนะครับ แล้วผู้ฟังก็จะได้พอเห็นภาพว่า ในอนาคตถ้าเขาอยากทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเขาต้องทำยังไง ต้องมีสกิลอะไรยังไงกันบ้าง
เริ่มต้นอาจจะอยากให้พี่จิ๋มเล่าครับว่า ประสบการณ์ของพี่จิ๋มคร่าวๆ ว่าพี่จิ๋มมีโอกาสเข้าไปช่วยบริษัทไหนยังไงมาบ้างครับผม
ได้ค่ะ ถือว่าขอบคุณพี่ๆ ทั้งหลายที่ให้เกียรติเรา คือสมัยก่อนก่อนจะมาเป็นวันนี้ จิ๋มก็เป็นน้องน้อยคนหนึ่งซึ่งเข้ามาได้มีโอกาสไปทำเคสใหญ่ๆ ตอนนั้นก็เป็นความตื่นตาตื่นใจ แล้วก็ทุกคนอาจจะแปลกใจว่าเอ๊ะ สมัยก่อนการเข้าตลาดมันไม่คึกคักเหมือนทุกวันนี้ ถามว่าทำไม ก็เพราะว่าสมัยก่อนมูลค่ามันไม่ได้เยอะอย่างนี้
คุณต้าเคยได้ยินคำว่า P/E ไหมคะ Price to Earnings สมัยก่อนได้อยู่ประมาณ 8 เท่า 10 เท่า หลายคนก็บอกเดี๋ยวผมทำ 2 ปีผมก็ได้ละ มูลค่าแค่นี้ แต่วันนี้มันเกิดการคุยถึงลักษณะบริษัทที่มีการโตแบบก้าวกระโดด มันพูดถึง P/E 20 เท่า
P/E 20 เท่า คืออะไร หมายถึง กำไรวันนี้ แต่ราคาที่ได้เท่ากับ 20 ปีล่วงหน้า เป็น 20 เท่าขึ้นมา เพราะฉะนั้นถ้าในสายสตาร์ทอัพที่คุณต้าอยู่เนี่ยเขาก็จะพูดถึง XX ทั้งหลาย ใช่มั้ยคะ ส่วนใหญ่ 10X ก็เป็นอะไร เป็นกี่เท่าที่สายนี้ แต่ว่าสายตลาดทุนมันเกินเลยจากตรงนั้น
ถามว่าถ้ากลับย้อนไปอดีต จิ๋มเคยทำบริษัทชื่อ Land and Houses นะคะ เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์บริษัทแรกที่เข้าตลาด
ผมเชื่อว่าทุกคนรู้จัก
คิดว่าทุกคนคงรู้จักนะคะ แล้วก็ในการตั้งชื่อ Land and Houses มีบ้านหลายหลังนะคะ ตามที่คุณอนันต์มา จิ๋มเจอคุณอนันต์ตั้งแต่ท่านอายุ 38 ปีนี้ท่านก็คงจะ 70 กว่าละ ความฝันของท่านก็คือว่า แรกสุดเลยเนี่ย เห้ย ทำไมผมจะต้องเซ็นค้ำประกันแบงก์อยู่นั่นแหละ คือเจ้าของธุรกิจทุกคนก็คงจะทราบ เวลาท่านไปกู้ยืมแบงก์เนี่ย สิ่งที่ท่านเจอก็คือว่าบุคคลต้องค้ำ ท่านก็ถามว่ามีทางไหนมั้ยที่บุคคลจะไม่ต้องค้ำ วันนั้นก็เลยบอกว่าถ้าบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทางแบงก์มีความเชื่อมั่น ก็จะถอนหลักประกันจากการเป็นบุคคลค้ำขึ้นไป
แต่สิ่งที่แลกที่แบงก์เขามอง เขาไม่ได้ใจดีหรอกนะคะ เขามองก็เพราะว่าพอคุณเข้าตลาด คุณเพิ่มทุนได้ แล้วเรื่องราวคุณเป็นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะยิ่งขึ้น ก็เลยเกิดกลไกนี้ขึ้นมา
แล้ว Land and Houses ก็เลยเป็นหนึ่งในบริษัทที่อาจจะเรียกว่าต้นแบบก็ได้ เพราะอสังหาริมทรัพย์ตอนนั้นไม่มีใครกล้าเข้าเลย แล้วตลาดก็ไม่ยอมที่จะให้เข้า หลังจากเขาเข้าสิ่งที่เขาได้วันนั้นเนี่ย ที่ย้อนกลับไป ทุนจดทะเบียนแค่ 60 ล้านบาท กระจายหุ้นแค่ 10% 6 แสนหุ้น ได้มา 48 บาท ไม่ต้องคูณเลย ตัวเลขแบบ จิ๊ด นะคะ
แต่ถ้าไปอย่างนั้น บริษัทที่อยู่บนหน้า Main Board วันนี้คือ MINOR วันนั้นใช้ MINOR Food เข้าตลาดหลักทรัพย์ คุณบิล ทำไมตั้งชื่อบริษัทนี้ว่า MINOR เพราะตอนท่านตั้งบริษัทท่านเป็นผู้เยาว์ อายุ 17 นะคะ บริษัทนี้เป็นผู้เยาว์ เป็น Minors อายุ 17
ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ค่ะ เป็น Minor เลยรักชื่อบริษัทนี้มาก สำหรับวันนี้ชื่อย่อในกระดานคือ MINT หลายคนคงจะรู้ที่ว่าทำโรงแรม ทำบอนชอน chain ทั้งหลาย Burger King เข้าตลาดหลักทรัพย์วันนั้นก็ได้เงินแค่ร้อยกว่าล้าน อันนี้คือประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
Land and Houses ได้เงิน 100 กว่า 48 บาทคูณ 6 แสนก็เป็นเท่าไหร่ ก็คูณมา ก็คือ 3 ร้อยกว่าล้าน ประมาณไม่ถึงสามร้อย MINOR ได้ร้อยกว่าล้าน สองบริษัทนี้วันนี้แสนล้านทั้งคู่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือวันนั้นมันมี Drive ให้เขาเดิน ความมุ่งมั่นของตัวบริษัทเอง ตัวประธาน ตัว CEO ตัวเจ้าของเองเนี่ย มันเป็นสิ่งที่สามารถสำเร็จได้และถือซะว่ามันเป็นความท้าทายสองทาง
คือเวลาเราไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทุกปีเรากำไร ด้วยความเคารพ ครอบครัวนะ กำไร 50 ล้าน 60 ล้านก็มีความสุขได้แล้ว เหลือจะเกินพอ ไม่มีใครมาจ้ำจี้จ้ำไช อยากจะซื้อรถซักคัน อยากจะไปเที่ยวต่างประเทศ อยากจะเบิกเงินบริษัทมาซื้อกระเป๋า แล้วใครจะว่าอะไร คุณฟังแล้วคุ้นมั้ยคะ ใครจะว่าอะไรท่าน ถูกมั้ยคะ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า ถ้าเข้าตลาดแล้วเริ่มเข้าใจว่า 1 บาทที่อยู่ นอกตลาดหลักทรัพย์ก็คือ 1 บาทกำไร แต่ 1 บาทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มันกลายเป็น 20 บาทราคาหุ้น 100 ล้านที่กำไรนอกตลาดหลักทรัพย์มันกลายเป็น 2 พันล้าน ในที่สุดเราเจอ 100 ล้านกลายเป็นของ 6 พันล้าน 7 พันล้าน คือ 60-70 เท่าก็ได้ มันก็เลยเกิดความตื่นตาตื่นใจ
แล้วคำถามว่า เอ๊ะ แล้วนักลงทุนเขาไม่ฉลาดหรือไง ทำไมต้องซื้อของแพงขนาดนี้ ก็ต้องบอกว่าเวลาที่เขาให้มูลค่ากิจการประเภทที่ว่า P/E สูงๆ เนี่ย มันมาจากที่เขาเชื่อว่าคุณโตมั้ย เพราะฉะนั้นถามกลับก็คือว่า ถ้าศัพท์แสงสตาร์ทอัพก็จะใช้คำว่า สเกล นะคะ สเกลได้ไหม ศัพท์แสงของพี่จิ๋มก็คงเป็นว่า เห้ย คุณเติบโตได้เร็วแค่ไหน ถ้าคุณยิ่งเติบโตได้เร็ว ตลาดเป็นของคุณได้มาก P/E คุณจะ command ได้สูงมาก
สมัยก่อนยังไม่มีสตาร์ทอัพ กลุ่มที่มาแรงมาก จากสมัยก่อน P/E 8 9 ขึ้นมาเป็น P/E 40 คือกลุ่มโรงพยาบาล เพราะเขาคิดว่า หนึ่ง วันนึงคนก็ต้องอายุเยอะขึ้น แล้ว at the end สุดท้ายทุกคนก็อยู่ที่โรงพยาบาลหมด แล้ววันนี้ด้วยประชากรเมืองไทย เราอยู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โรงพยาบาลก็เลยเป็นกลุ่มที่ command high P/E
หลังจาก command high P/E เสร็จปุ๊บ มันก็ถูก shift มาที่กลุ่มอะไรอีก ก็มากลุ่มทางด้านเกี่ยวเนื่องกับ Entertain ก่อนที่จะมีการประมูลทีวี คือเขามองว่าคอนเทนต์เนี่ย ตอนนั้นมันมีคำว่า OTT ขึ้นมา คือไม่ได้ฉายแค่ทีวีอย่างเดียว แต่คนที่นึกภาพไม่ออกว่าใครจะมานั่งดู Streaming content บนมือถือ ซึ่งหมุน
มันช้ามาก
ด้วยวิทยาการมันไม่ได้ แต่มันก็มีการคุยเรื่องนี้ เราก็นึกภาพไม่ออกว่ามันจะสเกลยังไง จนมาถึงวันนี้จิ๋มเพิ่งทำงานบริษัทปีที่แล้วคือ ONEE One Enterprise นะคะ ของพี่บอย ก็คือว่า เป็นครั้งแรกที่จิ๋มเริ่มเห็น Business Model นี่ก็คือคำอีกคำนึงที่ชอบพูดเสมอว่า เวลาที่คุณมอง Business Model คุณต้องเหมือนตีโจทย์ให้แตกว่าคุณจะเติบโตทางไหน
ลักษณะของบริษัท Media อื่นๆ จะเป็นลักษณะที่ว่ามีเป็นช่องบ้าง เป็นอะไรต่างๆ จะมีรายได้จากค่าโฆษณาซัก 80% แต่ ONEE ถูกปรับ Business Model ที่มีรายได้ค่าโฆษณาแค่ 50 มีความท้าทายตั้งแต่วันแรก เป็นเจ้าพ่อการ tie-in ที่สุดของเมืองไทยละ ในละคร ในทุกรายการของเขา ซึ่งเราก็จะเห็นนี่กับซีรีส์เกาหลีมากๆ มีความทะเยอทะยานในการทำซีรีส์ลง Netflix ที่อาจจะเคยได้ยิน เด็กใหม่ บ้าง มีซีรีส์อย่าง เคว้ง มีซีรีส์อย่างอะไรต่างๆ
แต่ที่เราไม่รู้เลยก็คือว่า เห้ย เขาเป็นเจ้าพ่ออันดับ 1 โดยช่องชื่อ VIU ถ้าเปิดใน VIU Top 10 เนี่ย เกือบ 8 เรื่องเป็นของช่อง ONEE แล้วตามมาด้วย WeTV iQIYI แล้วก็ Apple ซึ่งวันนี้จิ๋มก็เริ่มนับไม่ถูกแล้ว ส่วนตัวในฐานะคนชอบเสพคอนเทนต์นะคะ
แต่ตรงนี้มันจะกลับเข้ามาเรื่องที่ว่า โอเค จาก Land and Houses ซึ่งเป็นลักษณะ Property ต้องมีที่มีทาง มี Asset มาสู่ยังบริษัท ONEE เนี่ย พูดจริงๆ แล้วไม่มี เป็นคอนเทนต์ทั้งสิ้น ทุกอย่าง Everything in the air หมด
ดีครับ ที่พี่จิ๋มเล่าเราพอเห็นภาพมากขึ้นว่าการเข้าตลาดมันกลายเป็นเหมือนจุดสำเร็จขององค์กร เพราะเวลาเข้าไปปุ๊บมันก็จะมี Spotlight มา มีทุนเข้ามา แล้วถ้าคุณสามารถหาช่องทางที่สเกลได้ เติบโตได้ ตลาดเชื่อในตัวคุณ คุณจะสร้างมูลค่าให้บริษัทได้มากขึ้นแล้วคุณก็จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
เพราะฉะนั้นคนก็จะเลยมองว่าบริษัทในตลาดเป็นบริษัทที่มันน่าเชื่อถือ มันประสบความสำเร็จแล้วนะครับ พี่จิ๋มก็เกริ่นมาแล้วว่าจากเดิมอสังหา ไล่มาโรงพยาบาล ไล่มาคอนเทนต์ รูปแบบธุรกิจเริ่มเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นะครับ
เราอาจจะคุยเรื่องสเกลกันต่อละเอียดขึ้นนิดนึง หลังๆ ผมได้ยินมาว่าพี่จิ๋มมีโอกาสได้เข้าไปทำคลอดให้หลายๆ บริษัทที่มีความล้ำ เรียกว่ามีความล้ำมากขึ้นนิดนึงแล้วกันในยุคนี้ พี่จิ๋มอาจจะลองเล่าให้ผู้ฟังฟังซักนิดนึงนะครับว่าธุรกิจสมัยนี้ที่เข้าตลาดกัน ที่มีโอกาสสเกลได้เยอะ มีศักยภาพสูงๆ เขาหน้าตาเป็นยังไงกันครับ
คือต้องบอกว่าจิ๋มชอบ Software มากในบรรดาทั้งหมด เพราะว่าเป็นความน่าสงสารว่า Software เนี่ย ใครที่เป็น Soft Power แล้วกัน พวกไอเดีย พวก Creative เป็นบริษัทที่ต้องการเงินทุน แต่ขอกู้แบงก์ไม่ได้เลย เพราะคุณไม่มีหลักทรัพย์ไปประกัน
ถ้าย้อนกลับไปตอนที่จิ๋มเจอ Workpoint ครั้งแรก พี่ตา พี่จิก ทำช่อง ไม่ใช่ช่อง คือทำรายการอยู่บน เช่น ชิงร้อยชิงล้าน ตอนเปิดสัญญาให้กับกลต. ตลาดทรัพย์ดูเนี่ย อะไร สัญญาสามารถยกเลิกวินาทีนี้ได้เลย ด้วยความที่ช่องมีอิทธิพลมาก มากจริงๆ เป็นสัญญาที่ฝ่ายนี้เสียเปรียบตลอด
ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า แต่ก็ต้องยอมรับว่าถึงช่องจะยกเลิกก็ได้ เขายังยืนระยะได้ 20 ปี มันต้องมีความหมายบางอย่าง แต่จุดนั้น วันแรกที่ Workpoint เข้าตลาด เราต้องบอกว่าเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของคนที่ทำ Soft Power ให้เห็นภาพจริงๆ เลยนะคะ หลังจากนั้นจิ๋มก็จะชอบลักษณะนี้ ก็คือว่า Workpoint วันนั้นก็ได้สตูดิโอขึ้นไปเป็นเจ้าของช่องทีวีที่ยิ่งใหญ่วันนี้ แล้วก็ทำเกมโชว์
ถัดไปอีก จิ๋มก็จะมาเจอบริษัทอย่าง OfficeMate ซึ่ง Central Online เจอคุณหมู พี่หมูเนี่ย เป็นครั้งแรกที่จิ๋มรู้จักว่าออนไลน์มันไม่ใช่แค่ว่าออนไลน์แล้วลูกค้าจะซื้อนะ
ถูก อันนี้เป็นปัญหาของหลายๆ Retail ตอนนี้
ของพี่หมูเนี่ย คือออนไลน์แบบลูกค้าโทรสั่ง หมายถึงว่าสร้าง Call Center ให้ พี่หมูไม่ได้จบ Software แต่เป็นนายกสมาคมซอฟต์แวร์วันนั้นแล้วก็ขึ้นมา ถ้าเข้าไปตึกแกสมัยก่อนชื่อตึกอุ่นใจ นามสกุลเลยนะคะ แล้วก็ทั้งห้องเป็น Call Center หมดเลย จิ๋มบอกเอ้า พี่ออนไลน์ยังไง พี่หมูบอกว่า เพราะว่าคนไทยไม่มีทางกดเอง สิ่งที่กดเองก็คือว่าให้โทรศัพท์มาแล้วเรากดให้
แต่ความล้ำวันนั้นซึ่งมหัศจรรย์มากคือ Supervisor สามารถพูดแทรก (interfere) ในสายได้ แล้วฟังว่าคุยอะไร สมมติน้องต้ากำลังคุยกับลูกค้าอยู่ เสร็จแล้วบนหน้าจอมีประวัติลูกค้า เขาก็ดู เห้ย เคยสั่งกระดาษ A4 ประมาณ 10 ลัง ตอนนี้มา เขาสามารถพูดแทรกเข้าไปในสายได้ว่าตอนนี้มี A4 ลดราคา ให้ 20% อย่างนี้เลย แล้วไงต่อหรอคะ ไปถึง ส่งของ แล้วค่อยรับเงิน โห นี่เป็นการบิด 2 Business Model ก็คือ ออนไลน์ไม่ใช่ให้ลูกค้าคีย์เอง สอง ไปจ่ายเงินเมื่อรับของ ตรงนี้เลยทำให้แกสามารถก้าวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วมากๆ
แล้วเล่นบนของสัดส่วนกำไรน้อย (Low Margin) แกบอกว่า โชคดีหรือโชคร้ายไม่รู้พี่เพราะบ้านผมขายเครื่องเขียน ผมก็เลยต้องทำออนไลน์บนเครื่องเขียน แต่พอมันเริ่มจาก Low Margin 2-3% พอคุณขายของ High Margin คุณเหมือนติดปีกเลย มันคงคล้ายๆ คนที่วิ่งแล้วเอาทรายมาถ่วงตัวซัก 5-6 กิโล พอปลดทรายออกแล้วมันวิ่งได้ ไม่แตกต่างกับปตท. ซึ่งมาทำ OR ปตท. Margin 3% มาทำอย่าง PTOR ขายกาแฟอะเมซอน Margin 40% นะคะ กดทีเดียว 8,000 สาขาได้เลย
ย้อนกลับมา จิ๋มเจอพี่หมูก็ พอมันเริ่มอย่างนี้แล้วแกถึงขั้นว่าใช้เทคโนโลยีมาช่วยแกวางแผน รถ 1 คันวิ่งยังไง มีแผนที่เรียบร้อย
มันเหมือนมัน shift เนาะ แต่เดิมร้านเครื่องเขียนต้องเปิดสาขาเยอะๆ พอมันแทบไม่ค่าสาขาเนี่ย เราประหยัดเงินพวกนี้เอาไปลงทุนในเทคโนโลยีในอะไรของเรา แล้วพอมันมีเทคโนโลยีก็เหมือนตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น
ใช่ แล้วตามมาด้วยพวกนี้ตายที่อะไร ตายที่สต็อก ใช่มั้ยคะ พอมันเป็นแบบนี้ปั๊บมันเลยไม่ต้องสต็อก Amazon ติดลบมากี่ปีกว่าจะยืนวันนี้ที่ Jeff Bezos เป็นอันดับ 1 จริงๆ คุณหมูก็บอกว่า ผมก็ดูเขาน่ะพี่ ระหว่างทางที่ล้มลุกคลุกคลานไม่กำไร แกก็ไป Unlike แกก็บอกว่าเอ้ย สิ่งที่แกเห็นคือ แคตตาล็อกฝรั่งมันสวยดี แกก็เลยบอกงั้นเราลองทำแคตตาล็อก หลายคนอาจจะเคยเห็นแคตตาล็อก OfficeMate 4 สีทั้งเล่ม หนาๆ ทำครั้งแรกเนี่ย กำไร 10 ล้าน เพราะแกเพิ่งรู้ว่าอ๋อ แฟ้มตราช้าง ปากกาตราม้า ไม่มีที่โฆษณา พอมันเปิดอย่างนี้ปั๊บ
ใครอยากได้พื้นที่ ต้องมาจ่ายตังค์
ใช่ แล้วเล่มนี้มันกลายเป็นไบเบิ้ล คือเป็นราคากลางของทุกที่ก็ได้ใช้ ของเราอาจจะไม่ถูกที่สุดแต่เราให้บริการ 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น มันลดงานการจัดหา (Procurement) แล้วก็ลดเรื่องที่ว่าจะสั่งซื้อได้ลง 20% ที่มันบอกว่าจริงๆ แล้วบริษัทไม่ควรจะสต็อกใดๆ มันควรจะเป็นเรื่องที่ว่าใช้ตรงนี้ แล้วทีนี้คุณคุมได้หมดเลย ในที่สุดแกก็มาเป็น Central Online แล้วล่าสุดคือ CRC เข้าตลาดไป แกก็ exit ออกมา
จากนั้นมาพี่ก็มาเจออีกบริษัทนึงคือ Humanica พี่ตุ๋ย คุณสุนทร ซึ่งก็คือลักษณะสเกลเหมือนกัน แล้วมาในสเกลที่โหดด้วยเพราะพี่ตุ๋ยเป็นคนแรกที่ วันนั้นยังไม่มีคำพูดนี้เลย คือ Subscription Model
ตอนนี้ฮิตมาก พวกเราใช้กัน Netflix หลายๆ อย่างที่เรียกว่าจ่ายเงินไปเรื่อยๆ รายเดือน รายปี คุณสมบัติหลักของมันคือ มันล็อกอินลูกค้าไว้ได้ พอจ่ายปุ๊บจ่ายกันยาวๆ
ใช่ แล้วก็วิธีการที่ยอมเสียสละครั้งแรกคือ ระบบ HR มันแบ่งเป็น 2 ส่วน HRD กับ HRM สิ่งที่ทุกคนอยากได้คือ HRD แต่ไม่เคยทำหรอก เพราะทั้งวันนี้มันอยู่กับ HRM ก็คือ ป่วย สาย ขาด ลา เบิกประกัน อะไรต่างๆ วันลา โอที นะคะ แต่ทีนี้มันเป็นธุรกรรมทำซ้ำ ฐานะคนเสร็จก็คงทราบว่าธุรกิจทำซ้ำใช้เครื่องทำเหมาะที่สุด แล้วตามมาด้วยคือว่า คนเพิ่มมากขึ้น เราคงเพิ่ม HR มาไม่ได้เพราะมันแบ่งฝั่งที่เป็น Cost Center แต่ไม่มีก็ไม่ได้
แกปลดล็อก สิ่งที่แกเสียสละครั้งแรกคือ แกให้ต่อรายเดือนแกเท่ากับจ้างคน 1 คน ฉะนั้น 3 หมื่นบาท Humanica ทำทุกอย่างในแง่ของ HRM ให้กับทั้งบริษัทได้เลยที่พนักงานไม่เกิน 50 คน แล้ว Business Model นั้นแกก็มาทำให้ MINOR
MINOR ทำขนาดโหดมาก ก็คงทราบว่า MINOR มีร้านอาหารเยอะแยะ ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เด็กเราเป็นเชฟ แล้วเด็กเราก็ไม่ใช่เด็กประจำ แต่มีเรื่องของ Compensation, Commission ซึ่งมัน metric มาก การออกแบบอย่างนี้ ในตอนท้ายก็คือว่า Humanica ก็เติบโตจากตรงนั้น วันที่จิ๋มมาเจอพี่ตุ๋ยเนี่ย พอเจอกันก็คือว่า แกยังขาดทุนอยู่ แล้วก็อยู่ในสถานการณ์ที่ว่าแกมีนักลงทุน (VC) เข้าไปละ แล้ว VC ครบ 7 ปีแล้ว ต้องออก เงื่อนไข VC ต้องออกก็คือว่า ไม่ออกในตลาดหรือไม่ก็ต้องซื้อคืน
ตอนนั้นแกก็เลยวิ่งหา VC อีกเจ้านึง ซึ่งในที่สุดก็ได้ VC เจ้านี้เข้ามาซื้อ ทีนี้พอเข้ามาซื้อเสร็จปุ๊บ ระหว่างที่ซื้อตอนนั้นแกก็ถามว่า VC เจ้านั้นก็คิดว่าตามปกติ 3 ปีค่อยเข้า แต่พี่พอดูเห็นทรงแกกำไรขึ้นมานิดนึงเนี่ย เราก็เลยพอนั่งแงะ Business Model พบว่า เห้ย Fixed Cost แกกลบ จบแล้วนะ
จริงๆ อันนึงที่หลายคนไม่เข้าใจคือ Software เนี่ย มันแค่ Fixed Cost ตอนเริ่ม พอ Software เสร็จ เขาเรียกว่า Zero Marginal Cost คือการไปให้บริการลูกค้าคนถัดไป ต้นทุนเกือบ 0 เลย
ถูกต้อง เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่ใช่พัฒนา Software ตอนนี้ต้องหาลูกค้าใหม่ พอพี่เข้าไปตอนนี้มันปลดล็อกปั๊บ จะสังเกตว่าถ้าเข้าไปดูงบ Humanica ไม่มี (17:55...) เลย ก็คือกำไรตลอด ขึ้นตลอดเลย เพราะว่าสิ่งที่ตามมาคือ พอเขาทำด้วยต้นทุนแบบนี้ ลูกค้าก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยน พอยิ่งเขาเข้าตลาดหลักทรัพย์ ความหนักแน่นของเขา ความมากมายของเขา ในที่สุดพอถึงตรงนี้เพื่อนของพี่ตุ๋ยที่อยู่อินโด ในที่สุดจะเข้าตลาดเอง ไม่เข้าละ ขายบริษัทชื่อ DataOn ซึ่งเป็นอันดับ 1 Outsource HR ของอินโดนีเซียเหมือนกัน กำลัง Transition อยู่ตอนนี้
ซึ่งพี่ว่านี่คือ พอสิ่งที่พี่เห็นสเกลแบบนี้แล้ว ความน่าสนใจนะคะ แล้วในอนาคตเขาอาจจะเอา Database ทั้งหมดของเขา 4-5 ล้านทำเป็น Marketplace ก็ได้ เพราะฉะนั้น จากตรงนั้นพี่ก็ชอบอย่างนี้ตลอด ก็มาเจอบริษัทชื่อ YGGDRAZIL ซึ่งจะเจอคุณยิ้ม คุณยิ้มเนี่ยพี่ไม่ได้สนิทมาก่อนแต่พี่เป็นคนชอบแอนิเมชั่น แอนิเมชั่นเราเนี่ยบางทีมันก็ยากนะ บางทีพี่ชอบถาม ทำไมแอนิเมชั่นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระอภัยมณี โทษ ด้วยความเคารพ คือทำไมมันต้อง Personalize ขนาดนั้น พอมาเจอคุณยิ้มอะ ใช่เลย มันไม่ได้ติดเรื่องใดๆ
สิ่งที่ตามมาก็คือว่า แล้วคุณยิ้มเป็นคนขายของ แล้วก็ชอบมากก็คือว่าไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่ Animate ก็มาทำเรื่องของ Special Effect ก็คงจะบอกว่าโฆษณารถทุกคันในเมืองไทยน่าจะผ่านฝีมือคุณยิ้ม สรุปว่าที่เราเห็นรถหล่อๆ สวยๆ ในโฆษณา ไม่เป็นจริง มันคือกราฟิกล้วนๆ
ถึงก็ต้องบอกว่า ในความทำกราฟิกเนอะ เขาก็พัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมา พัฒนา Know-how ของตัวเองขึ้นมาแล้วมันทำให้เขาสเกลได้ง่ายขึ้น ถ้าเขาทำ Digital Effect ให้รถ 1 คัน บริษัทรถอีก 20 บริษัทอยากทำ Effect คล้ายๆ กันให้รถออกมาดูดีน่าขับ ทุกคนก็วิ่งมาหาเจ้านี้ได้
เสร็จแล้วก็เลยมาเป็นการสร้างเกมของเขา ก็คือเป็นเกมที่ขึ้นหน้าหนึ่งไปก็คือ Home Sweet Home ที่มาผีรำละครอะไรประมาณนี้ จิ๋มว่ามันจะมีเกมไทยซักกี่เกมที่ขึ้น International ระดับนี้ได้ ก็ต้องถือว่าชื่นชมมากๆ
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ DNA นี่โคตรครีเอทีฟ
ซึ่งจริงๆ ผมว่าก็น่าสนใจ ตอนนี้เกาหลีจริงๆ เขาโดดเด่นเรื่อง Soft Power เขามากๆ แล้วคนไทยครีเอทีฟ แล้วต้องบอกว่างานคอนเทนต์ งานครีเอทีฟ ถ้ามันทำถึงจริงๆ มันเป็นงานระดับโลกได้ง่ายมากๆ ง่ายกว่าผลิตของส่งทั่วโลกเยอะเลย
ใช่ แล้วมันเหนือกาลเวลา (Timeless)
มันก็เลยมีเรื่องของสเกล เรื่องของความ Timeless มันก็เลยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่พี่จิ๋มมองว่ามันสเกลได้ง่าย
ใช่
จริงๆ มีอันล่าสุดที่พี่จิ๋มเข้าไปช่วยแล้วก็ดูเป็นบริษัทเทคโนโลยีมากๆ เลยครับ อย่าง Bluebik พี่จิ๋มเล่าให้ฟังได้มั้ยครับว่าความน่าสนใจของธุรกิจนี้ เรื่องของสเกล ทำไมมันถึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจครับ
ได้ค่ะ สิ่งที่เกิดขึ้นคือจิ๋มเจอคำว่า Transform เยอะแยะอยู่ ทีนี้พอดีจิ๋มไปเจอคุณโบ๊ทกับคุณโป้ง 2 หนุ่มนี้ จิ๋มก็ค่อนข้างแปลกใจว่าเขาสเกลคนยังไง เขาสเกลงานยังไง แล้วเขาเติบโตได้ยังไง ก็มาถึงคำศัพท์ที่ทุกคนพูด ทุกวันนี้คือ Digital Transform ก็คือใช้ดิจิทัลเข้ามาจับ ใช้การมองภาพรวมขององค์กร
เจอ Bluebik ได้เพราะตอนนั้นจิ๋มทำ TQM ก่อน แล้วที่ TQM เนี่ยเรากำลังอยากจะ transform องค์กรนะคะ คือ TQM ก็ต้องมาแบบองค์กรที่เติบโตมานาน ปีนี้อายุ 67 ปีละ อีก 2-3 ปีก็จะ 70 ละ ใช้ระบบ Call Center เป็นระบบหลักนะคะในการรับลูกค้า ทำแต่ Non-Insurance คำถามคือ TQM จะ shift ไปอย่างไรได้ ทีม Bluebik ก็เข้ามานำเสนอ ให้กลยุทธ์ในแต่ละรูปแบบแล้วให้เลือกว่าตัว organic ยังไง เปลี่ยนโครงสร้างยังไง ซึ่งเดี๋ยวเร็วๆ นี้ TQM ก็คงจะมี Development
จากจุดนั้นเห็นก็เลยเริ่มชอบ เลยได้รู้จักผ่านทางอีกคนนึงคือ พี่โจ้ ธนา ก็เป็นคนแนะนำ พอรู้จักเสร็จปุ๊บ จิ๋มก็มองน้องกลุ่มนี้ว่าน่าสนใจ ก็เลยถามว่าเขาสนใจจะเข้าตลาดหลักทรัพย์มั้ยก็เลยได้นั่งคุยกัน พอนั่งคุยกันเสร็จก็เลยเห็นว่าถ้าเข้าตลาดมันต้องมีเรื่องที่ต้อง Commit 3-4 เรื่อง Performance เรื่องนึงละ อันที่สองคือ เขาจะโตในรูปแบบไหน สามก็คือการ Maintain คือคนเก่งๆ ต้าก็คงรู้
มัน maintain ยากมากครับ
ยากค่ะ อย่างที่ทุกคนรู้ค่ะ หน้าที่ CEO คืออะไร หาคนเก่งๆ เข้าบริษัท แต่ที่โหดกว่านั้น ใต้ภูเขาน้ำแข็งคือทำยังไงให้คนเก่งทำงานร่วมกัน
ถูก
อันนี้แหละโหดสุด สิ่งนี้ปรากฎว่าหนุ่มสองคนนี้ก็ทำได้แล้วก็แบ่งงานกันชัดเจน ตามมาด้วยคือ Portfolio เขา คือลูกค้า เท่าที่เช็คทุกคนคือลูกค้าก็รักเขา ก็ continue ตลอด นั่นคือสิ่งที่เราเริ่มพบว่า อื้อ มันมีศักยภาพแบบนี้
พอได้แบบนี้ปั๊บก็เลยลองคุยดู ก็ใช้เวลาเร็วมาก ไม่ถึง 6 เดือนมั้งสำหรับ Bluebik มีความพร้อมสูงมาก สิ่งที่มีความพร้อมสูงมากอย่างที่บอก CEO กับ CFO ทำงานเข้าขากัน คุณเล็ก CFO เนี่ย คือทุกคนจะเข้าใจว่า CFO คือคนปิดงบ อันนั้นไม่ใช่นะคะ ปิดงบเนี่ยคือ Financial Director Head บัญชี ซึ่งทุกคนจะรู้ว่าเหนื่อยมากก็เพราะช่วงก่อนเข้าตลาดมันต้องปิดบัญชีให้ได้ทันเวลา ตามยอด ต้องดูงบภายใน 45 วัน
แต่จริงๆ หลังเข้าตลาด CEO ต้องการคนที่เป็นกลยุทธ์ร่วมกัน แล้ว CFO คือคนคนนั้น เช่น ชั้นอยากจะบุกตรงนี้ ใช้เงินเท่านี้ ลองดูซิ ทำ Proforma ให้ดูซิว่าไปไหวมั้ย ใช่มั้ยคะ อยากจะมูฟอะไรต่างๆ อันนี้คือหน้าที่ CFO
คือทุกคนจะบอกว่าไม่ค่อยเห็นเลย โอ้โห ง่ายมาก ถ้า CFO ไม่เก่ง สมมติมีโรงแรมแห่งหนึ่ง ตอนเศรษฐกิจไม่ดีชั้นขายโรงแรมไปแล้วชั้นเช่าคืน (Lease Back) โรงแรมก็อาจจะพอได้เพราะมันไม่มีการดูแลรักษา (Maintainance) มาก
แต่ถ้ามีสายการบินอยู่แห่งหนึ่ง ชั้นขายเครื่องบินไปแล้วชั้นเช่าคืน ปรากฎว่าถ้าแบบนี้ CEO ต้องคำนวณแล้ว ค่า Maintainance สมัยก่อนเครื่องบินเป็นของเรา ถูกทำให้เป็นทุน (Capitalize) อยู่ในทรัพย์สิน แต่พอขายออกไปแล้วเช่าคืนกลายเป็นรายจ่ายทั้งก้อน อันนี้คือจังหวะจะวางแล้วที่จะมุ่งไปข้างหน้าด้วยกันยังไง นะคะ ประมาณนี้
ตื่นเต้นมากเลยพี่จิ๋ม ฟังมาเราเห็นวิวัฒนาการ เราพูดกันเยอะว่า Software is eating the world เรากำลังกลายเป็นโลกของ Software พี่จิ๋มเล่าทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นมากๆ ว่าองค์กรจากยุคเดิมเขาอยากเข้าตลาดไประดมทุนกัน คนเขาจะยอมให้ทุนก็ต้องเชื่อเรื่องสเกล ตอนนี้พอ Software เข้ามา ธุรกิจสมัยใหม่ที่เข้าไประดมทุนได้ พลิกโฉมไปเลย เป็น Subscription เป็น Platform เป็น Product ต่างๆ ขึ้นมา
เดี๋ยวอาจจะขอ Shift gear หน่อยนึงครับพี่จิ๋ม ในฐานะที่พี่จิ๋มมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้บริหารเก่งๆ เยอะมากในประเทศนี้ ผู้บริหารสมัยนี้เขามีทักษะอะไร มีลักษณะยังไงทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ขนาดนั้นครับ
ค่ะ จริงๆ แล้วจิ๋มว่าต้าก็มีครบแล้วนะ จริงๆ สิ่งที่จะเจอมากที่สุดคือว่า ทุกคนที่เราเห็นบนความสำเร็จ พูดจริงๆ พี่ชอบใช้คำว่าภูเขาน้ำแข็ง (Iceburg) คือเราเห็นแค่ 1 ใน 10 ของเขา ไอ 9 ใน 10 ที่เขาต้องทรมานทั้งหลายเรามักไม่ค่อยเห็นกัน ใช่มั้ยคะ
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่จิ๋มเจอ จิ๋มชอบว่า มันมีคำพูดที่ว่าทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ว่าในอนาคตต้องเป็นยังไง เพราะความรู้ความสามารถทันกันอยู่แล้ว แต่จิ๋มว่ามันมีหลายเรื่องที่ไม่มีทางใช้ความรู้ความสามารถอย่างเดียว
เรื่องที่ 1 ที่จิ๋มชอบพูดก็คือคำว่า Critical Thinking กระบวนการในการตัดสินใจ ตัดสินใจบนพื้นฐานของอะไร แต่ก่อนจิ๋มชอบพูดเสมอว่าในโลกนี้มันจะมีความจริง (Fact) อยู่ตรงนี้ แต่จากความจริงทำยังไงให้มันเป็นข้อมูล (Data) ให้ได้ สรุปที่มันโอเคมา มีความสัมพันธ์ร่วมกันมา
จาก Data เราต้องการเปลี่ยนให้เป็นอีกอันคือ Information เพื่ออะไร เพื่อให้ Information นี้มาสำหรับ Decision Making มาเรื่องการตัดสินใจ Critical Thinking คือกระบวนการทำจาก Fact มาเป็น Data จาก Data ไปเป็น Information จาก Information ไปเป็น Decision Making ให้ได้
ไม่มีใครตัดสินใจถูกทุกเรื่อง แต่การตัดสินใจควรมีเหตุผลบ้างไหม คือบางคนนี่ อื้อหือ สัญชาตญาณ (Gut Feeling) มาก มั่นใจ เซนส์ดีมาก ชั้น Make Sense จิ๋มบอก ไม่เป็นปัญหา ท่านจะเซนส์ดีไม่มีปัญหา แต่อย่างน้อยขอให้จิ๋มทราบเหตุผลว่าทำไมถึงตัดสินใจอย่างนี้ แล้วพอเราตัดสินใจอย่างนี้มันเหมือนกับ Root Cause อะ พอมันถูกเราก็จะได้รู้ว่าอ๋อ เราคิดแบบนี้ ถูกนะ หรือถ้ามันไม่ถูก อย่างน้อยเราก็รู้ว่าวิธีนี้มันไม่ถูกนะ เราก็จะได้ลองวิธีอื่นต่อไป อันนี้อันแรกเลยนะ
อันนี้ดี จริงๆ หลายครั้งเวลาเราเข้าไปคุยในองค์กร ผมก็ชอบบอกว่า ผู้บริหารเราได้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารเพราะสัญชาตญาณเราดี อันนั้นคือจุดอ่อนเนอะ สัญชาตญาณเราดีเราเลยได้รับการโปรโมต เติบโตขึ้นมา แต่ปัญหาคือ โลกนี้สัญชาตญาณมันหมดอายุเร็ว คนเปลี่ยนเร็ว เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว มันเลยทำให้เราตัดสินใจยากขึ้น
เพราะฉะนั้นทุกวันนี้ก็อย่างที่พี่จิ๋มบอก อย่างน้อยเอา Data มาดู คือผมว่าอย่างน้อยเราไม่เชื่อ Data แปลว่าเราต้องมั่นใจมาก เราต้องมั่นใจว่าสัญชาตญาณเราถูกจริงๆ หรืออย่างน้อยให้ Data มาช่วยสะกิดมุมนู้นมุมนี้ให้มันครบถ้วนมากขึ้น อะ โอเค มีสกิลอะไรครับพี่จิ๋มครับ
อันที่ 2 คือ การสื่อสาร (Communication) เนื่องจากพี่อยู่แบงก์มาก่อน จะสังเกตมั้ยคะ เดี๋ยวนี้แบงก์เพิ่งจะมีจอทีวีได้ คือเรายังขำๆ กัน บริหารคนเป็นหมื่นกว่าคนจะให้ยกมือขวาตอน 8 โมงยังทำไม่ได้เลย คือพร้อมกัน มันยากมาก แล้วระบบแบงก์มันเยอะมากว่าไอนี่ทำไม่ได้ ไอนั่นนี่นู่น เพราะฉะนั้นแบงก์ทุกคนก็ต้องหาวิธีสื่อสาร
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ต้องจากบนลงล่าง แล้วก็ล่างขึ้นบนได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นกระบวนการสื่อสารมันไม่ใช่เรื่องที่สามารถที่จะใช้เครื่องมือได้อย่างเดียว มันต้องมี Human Touch เหมือนกับวันนี้ เราก็ยังคิดว่ามาเจอตัวเป็นๆ น่ะ นั่งคุยก็ดีกว่าที่เราต่างคนต่างซูมมาคุยกัน
แต่การสื่อสารเนี่ยยิ่งสำหรับคนเป็นนายพี่ว่าสำคัญมาก เพราะทุกครั้งพี่จะบอกลูกน้องเสมอว่า ทำผิดต้องไม่โทษเด็กเลยนะ ต้องโทษนาย เพราะยูเป็นนายเขา แล้วยูบอกกับเขาไม่ดี ช่องทางการสื่อสารไม่ดี
เรื่องเดียว หลายคนจะบอกว่า บอกไปแล้ว บอกครั้งเดียวพอมั้ย อาจจะไม่พอ เรื่องบางเรื่องต้องบอกเป็นสิบๆ ครั้ง เรื่องบางเรื่องบอกไม่พอต้องจับเซ็นให้รู้กัน เรื่องบางเรื่องไม่พอจับเซ็น มันต้องอบรม บางเรื่องนอกจากอบรมแล้วต้องมีการลงโทษ (Penalty) คือ ถ้าไม่ทำตามจะมีลงโทษ เป็นต้น อันนี้คือเรื่องการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สองที่พี่คิดว่าสำคัญมากๆ
อันที่ 3 พี่ใช้คำว่า Collaboration คือ ทำงานร่วมกับคนอื่นเป็น คือทุกคนถูกสอนแต่คลาสเดียวคือ คลาสการเป็นผู้นำ (Leader) ลืมไปว่าตัวเองก็ต้องเป็นผู้ตาม (Follower) ด้วย คือชีวิตมึงจะเป็น Leader อะไรกันได้ทุกวัน แล้วในแต่ละอันแต่ละโปรเจกต์มันมีความเก่งของคนไม่เท่ากัน โลกนี้เขายังให้มือไม่เท่ากันเลย แต่เราก็ขาดนิ้วใดนิ้วหนึ่งไม่ได้ ถูกมั้ยคะ
เพราะฉะนั้น กระบวนการในการ Collab ด้วยการทำงานร่วมกันเนี่ย มันไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องทำงานร่วมกันได้นะ แต่ The Best Team เขาจะหากันจนเจอ แล้วพอยูอยู่ใน Best Team ยูจะฮึกเหิมอยู่ตลอด พี่คิดว่าตอนนี้คนที่ประสบความสำเร็จมากคือบริษัท Tech ทั้งหลายในการรับคน พี่รู้สึกว่าเขาค่อนข้างจะทำเรื่อง Recruit ดีมาก แล้วพอ Recruit ที่ดีมันทำให้กลุ่ม Community ของคนทำงานมันเป็นกลุ่มที่ดึงดูดซึ่งกันและกัน แล้วพอดึงดูดซึ่งกันและกันมันแทบไม่ต้องใช้เงิน
ในขณะที่อีกบริษัทนึงไม่สามารถเก็บคนได้เลย เพราะว่ามาถึงแล้วเขาไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ต้องอื่นไกล ถามเด็กรุ่นใหม่ วันนี้อยากทำงานไหน เอ่อ อะไรนะ Shopee Lazada ไป Flash หรือไป Kerry สมัยก่อนรุ่นพี่หรอ โอ้โห ต้องทำงานแบงก์ เดี๋ยวนี้เด็กๆ ไม่มีแล้ว
สมัยก่อนอาจจะเน้นความมั่นคงเนอะ เดี๋ยวนี้เด็กๆ ก็จะหางานที่ทำแล้วเอ็นจอย ได้อยู่กับเพื่อนเก่ง ได้อยู่ในบริษัทชั้นนำที่เขาได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
ซึ่งการทำอย่างนี้ นายต้องเก่งในการทำให้ทีมทำงานด้วยกัน ทีนี้มันเลยเกิดคำคำนึงก็คือ สร้าง Community พี่ว่าเดี๋ยวนี้ตลาดมันใหญ่เพียงพอ แล้วตลาดมันคือทั่วโลก สมัยก่อนเราจะต้องพยายามเอาใจตลาดตลอด จะต้องเป็นแมสตลอด ทำทุกอย่างเพื่อทุกคนที่ชอบ
พี่ยังแซวเพื่อนอยู่เลย สมัยก่อนทำร้านเสริมสวย แกมีร้านเสริมสวยนะ นอนได้ซักประมาณ 10 เตียงมั้ง แล้วแกจะโฆษณาไทยรัฐไปทำเพื่อ คือเขาจะรู้สึกว่ามันต้องลงไทยรัฐมันถึงได้เป็น First Class อะไรอย่างนี้ โอเค 10 เตียงแกเนี่ย แกต้องการให้ลูกค้ามาซัก 6 ราย ทำครั้งละแสนก็พอแล้ว ฉะนั้ ใช้ Member get member ทำให้มันสุดยอด หรูหรา ใช้ของดีอย่างเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Community ยูโฟกัสในสิ่งที่ยูเก่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นแมส
ต้องทำทุกอย่าง
ไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเลย แล้ววันนี้คนที่เก่งและชำนาญจะวิ่งมาหากันเอง แล้วมันจะดึงดูดซึ่งกันเอง แล้วก็คงมาในเรื่องอันสุดท้ายที่ต้าถาม คือว่าทุกคนต้องเตรียมพร้อม มันต้องมี Preparation คือ โอกาสมันมาไม่มีใครรู้ แต่ทุกคนมีการเตรียมตัว
ซึ่งการเตรียมตัวต่อให้เราใส่แค่ไหนมันต้องเกิดจาก Insights คือน้องจะต้องเป็นคนที่ตั้งใจ ใฝ่รู้ สนใจเรียน คนเหล่านี้ ทุกวันนี้เบอร์หนึ่งแต่ละคน เด็กเป็นเด็กหญิงเด็กชายจำไมทั้งนั้น เพราะว่าซน ประวัติทุกคนพี่จะเจออย่างนี้ ซน ช่างซักช่างถาม
แล้วก็โทษเถอะ ผิดเยอะ โดนตี ถ้าเป็นโบราณก็โดนตีก้นลาย ถ้าโตมาหน่อยก็เรียกพ่อแม่มาโรงเรียน ประมาณนี้นะคะ แต่เชื่อมั้ย ถามว่าทำไมเป็นอย่างนั้น มันเลยเหมือนมีคำพูดว่าน้องที่เรียนไม่เก่งมันอาจจะมีช่องทางได้มากกว่า ไม่ใช่หรอกค่ะ คือน้องที่เรียนไม่เก่งเขากล้าผิดมากกว่าน้องที่เรียนเก่ง มันจะยากมากที่น้องที่เรียนเก่งๆ ที่ประสบความสำเร็จตลอดจะกล้าทำอะไรที่ผิด นี่คือตรงนั้น
ฉะนั้นสิ่งที่พี่ท้าทายก็คือ ท้าทายน้องที่เรียนเก่งทุกคนให้ไปทำผิดบ้าง ไปผิดเลยแก ตอนเด็กๆ ส่วนน้องที่เรียนไม่เก่ง แกอย่าผิดเยอะ แกช่วยจำด้วยที่ผิดๆ น่ะ ไม่ต้องผิดซ้ำ มันก็คือ Combination ของสองคน ซึ่งมาเจอกันกลับเป็น The Best Couple จริงๆ
ดีมากๆ นะครับ ก็เป็น 4C เนอะ Critical Thinking, Communication, Collaboration แล้วก็สร้าง Community โฟกัสทำในสิ่งที่เราทำให้เก่ง ทั้งนี้ทั้งนั้น อยากประสบความสำเร็จก็ต้องกล้าผิด สมัยนี้มันต้องลองเยอะๆ เพราะทุกอย่างมันเปลี่ยนไว เลยทำให้เด็กที่โดนตีก้นลายประสบความสำเร็จมากกว่าเด็กเรียน จริงๆ เขาบอกว่าคนที่จบที่ 1 ของคลาส สุดท้ายมักจะไม่ได้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในรุ่น
แล้วอีกอย่างนึง ด้วยเส้นทางของมันเนี่ย ส่วนใหญ่เด็กที่เรียนเก่งๆ มักจะได้ Offer ด้วยความเคารพนะ ก็คือ Scholarship และทุน แล้วก็ตามมาด้วยก็คือทุนต้องให้กลับมาทำงาน เพราะฉะนั้น end up เขาก็เลยกลายเป็นอาจารย์ซะส่วนใหญ่ ซึ่งพี่ว่าไม่ได้ผิดเลย เพียงแต่อาจารย์บ้านเราไม่ได้เหมือน Professor เมืองนอกที่เขามีบริษัทส่วนตัว สามารถทั้งสอนและ join experience ทั้งคู่ได้ พี่บอกว่าในอนาคตอยากจะจับอาจารย์มาทำงานให้หมด จะได้มีเรื่องไปสอนน้องมากขึ้น
จริง ตอนผมเรียนอเมริกา อาจารย์แต่ละคนแทบจะมีสตาร์ทอัพเพียบเลย เหมือนเด็ก PhD หนึ่งคนคือหนึ่งไอเดียใหม่สำหรับธุรกิจใหม่
เลย แล้วแกก็เป็น Venture Capitalist ลงกับเด็กๆ เลย พี่ว่ามันมหัศจรรย์ ตามมาด้วยอย่างคลาสที่ Harvard ที่ดังๆ อาจารย์เหมือนเกือบจะประมูลไปสอนเลยนะ เพราะว่าในคลาสนั้น เช่น AMP ที่ดังมาก ที่คนไทยไปเรียน คลาสละประมาณเกือบ 4 ล้าน Professor ที่เข้าคลาสนั้นต้องถูกเกรด ถ้าที่เคยได้ยินคือต่ำกว่า 98 จะไม่ได้สอนคลาสนี้ เพราะฉะนั้นเหมือนกับ Effort ทั้งหมดถูกทุ่มไปในคลาส
ทุ่มไปในคลาสคืออะไร เพราะคนที่มานั่งเรียนคือ CEO ระดับโลกทั้งนั้น แล้วถ้าชอบคนไหนก็เชิญ CEO นั้นๆ CEO ก็เชิญอาจารย์ไปเป็นที่ปรึกษาตัวเองอีกที ซึ่งมูลค่างานก็เป็นสิบๆ ล้านเหรียญ มันคือเรื่องที่ว่า เรื่องการศึกษาถ้าเราทำให้ลึกซึ้ง แล้วมันเป็นอะไรที่แชร์ได้จิ๋มว่ามันมหัศจรรย์ที่สุด
ดีมากๆ ครับผม อาจจะปิดด้วยคำถามสุดท้ายครับ จะส่วนตัวนิดนึงสำหรับพี่จิ๋มเนอะ ผมอยากให้พี่จิ๋มเล่าให้ทุกคนฟังนิดนึงว่าในมุมส่วนของพี่จิ๋ม พัฒนาตัวเองยังไง หาความรู้ยังไง หรือจริงๆ พี่จิ๋มก็มีลูกชายที่ประสบความสำเร็จมากๆ เลี้ยงเขายังไงครับ
ขอบคุณค่ะ อันนี้ลูกก็ความเก่งเขานะ จิ๋มเป็นเด็กที่สมัยก่อนเล็กๆ เรียนหนังสือค่อนข้างดีนะคะ ทุกคนอาจจะไม่ทราบ จิ๋มมีคุณพ่อจบ 5 ปริญญา เป็น PhD เป็นดอกเตอร์ แต่เหลือเชื่อมาก จิ๋มมีคุณแม่ที่ พูดว่า EQ ชนะคุณพ่อ คือคุณแม่เป็นครูอนุบาล คุณพ่อนี่เป็น IQ คุณแม่เป็นโคตร EQ เป็น Combination ซึ่งหลายคนจะแบบไม่น่าเชื่อ มาเจอกันได้ยังไง ส่วนใหญ่คุณพ่อซึ่งเรียบร้อยก็น่าจะเจอกับสาวเรียบร้อย เป็นหมอ
โอเค เล่าสั้นๆ ก็คือว่าจิ๋มเรียนหนังสือตั้งแต่เล็กๆ เริ่มโตๆ ขึ้นมาก็เหลวไหล เป็นเด็กไม่ได้สนใจเรียนเท่าไหร่ จนชีวิตใกล้ๆ ที่จะต้องหางาน ตอนนั้นในช่วงที่จิ๋มจบเป็นช่วงวิกฤตพอดี โดยเฉพาะอยากทำงานแบงก์ก็จะไม่ค่อยรับผู้หญิง ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือไอเดียว่าทำยังไงให้เขารับเรา ก็เลยคิดว่าต้องทำกิจกรรม แล้ววันนั้นก็คือเอา Portfolio กิจกรรม เป็นประธาน Vintage หาเงิน จัดงานพิเศษ ได้เงิน 3-4 ล้าน อันนี้คือตอนเด็กเราไม่เคยกลัวอะไรเลย เรารู้สึกว่าโลกนี้อยู่ที่เราอยากทำอะไรก็ทำ ไปขายหนังสือ ขายสมุด ทุกอย่าง นะคะ
แต่จุดนั้นเป็นครั้งแรกที่จิ๋มพบว่าเอ้ย มันก็ดี แล้วก็ไปอยู่โครงการของแบงก์กรุงเทพ ก็ได้เพราะเป็นเด็กกิจกรรม พอจากตรงนั้นเข้ามาเสร็จปุ๊บ โชคดีมาก เป็นคนช่างพูดช่างคุย Master ที่ AC ก็เลยส่งไปสอนหนังสือ การไปสอนหนังสือเป็นครั้งแรกที่จิ๋มบอกน้องทุกคนเลย เป็นครั้งแรกที่ได้กลับมาทบทวนวิชา แล้วก็ว่าด้วยการ Communication ว่าเราเข้าใจแล้วเราสื่อสารได้ไหม
แล้วตามมาด้วยคือพอไปอยู่แบงก์ต้องเขียน Call Report จิ๋มจะเจอ 3-4 เรื่องที่เป็นตัวที่ (35:21??) ตอนช่วงนั้นคือ
หนึ่ง ถ้าคุณไม่เข้าใจ คุณจะเขียนไม่ได้ แล้วก็ถ้าคุณไม่อ่านเยอะ คุณก็จะสรุปไม่ได้ จิ๋มก็เลยกล้าพูดเลยว่าทุกคนที่เป็นนักเขียนวันนี้เป็นนักอ่านทั้งสิ้น ไม่มีใครที่เป็นนักเขียนแล้วไม่ใช่นักอ่านเลยเด็ดขาด คนที่เป็นนักอ่านอาจไม่ใช่นักเขียน โอเค ไม่เป็นไร แต่นักเขียนทุกคนจะเป็นนักอ่านล้านเปอร์เซ็นต์
จากตอนนั้นก็เลยทำให้ต้องอ่าน ต้องเขียน เราต้องไปสอน นะคะ ด้วยการที่ชีวิตวัยรุ่นมันหมดไปอย่างนั้นก็เลยไม่ได้วอกแวกอะไร เสาร์อาทิตย์สอนหนังสือตลอด แล้วพอเติบโตมาได้ทุนแบงก์อีกก็กลับไปเรียน พอกลับไปเรียนเสร็จปรากฎว่าหลักทรัพย์มันบูม ทำให้เป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อก็มาทำหลักทรัพย์
คราวนี้สนุกละ อายุ 20 ได้เจอโอ้โห CEO เก่งๆ ฟังเขาก็ตาเป็นประกาย รู้สึกว่าทำไมเขาเก่งอย่างนี้ ทำไมเขาเก่งมากเลย ตอนที่จิ๋มเจอ CEO นะ จิ๋มก็เจอทุกคน ไม่มีใครไม่เก่งเลย แล้วแต่คนก็จะมีเอกลักษณ์ (Uniqueness) ของตัวเอง มันมีความท่าเฉพาะ ไม่มีความเก่งใดไปลอกเลียนแบบแล้วเก่งได้ จิ๋มก็เรียนรู้ตรงนั้นแล้วทุกวันนี้ก็ยัง continue ที่จะยังมีพาร์ทสอนหนังสืออยู่ ยัง continue พาร์ทเขียนหนังสืออยู่นะคะ
แล้วก็โชคดีนิดนึงที่ตอนที่ตัดสินใจคืออายุ 52 คิดว่าอืม มันพอทุกอย่าง ตึงละ ก็เป็นการกล้าที่จะลาออกแล้ว take early retire มันก็เลยทำให้มีเวลาในชีวิตมากขึ้น
พี่จิ๋มมีคำแนะนำอะไรให้น้องๆ ที่กำลังจะจบการศึกษาในช่วงนี้ กลางโควิดเลย
กลางโควิดกันเลยนะคะ ปีนี้ได้เจอ คือ สำหรับน้องๆ เนี่ยถ้าใครรู้เป้าหมายตัวเอง จิ๋มขอแสดงความยินดีด้วย เหมือนที่ต้าถามว่า ลูกคนโตจิ๋มโคตรรู้เป้าหมาย เขาตรงแหน่วไปที่เป้าหมายเขา ชัดเจนมาก แต่คนเล็กไม่ค่อยจะรู้เป้าหมาย อันนี้เป็นความแตกต่างนะคะ ฝากทุกท่านนะคะ มีลูกต้องห้ามเลี้ยงเหมือนกันนะคะเพราะลูกไม่เหมือนกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ สำหรับท่านที่ยังไม่รู้อะไรเนี่ย จิ๋มก็กล้าบอกว่าทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุดก่อน ใช่มั้ยคะ ลองสมัครงาน ไม่ได้ก็สมัครอีก ไม่ได้ก็สมัครอีก เสร็จแล้วตามมาด้วยคือ เมื่อได้งานแล้วขอให้เป็นธุรกรรมทำเกิน คือไม่ใช่ว่าจ้างแค่นี้ชั้นทำแค่นี้ พอ กลับบ้าน ตอนเป็นเด็กๆ เนี่ยมันมีแรง มันผิดได้ มันอยู่ตี 3 ตี 4 ก็ได้
แล้วตามมาด้วยตอนช่วงเป็นเด็กเนี่ยอยากให้ศึกษาว่านายที่ดีเป็นยังไง นายคนนั้นอาจจะไม่ใช่นายเราแต่ทำไมเขาชอบคนนี้มาเลย แล้วดูลักษณะที่เขาดูกับลูกน้อง ดูลักษณะที่เขาทำงาน ใช่มั้ยคะ จิ๋มว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่โตมาแล้วไม่สามารถเอาคืนได้ สำหรับน้องจบใหม่เนี่ย ขอตรงนี้เลย
แล้ววันนี้ถ้าเกิดยังไม่มีงานประจำนะคะ มีงานออฟเยอะแยะมาก คือ งานโปรเจกต์ งาน based เยอะแยะมาก จิ๋มว่ามาที่ Skooldio ก็อาจจะมีงานให้ทำตลอด
ทาบทามตลอดเวลา
ใช่ มาลอง แม้กระทั่งจากงานเล็กๆ งานบริการ งานเสิร์ฟ งานอะไรก็เป็นงานที่น่าสนใจทั้งสิ้น จิ๋มว่าตรงนี้อะค่ะ แล้วค่อยๆ ค้นหาตัวเอง น้องๆ อาจจะได้ยินคำว่า "อิคิไก" ที่เขาชอบพูดกัน เอาเป็นว่าไม่ต้องไปฟังคำอะ
หนึ่ง ทำอะไรได้ดี สอง ทำอะไรแล้วมีความสุข ถ้าทำดีมีความสุขอันนี้ประเสริฐหนึ่งละ สาม แล้วมีคนจ่ายตังค์ให้ไหม เออ คือทำได้ดี มีความสุข มีคนจ่ายตังค์ให้ สี่ไม่ต้องพูดถึง โฟกัสตรงนั้นเลย ที่สุดละค่ะ
ดีครับ ก็เป็นเรื่องของให้ทำเยอะๆ เนอะ ผมชอบคำว่าธุรกรรมทำเกิน จริงๆ ต้องบอกว่าอันนึงที่เราพูดกันเยอะคือเด็ก Gen Z อยากมี Work-Life Balance เราอยากทำน้อยได้เยอะ แต่อันนึงที่ก็ต้องบอกว่า ทำเยอะ จริงๆ มันก็ได้เยอะ
แล้วก็อันนึงที่พี่จิ๋มพูดผมว่าดีมันคือเรื่องการ Connect the dots เราต้องไปสร้าง dots ก่อนแล้วเราถึงจะหาเส้นทางที่เราต้องการได้ แล้วสุดท้ายเราถึงจะเจองานที่เราทำได้ดี เราทำแล้วมีความสุข แล้วโลกต้องการ นะครับ
ก็ขอบคุณพี่จิ๋มมากๆ นะครับ วันนี้คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ฟังทุกๆ ท่าน ตั้งแต่ภาพของ Landscape ธุรกิจที่เป็นนักธุรกิจ ทำธุรกิจของตัวเองอยู่น่าจะพอเห็นภาพมากขึ้นว่าตอนนี้โลกกำลังหมุนไปทางไหน สกิลอะไรที่เราต้องเติมบ้าง รวมไปถึง Tips เล็กๆ น้อยๆ จากพี่จิ๋มในการพัฒนาตัวเองและทำให้เราเป็นคนที่เรียกว่ามีคุณค่าและสามารถอยู่ได้ในโลกยุคดิจิทัลนี้นะครับ
วันนี้ขอบคุณพี่จิ๋ม สุวภามากๆ นะครับ แล้วเราพบกันใหม่ในโอกาสหน้าครับผม สวัสดีครับ