เข้าสู่เว็บสคูลดิโอถอดรหัสทักษะแห่งความสำเร็จ ของผู้บริหารชั้นนำยุคดิจิทัล

EP.02 วิธีบริหารคนรุ่นใหม่ที่สร้าง Impact ให้องค์กร

Listen on

คนรุ่นใหม่ต้องการอะไรจากการทำงาน? คุณสมบัติของผู้นำแบบไหนที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วย? และจะบริหารคนรุ่นใหม่ให้สร้าง Impact และเติบโตไปพร้อมกับองค์กรได้อย่างไร? พูดคุยสุด Exclusive กับคุณนก มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO แห่ง Sea Thailand เจ้าของหลายบริการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเกม (Garena) E-commerce (Shopee) หรือบริการทางการเงิน (SeaMoney) ทำให้ Sea Thailand มีคนรุ่นใหม่ที่มาพร้อมไอเดียใหม่ๆ เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ

Guest
วิธีบริหารคนรุ่นใหม่ที่สร้าง Impact ให้องค์กร | คุณนก-มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ

คุณนก-มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ

CEO, Sea Thailand


Transcript

เจอปัญหาอะไรกับการทำงานกับเด็กรุ่นใหม่ๆ บ้างไหมครับ เด็กรุ่นใหม่มักจะคิดแบบนี้ เราเริ่มทำงานแบบเดิมของเรายากขึ้น เราต้องปรับเข้าหาเขา หรือเขาปรับเข้าหาเรา

น้อง Gen นี้นะ Genใหม่ Gen Z เขาอยากรู้อยู่แล้วว่างานที่เขาทำมี ผลกระทบ (Impact) อะไร มันส่งผลยังไงกับบริษัท ถ้าเราไม่อธิบายไม่บอกเขาเลย ซักพักเขาก็จะ ทำทำไมอะ

เราไม่ได้ไปผูกกับความล้มเหลว (Failure) หรือ ความสำเร็จ (Success) เราผูกกับตัวผลงาน (Performance) ของน้องเอง ไม่ได้พิสูจน์ว่า ทุกโปรเจกต์ที่ทำมาประสบความสำเร็จหมดเลยได้เลื่อนขั้น (Promote) ไม่ใช่นะ โอเค มีสำเร็จ มีล้มเหลว แล้วเราเห็นแล้วว่าเวลาเขาเจอปัญหา เจออุปสรรค เขาปรับทัศนคติ (Mindset) เขาได้ เขาพร้อมที่จะรับกับความท้าทาย (Challenge) และเขามีศักยภาพ (Potential) ที่จะขึ้นมานำ (Lead) คนได้ คนกลุ่มนี้แหละเป็นคนกลุ่มที่พี่เลื่อนขั้นให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าแต่ละแผนก Head ต่างๆ คนที่ดูธุรกิจ Garena ธุรกิจเกมให้พี่ ทั้งหมดตอนนี้อายุแค่ 30-31

ในบริษัท Tech เราก็จะคุยกันเรื่องตั้งเป้า 10X อยากจะมี Moonshot Goal กระตุ้นน้องๆ ยังไงให้เขาอยากไปกับเรา

วันนี้รายการ Chief's Table ของเรา ได้รับเกียรติอย่างมากๆ เลยจาก CEO ของบริษัท SEA Thailand พี่นก มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ เราจะมาคุยกันถึงเคล็ดลับการบริหารงาน ทำยังไงให้องค์กรอย่าง SEA Thailand ที่เป็นหนึ่งในองค์กรที่เรียกได้ว่าวัยรุ่นยุคใหม่อยากทำงานด้วยมากๆ ส่วนน้องๆ คนไหนที่มาฟังวันนี้เราก็จะได้ประสบการณ์ของบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กร (Culture) ที่ดีที่ให้พวกเราเติบโตได้ วันนี้ยินดีต้อนรับพี่นกครับ สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะน้องต้า สวัสดีค่ะ

ครับผม วันนี้เดี๋ยวเรามาคุยกันสบายๆ อยากให้พี่นกมาแชร์ให้น้องๆ ทุกคนได้ฟังว่าทำงานที่ Shopee เป็นยังไง รวมไปถึงผู้บริหารหลายคนที่แอบมาฟังว่าทำยังไงให้องค์กรของเราน่าทำงาน ให้วัยรุ่นอยากมาทำงานกับพวกเราบ้าง

ก่อนอื่นอาจจะเริ่มง่ายๆ ก่อน ให้พี่นกลองเล่าประวัติพี่นกให้ฟังว่าเส้นทางจากวิศวกรมาจนเป็น CEO บริษัทที่ยิ่งใหญ่ตอนนี้ พี่นกทำอะไรมาบ้างครับ

ได้ค่ะ พี่จบวิศวะ จุฬาเนอะ เราก็วิศวะ จุฬาเหมือนกันนะคะ เรียน IE (Industrial Engineering) วิศวอุตสาหการ ตอนจบมาพี่ว่าพี่ก็เหมือนเด็กวิศวะทั่วไป พี่ก็ไปทำงานสายวิศวะเลย พี่ก็ไปทำงานในโรงงานตอนนั้นเป็นโรงงานผลิตเพชรพลอย ทำไปได้ประมาณปีนึงก็จับพลัดจับผลูได้ย้ายไปทำสายการตลาด มันก็เหมือนเปิดหูเปิดตา เหมือนเด็กวิศวะที่เราเคยอยู่ในโลกวิศวะ เราก็ อ๋อ การตลาดเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ทำให้เรารู้สึกว่าโลกมันกว้างกว่าที่เราคิด ไปเรียนต่อเลยเลือกที่จะไปเรียนต่อด้าน MBA ไปเรียนที่ Stanford ที่อเมริกามา

จบมาก็มาทำสายตรง โรงงานผลิตต่ออีกซักพักหนึ่งแล้วก็เริ่มขยับไปทำ IB (Investment Banking) ซึ่งบอกได้เลยว่าไม่มีอะไรผิดนะ แต่พี่แค่ไม่ชอบ ทำได้ประมาณปีนึงรู้สึกมันไม่ใช่เรา เลยไปทำงานที่ปรึกษา (Consult) ที่บริษัท BCG อยู่ไปประมาณ 6 ปี ในช่วงที่ทำ BCG ตอนนั้นมีเดินทางในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่แหละ ไปเจอ Forrest ที่เป็นผู้ก่อตั้ง (Founder) ของ SEA ตอนนั้นคือ Garena เป็นเพื่อนกันที่ Stanford ตอนนั้นเขาก็เริ่มสร้างธุรกิจ Garena แล้ว เขาก็บอกว่าถ้าวันหนึ่งเขาอยากจะเข้ามาทำตลาดเมืองไทยก็อยากให้เรามาช่วยดูช่วยขยาย ตอนที่เขาเริ่มเข้ามาปี 2012 พี่ก็ยังเป็นที่ปรึกษาอยู่ ก็ช่วยเขาในแง่การไปหาบริษัทเข้ามา ช่วยเขา setting ทำตัวเป็นที่ปรึกษานอกองค์กร (External Consultant) ค่อยเข้ามาทำประจำตอนปี 2014 หลังจากนั้นก็ช่วยสร้างธุรกิจกันขึ้นมาแล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น SEA ประเทศไทยค่ะ

ครับผม มีจุดเปลี่ยนหลายอย่างมาก จากวิศวกรไปเป็นนักการตลาด (Marketer) คิดยังไงครับตอนนั้น

ตอนแรกที่เขาบอกให้ไปทำงานสายการตลาดพี่ก็เกือบลาออก

เหมือนหัวหน้าเป็นคนขอให้ไป

ใช่

เขาเห็นอะไรในตัวพี่นกหรอครับ

มันก็คงสถานการณ์ตอนนั้นบริษัทเขาคงกำลังหาคนเข้าแผนกการตลาด เขาคงมองข้างในก่อนแล้วก็คงเห็นเราเป็นเด็กผู้หญิงไปอยู่ในโรงงาน ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่าไลน์การผลิตมันทำงานหนักมาก พี่ทำงาน 6 วันต่ออาทิตย์ จริงๆ วันอาทิตย์ก็ทำ แล้วก็ทำลากตั้งแต่ 9 โมงเช้ายัน 4-5 ทุ่มเที่ยงคืน เพราะจริงๆ โรงงานผลิตตลอด 24 ชั่วโมง เขาก็คงมองว่าผู้หญิงอยู่ในโรงงานแบบนี้อาจจะไม่เหมาะ น่าจะมาทำการตลาดดู เขาก็คงมองว่าเออ เราอาจจะพอทำได้ อาจจะพอเรียนรู้ได้ แต่สำหรับพี่ตอนนั้นมันเหมือนทิ้งความฝันของการเป็นวิศวะ เพราะพี่อยากเป็น พี่รู้ตัวว่าพี่อยากเรียน อยากเป็นวิศวะตั้งแต่ม.1 ตั้งแต่ม.ต้นเลยพี่ใฝ่ฝันมาก มันก็เลยเหมือน เฮ้ย จะให้เราทิ้งสิ่งที่เราอยากเป็นหรอ

แต่อันนึง พอเราได้คุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเขาก็บอกว่า ก็ไปลองดูไม่เห็นเสียหาย ถ้ามันไม่ใช่ก็ค่อยว่ากัน พี่ก็รู้สึกว่าเออ ก็ได้มั้ง เขาคงอะไรกับเราซักอย่าง คือเด็กวิศวะเอาไปทำการตลาด แล้วมันเป็นโรงงานผลิตเพชรพลอยส่งออกนอกนะ ดังนั้นหมายถึงการตลาดพี่ต้องคุยกับฝรั่ง คือสมัยนั้นพี่พิมพ์ดีดยังใช้นิ้วจิ้มๆ เราก็เลย เอาวะ ถ้าเขาทนกับเราได้เราก็ไปลองดู เลยจับพลัดจับผลูไปทำตรงนั้นได้เกือบ 3 ปีเหมือนกัน ก็ได้เรียนรู้ พี่ว่ามันก็เป็นการเปิดหูเปิดตามากๆ เป็นการเปลี่ยนมุมมองกับอาชีพ กับสิ่งที่เราอยากเป็น แล้วเราก็รู้สึกว่าจริงๆ เรียนวิศวะมาก็ไม่ได้จำเป็นต้องทำสายวิศวะจ๋าขนาดนั้นก็ได้ เรายังสามารถเอาสิ่งที่เราเรียน adapt และใช้กับอย่างอื่นได้

ครับ ดีมากเลย เมื่อกี๊พี่นกหลุดเปรยออกมาว่าพี่นกทำงานหนักมากตอนเป็นวิศวกร 6 วัน บางที 7 วัน 9 โมงเช้าถึง 3-4 ทุ่ม

ตอนทำการตลาดก็ยังเป็นแบบนั้น

พี่นกเป็นคนทำงานหนักมาแต่ไหนแต่ไรอย่างนี้ไหมครับ

อืม

อาจจะให้พี่นกลองเล่าให้ฟังว่าพี่นกมีมุมมองเกี่ยวกับการทำงานหนักยังไงดีไหม เพราะผมว่าเด็กๆ สมัยนี้บางทีอย่างพวกเราเวลาสัมภาษณ์งาน เดี๋ยวนี้เด็กเขาก็จะเริ่มละ ที่นี่ปกติเขาเริ่มงานกันกี่โมง ชั่วโมงการทำงาน (Working Hour) ยังไง อยากมี Work-Life Balance ที่ดี

จริงๆ คือมันเป็นงานแรกนะอันนั้นน่ะ พูดตรงๆ ว่าเราก็เด็กจบใหม่ เราไม่ได้มีความรู้ขนาดนั้นหรอกว่าบริษัทจริงๆ เขาต้องทำงานกันแบบไหน แต่เราก็เข้าไปด้วยความรู้สึกแค่ว่า เขาให้เราลองทำอะไรเราก็ทำ ถ้าเกิดมันทำงานแบบนี้แล้วมันได้ผล เรารู้สึกสนุกกับมันเราก็ทำไป ทำงาน 100 ชม. ต่ออาทิตย์คือเรื่องปกติ ซึ่งพี่มองว่า สำหรับพี่นะ ตอนนั้นมันทำไหวไง เพราะว่ามันเด็กจบใหม่ เรากำลังเฟรชๆ น้องๆ ที่ฟังอยู่ พี่คิดว่านะ น้องกำลังมีแรงอะ น้องจะมาทำ 100 ชม. ต่ออาทิตย์ตอนอายุเท่าพี่อาจจะไม่ไหว ดังนั้นพี่มองว่าการทำงานหนักมันสอนเราหลายอย่างมากเลย มันสอนให้พี่อึด ถึก ทน อันแรกเลยนะ อันที่หนึ่ง เจออะไรเราก็เหมือนไม่ยอมแพ้ง่ายๆ

เรื่องของประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning Curve) พี่คิดว่าพอเราใส่ให้เยอะ เราก็ได้เยอะกลับมา มันทำให้เรารู้จักการทำงานกับคน การทำงานกับคนหลายๆ แบบมากๆ เลยนะ พี่ทำงานในโรงงานพี่ก็ทำกับกลุ่มคนฝ่ายผลิต พี่ไปทำการตลาด พี่ไปเจอลูกค้าระดับ Wallmart QVC เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ละ มันก็มีแบรนด์ใหญ่ๆ ระดับอเมริกาขึ้นมาเยอะแยะ แต่สมัยนั้นมันดังมาก ทำให้พี่ได้สมผัสคนหลากหลาย แล้วพอเราใส่ไปเยอะ เราได้เยอะจริงๆ ซึ่งพี่มองว่าสำหรับน้องๆ ช่วงอายุ 20 ต้นๆ จนถึง 30 พี่มองว่ามันเป็นช่วงเวลาในการลงทุน (Investment Phrase) นะ ถ้าเรามองมันคือการลงทุน มันคือการลงทุน ลงแรง ใช้เวลาของเรานี่แหละลงทุนไปให้ได้ผลตอบแทน คืออะไร ประสบการณ์ ได้เรียนรู้ ได้ความรู้ เปิดหูเปิดตา แล้วเราเอามาต่อยอดตอนเราอายุ 30 ขึ้นไป ต่อไปเราจะรู้แล้วว่าประสบการณ์ที่เราสะสมมาเราเอาไปทำอะไรต่อได้

ถ้าให้พี่นกเล่าซัก 1 อย่าง อะไรที่ได้เรียนรู้ตอนไปทำงานที่โรงงานแล้วทุกวันนี้รู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับการเป็น CEO SEA Thailand ของพี่นกมากๆ

ค่ะ ถ้าให้นึกอย่างนึงพี่คิดว่ามันคือ ตอนที่พี่ทำงานในโรงงานหรือตอนที่ทำการตลาด พี่สัมผัสกับคนเยอะมาก ซึ่งอันนี้มันทำให้พี่เรียนรู้ในการรู้จักอ่านคน รู้จักเข้าใจคนและเห็นอกเห็นใจคน พอเราทำอะไรที่มันลงมือทำจริง (hands-on) มากๆ ในระดับที่เป็นงานด้านหน้า (Front line) แล้วเนี่ย การผลิตหรืออะไรก็ตาม คนที่อยู่หน้างานจริงๆ เราจะเห็นเลยว่างานมันเป็นแบบไหน งานมันเป็นแบบไหน งานมันน่าเบื่อมั้ย กระบวนการมันเป็นยังไง พอเราไปเจออย่างนั้นเยอะๆ ทำให้ทุกวันนี้พี่รู้สึกว่าพี่ต้องจัดการกระบวนการอะไรซักอย่าง พี่จะคิดถึงเรื่องคนขึ้นมาก่อน เพราะพี่คิดว่าอะไรก็ตามที่เรากำลังจะคิดจะทำมันมีผลกระทบอะไรกับคนบ้าง เรากำลังทำให้ชีวิตเขาเป็นยังไง น้องในบริษัท เราจัดการ เราวางระบบอย่างนี้ น้องในบริษัทจะรู้สึกยังไง เหมือนเราเอาตัวเองว่าถ้าไปนั่งตรงจุดนั้นเพราะเหมือนเราเคยผ่านจุดนั้นมาแล้ว ทำยังไงให้ชีวิตเขาดีกว่านั้นได้ไหม สบายกว่านั้นได้ไหม รวมไปถึงเวลาที่เราออกแบบตัว Product ของเราก็เช่นกัน เราก็จะคิดถึงคนมากขึ้นเพราะเราสัมผัสตรงนั้นมาพอสมควรค่ะ

ดีมากๆ เลย ผมเห็นด้วยมากๆ ผมมีโอกาสคุยกับน้องๆ สมัยนี้หลายคน พอจบมาทุกคนอยากทำงานวางกลยุทธ์ วางแผนธุรกิจ ซึ่งในมุมพวกเราเราก็จะบอกว่า ไปลองทำ Operation ก่อน ถ้าคุณไม่รู้ว่าแผนที่ออกแบบมาสุดท้ายมันทำง่ายทำยากยังไง จริงๆ แล้วมันเหนื่อยคนข้างล่าง เห็นด้วยกับพี่นกมากๆ เลย

เมื่อกี๊พี่นกแตะมาแล้วเรื่องเข้าใจคน หลังๆ ต้องบอกว่า SEA Thailand มีธุรกิจเยอะมาก E-commerce เกม Payment แต่พี่นกลองเล่าให้ฟังหน่อยว่าตลอดเส้นทางที่ผ่านมา SEA Thailand ได้สร้างผลกระทบอะไรให้ชีวิตคนไทยมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอาจจะต้องบอกว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมาครับ

ค่ะ ตัวผลิตภัณฑ์ของเรามันเป็นแอพพลิเคชั่น คือการเอาเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ชีวิตของคนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งตรงนี้มันเป็นภารกิจ (Mission) ของบริษัทเลย คือ Better the lives of the consumers กับ SME มันคือโจทย์แรกที่เราตั้งมาอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2014

ก็คือตั้งแต่ 2014 เราตั้งมาแล้ว

2014 เราตั้งโจทย์นี้ไว้แล้วว่าทำยังไงดีที่จะเอาเทคโนโลยีมาทำให้ชีวิตคนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งตอนนั้นที่เราทำ ตอนแรกของพี่เป็นธุรกิจเกม Garena เราก็คิดง่ายๆ ก่อนว่าทำยังไงให้น้องที่เขาเล่นเกม เล่นเกมง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมไปถึงเรื่องการเติม (Top-up) เกม ใครที่เล่นเกมอยู่ก็จะรู้ว่า ไม่รู้สมัยนี้ทันหรือเปล่า ต้องเดินไปร้านข้างนอก ไปซื้อการ์ดมาแล้วค่อยๆ เติม น้องพยักหน้า คือเราก็มองว่าทำยังไงให้มันง่ายขึ้น น้องไม่ต้องหยุดเกม เพราะนั่นคือการ Disrupt Experience คือการทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมโดนกระทบ เราก็ใช้หลักการนี้ตลอด ทำธุรกิจ Payment ซึ่งเริ่มจากการเติมเกมก่อน แล้วเราก็ดูว่าเราขยายไปอะไรได้บ้าง เติมเงินมือถือ ไปแตะไลฟ์สไตล์ของคน จองตั๋วหนัง จองโรงแรม จองเครื่องบิน รวมถึงชำระใบเสร็จต่างๆ แล้วเราก็ย้อนมาต่อว่าแล้ว Payment คู่กับอะไร ก็คู่กับ E-commerce ก็คือช้อปปิ้งออนไลน์ แต่มันคือหลักการเดียวกัน เรามองว่าเทคโนโลยีมาทำให้ชีวิตคนง่ายขึ้น คนอยู่บ้านก็สามารถซื้อของได้

ปรากฎว่าตรงนี้เราเห็นความสำเร็จที่เมืองจีนมาอยู่แล้ว เราเห็นที่อื่นเขาทำกัน แต่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือเมืองไทยต้องบอกว่า ตอนที่เราเริ่มต้นตอน 2014-2015 คนรับไปใช้ (pick-up) ช้า คนยังไม่ค่อยมั่นใจกับเทคโนโลยี ยังไม่ค่อยมั่นใจว่าเอ๊ะ ให้ข้อมูล Credit Card ไป ชำระเงินออนไลน์มันใช่หรือเปล่า มันไปได้จริงเปล่า ซื้อของจะได้มาหรือเปล่า แต่โควิดเป็นเหมือนตัวเร่ง (Accelerator) เป็นตัวกระตุ้น (Catalyst) เอามาเร่งเลย เหมือนเร่งปฏิกิริยา ถ้าน้องที่เรียนเคมี เหมือนเร่งเลย มันเหมือนว่าทุกคนจำเป็นต้องใช้เพราะว่าออกจากบ้านไม่ได้ พยายามจะไม่สัมผัสเงินปุ๊บ ก็ต้องบอกว่าเทคโนโลยีเรามันตอบโจทย์มากๆ เลย พอช่วงโควิดมันทำให้เรา อันนึงเราก็รู้สึกไม่ดีนะที่โควิดมันเกิดขึ้น แต่ส่วนหนึ่งเราก็รู้สึกเหมือนกันว่าโควิดมันทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไปในทางที่เรารู้สึกว่าเราอยากให้มันเกิด คือความสะดวกสบาย ความอยากได้อะไรก็หาออนไลน์ ซื้อได้เลย สามารถส่งมาถึงบ้านได้ทันที

แล้วโควิดเนี่ย เรียกว่าระยะเวลาในการเกิดมันนาน มันสองปีกว่า มันนานเพียงพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ของคน ตอนแรกคนอาจจะโดนบังคับต้องใช้เพราะมันไปไหนไม่ได้ แต่มันใช้แบบ 6 เดือน ปีนึง ก็เริ่มคุ้นชิน มีความคุ้นชินเกิดขึ้น แล้วก็ทำให้ตรงนี้เขาเริ่มเห็นความสะดวก (Convenience) ของตรงนี้ หลังจากโควิดหรือตอนที่เราปลด Lockdown มาแล้วคนก็ยังใช้ต่อ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ การชำระเงินออนไลน์ รวมไปถึงการเล่นเกมเนี่ย กลายเป็นว่าไอที่บูมมากๆ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาคือยอดของคนที่ดูการแข่งขัน E-Sport เพราะว่ามันกลายเป็น Content Entertainment อีกแบบหนึ่ง ติดอยู่บ้านไม่รู้จะทำอะไร เล่นเกมอาจจะเล่นไม่เก่ง แต่ดูคนเล่นแล้วสนุก เหมือนเราเตะฟุตบอลไม่เก่งแต่มันก็สนุก เราก็จะเห็นว่าตรงนี้เนี่ย บริการของเราค่อนข้างที่จะมีผลกระทบและช่วยในชีวิตประจำวันของคนได้พอสมควรเลยทีเดียว

มีแผนอยากจะขยายไปไหนอีกไหมครับ เท่าที่ฟังแล้วพี่นกเหมือนต่อมาเรื่อยๆ เลยเนอะ เริ่มทำเกม คนอยากเติมเกมก็ทำ Payment พอมี Payment แล้วก็ช้อปปิ้งมั้ย อยากไปไหนอีกไหมครับ

อยากไปไหนอีกมั้ย ตอนนี้จริงๆ ที่ทำอยู่คิดว่าในแต่ละก้อนก็มีความท้าทายและมีโอกาสในตัวค่อนข้างหลากหลาย อย่างตัวธุรกิจเกมเราก็พยายามขยับต่อ ก่อนหน้านี้เราเป็นแค่ Publisher คือเอาเกมนำเข้าแล้วก็มาให้บริการอย่างเดียว เราก็ขยับไปเป็น Game Developer พัฒนาเกมเอง ซึ่ง Free Fire เป็นเกมแรกที่เราพัฒนาเองเต็มๆ ตอนนี้ในฝั่งของธุรกิจเกมเองเราก็พยายามขยับขยายในการพัฒนาเกมอื่นๆ เข้ามามากขึ้น

ตัวของ Shopee พี่คิดว่าในแง่ของ E-commerce มันมีอะไรที่ทำได้อีกมากมาย จริงๆ Shopee ตอนเริ่มต้นเป็น C2C คือเป็น Customer to customer แต่หลังจากนั้นเราก็ขยับมาเป็น B2C (Business to customer) เราก็เริ่มทำของ Fulfillment เราก็จะเริ่มเห็นว่า พอเราทำงานกับผู้ขาย (Seller) กับ ผู้ซื้อ (Buyer) เยอะๆ จะเริ่มเห็นความต้องการซื้อ (Demand) ละ เขาอยากได้อะไร โดยเฉพาะผู้ขายเมืองไทยที่เป็น SME เราช่วยให้เขาโตยังไงได้บ้าง เขาอาจจะมีศักยภาพแต่เขาจัดการไม่ได้

เราช่วยให้เขาโตเนอะ คนอยากซื้อ แต่เขาแพ็คของไม่ทัน

แพ็คของไม่ทัน ไม่รู้จะเอาของไปเก็บที่ไหน จะทำรายงาน (Report) ยังไง

ก็เลยเห็นปัญหาใหม่ๆ อีก ก็ไปได้อีก

ใช่ ตรงนี้เราก็เอาเรื่องของ Fulfillment เข้ามาช่วยจัดการ แน่นอนค่ะ เรื่องของตัว Payment บริการต่างๆ ที่เราสามารถจะทำให้มันสะดวกสบายมากขึ้น ตรงนี้พี่คิดว่าเราก็จะขยับขยายในแต่ละก้อนเข้าไปก่อนค่ะ

ครับ อันนี้ไม่แน่ใจพี่นกตอบได้แค่ไหน เวลาพูดถึงธุรกิจแบบ E-commerce หลายคนจะบอกว่า เอ้ย นี่มันธุรกิจขาดทุนนะ ใช้เงินเยอะ มันเผา (burn) เงินไปเรื่อยๆ เลย ในมุมพี่นกคิดยังไงครับ

พี่คิดว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของการลงทุนนะคะ แล้วก็จริงๆ คงมีจุดที่เราสามารถปรับโมเดลธุรกิจ (Business Model) ได้โดยที่ไม่กระทบกับผู้ใช้งาน หลายๆ ธุรกิจมีวิถีทางในการดำเนินธุรกิจไป แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องมั่นใจมากๆ ไม่ว่าเราจะปรับโมเดลธุรกิจเรายังไงเพื่อให้เราเริ่มทำกำไร (Break even) ก็ตาม คนที่ใช้งานไม่ว่าจะเป็นฝั่งของผู้ขายหรือผู้ซื้อเองก็จะต้องไม่โดนผลกระทบตรงนั้น

พี่นกเล่าแล้วทุกคนน่าจะเริ่มพอเห็นภาพว่าจริงๆ ธุรกิจมีความหลากหลายมากเลย ขยับไปเรื่อยๆ อันนึงที่พี่นกเกริ่นมาแล้วคือ พี่นกให้ความสำคัญกับเรื่องของคนมากเลย อาจจะให้พี่นกลองเล่าให้ฟังหน่อยว่าพี่นกสร้างทีมยังไง มันเหมือนธุรกิจแรกเนอะ ทำเกม มันเหมือนเราต้องการคนที่มีความสามารถ (capability) แบบนึงหรือเปล่า ต้องเป็นคนชอบเล่นเกม อยู่ดีๆ เราก็ไปทำ Payment พอ Payment เดี๋ยวมันก็จะเปิดอีกหลายประตูมาก ต้องรู้เรื่องกฎหมาย การเงิน การธนาคาร กระโดดมาทำ E-commerce เหมือนอีกโลกนึงเลย พี่นกสร้างทีมยังไง แล้วทำยังไงให้สุดท้ายเราสามารถเติบโตแข่งขันได้ตลอดเวลาครับ

ค่ะ ก็ต้องบอกว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ เลยเนอะ คือแบบว่า คิดธุรกิจ คิดกลยุทธ์อะไรมาถ้ามันปฏิบัติ (Execution) ไม่ได้มันไม่มีความหมายเลย ซึ่งใช่ค่ะ ตอนเริ่มต้นของการสร้างทีมมันมีความท้าทายมากๆ เลย ตอนที่พี่เข้ามาเริ่มธุรกิจเกมเนี่ยก็ต้องบอกว่าเราต้องพยายามปรับ คือน้องๆ ที่ชอบเล่นเกมอยู่ในวงการเกมก็จะมีความเป็นศิลปินมากๆ ระดับหนึ่ง เราจะทำยังไงที่จะปรับให้เขาใส่เรื่องกฎระเบียบลงไปบ้าง ใส่มากก็ไม่ได้ ถ้าใส่มากก็ไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เขาอีก ใส่น้อยไปแล้วจะยังไง เพราะฉะนั้นตอนเริ่มต้นมันคือความท้าทายในการหาจุดสมดุล (Balance) ว่าเราจะสามารถสร้างธุรกิจไปยังไงโดยที่ธุรกิจที่เราทำต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มันต้องมีสนามเด็กเล่นให้น้องๆ สามารถวิ่งเล่นได้ แต่เราตีกรอบใหญ่ๆ หลวมๆ ไว้ให้เขา

ตรงนี้ก็ค่อนข้างท้าทาย แต่พี่คิดว่ามันคือการค่อยๆ หาคนที่ใช่เข้ามาร่วมทีมกับเราแล้วก็เรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะอันนึงเลยในทุกๆ ธุรกิจที่เราทำมาต้องบอกว่าตัวพี่เองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ เราไม่รู้หรอกว่า Payment online จะเป็นยังไง E-commerce online จะเป็นยังไง E-sport จะเป็นยังไง มันไม่มีใครรู้ แล้วมันมีความสวยงามของการที่ไม่รู้ เพราะมันไม่รู้เราก็แค่หาคนที่ เฮ้ย เราฝันเหมือนกัน แล้วเรามาช่วยกันสร้าง ไอสร้างมันจะสร้างผิดสร้างถูก ตรงนี้พี่คิดว่ามันอยู่ที่เรากับน้องด้วย เวลามันสร้างถูกมันดีอยู่แล้วล่ะ เพราะเวลามันสร้างถูกทุกคนก็แฮปปี้ เฉลิมฉลอง ปล่อยเกมมาทุกคนชอบหมดเลย แต่เกมมันก็มีเกมที่ปล่อยมาแล้วพัง ไม่มีคนชอบเหมือนกัน จังหวะนั้นเนี่ยน้องยังเชื่อในความฝัน เชื่อในสิ่งที่เราทำด้วยกันแล้วก็สร้างไปด้วยกันหรือเปล่า

อันนี้พี่ว่าเป็นจุดแรกที่สำคัญมาก หาคนที่ใช่ หาคนที่มีเป้าหมายร่วมกัน (share the same purpose) แล้วไปในทิศทางเดียวกัน ในแต่ละธุรกิจเลย ธุรกิจเกมก็แบบนี้ พอทำ Payment ก็เหมือนกัน ก็ต้องหาคนแบบนี้เหมือนกันว่า Payment online พอย้อนกลับไป 8 ปีที่แล้วมันไม่มีใครรู้เรื่องเลยนะ E-wallet คืออะไร พูดไปคนยังงงๆ ใช่ไหมคะ ก็เหมือนกัน เราก็ต้องหาคนที่อย่างน้อย share the same purpose ว่าเราเชื่อว่าเทคโนโลยีเอามาทำให้ชีวิตคนดีขึ้นได้ แล้วมาช่วยกันสร้าง มาช่วยกันขยายเครือข่าย (Network) สร้าง Ecosystem กัน

แต่ว่าไอความสวยงามในความไม่รู้เนี่ยมันก็มีความซับซ้อนอยู่ข้างใน เพราะว่าไอความไม่รู้ของพี่ตอนนี้มันเป็น 3 ก้อน ใช่มั้ยคะ ก้อนของเกม ก้อนของ Payment แล้วก็ก้อนของ E-commerce แล้วแต่ละก้อนเนี่ย อย่างที่เมื่อกี๊น้องต้าบอกเลย มันเอา เขาเรียกอะไรดี ต้องการคนคนละบุคลิกลักษณะ (Character) กัน คนเล่นเกม ทำเกม ก็จะแบบนึง คนทำ Payment Finance ก็จะแบบนึง

โห พวกบัญชี กฎหมาย นี่ต้องเป๊ะทุกตัว

ทุกอย่างต้องเป๊ะ Professional ทุกอย่างมันต้องมีกฎระเบียบที่ต้องตายตัวมาก E-commerce ก็อีกแบบนึง เพราะฉะนั้นเนี่ย งานของพี่นอกจากหาคนที่มีเป้าหมายร่วมกันแล้วเนี่ย เราก็ต้องดูว่าทำยังไงที่ไอสามก้อนนี้เขาจะดำเนินการต่อไปในตัวของเขาเองเนี่ย เขามีเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้นร่วมกัน (share the bigger goal) ที่มันมากไปกว่าก้อนที่เขามากกว่าที่เขาฝันกันเอง ใน 3 อันนี้มันก็เป็นหน้าที่เราในการที่จะทำให้น้องๆ เห็นว่า 3 ก้อน ต่างคนต่างมีเป้าหมายของตัวเองนะ ทั้ง 3 ก้อนนี้เราก็ไปในทางเดียวกัน มันก็เป็นหน้าที่ที่เราต้องสื่อสาร

การสื่อสาร การพูดคุย การอธิบาย พี่เชื่อว่ามันเป็นวิธีที่ใช่ เพราะน้องทุกคนเวลาเขาทำงาน เขาอยากรู้อยู่แล้วแหละว่า โดยเฉพาะน้อง Gen นี้นะ Gen ใหม่ Gen Z เนี่ย เขาอยากรู้อยู่แล้วว่างานที่เขาทำมันมีผลกระทบอะไร เขากำลังมอบ (Contribute) อะไร สิ่งที่เขาทำมันส่งผลยังไงกับบริษัท ถ้าเราไม่อธิบาย เราไม่บอกเขาเลย เราบอกแค่ว่าโอเค น้องทำงานนี้ไป จบ แต่เขาไม่รู้เลยไอที่เขาทำมันเป็นฟันเฟืองที่ไปสร้างไปหมุนอะไรใหญ่ๆ น้องมันก็จะทำแล้วซักพักน้องมันก็จะแบบ ทำทำไมอะ ทำไปเพื่ออะไร แล้วผมได้อะไร แล้วยังไงต่อ อะไรคือบทถัดไปของผม แต่ถ้าเราอธิบายแล้วเราเห็นว่า ที่น้องทำนะ กำลังส่งผลอย่างนี้ มันทำให้บริษัทเป็นอย่างนี้ น้องเขาจะเห็นภาพแล้วน้องเขาจะรู้ว่า ภูมิใจอะ กับงานที่มันอาจจะดูเหมือนเล็กแต่จริงๆ แล้วงานเล็กๆ นี่แหละต่อยอดให้มันเกิดผลใหญ่ๆ ขึ้นมาค่ะ

ดีมากๆ พี่นกบอกว่า เราวางเป้าหมายให้ชัดว่าธุรกิจเราอยากจะช่วยให้ชีวิตคนดีขึ้น เราก็หาคนที่ยึดถือคุณค่าร่วมกัน (Shared value) กับเรา เขาเชื่อในสิ่งเดียวกับเรา เขามีความฝันเล็กๆ ของเขา แต่ว่าเราทุกคนก็ยังวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน แล้วระหว่างที่เขาทำงานก็พยายามทำให้เขาเห็น Contribution ของเขาตลอดเวลาว่าสิ่งที่เขาทำอยู่มันกำลังตอบเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น ที่พวกเราไปด้วยกัน ดีมากๆ เลย

จริงๆ ผมแอบไปคุยกับน้องๆ พี่นกมาหลายคนว่าพี่นกเป็นยังไง แต่จริงๆ อยากให้พี่นกลองเล่าให้ฟังว่า คิดว่าถ้าผมไปเม้าท์กับน้องๆ ของพี่นกแล้ว พี่นกคิดว่าเขาจะมองว่าพี่นกเป็นผู้นำแบบไหนครับ

อืม พี่ว่าเขาน่าจะแบบ อันนี้ก็เดาเอานะ เขาคงน่าจะรู้สึกว่าพี่เป็นแม่ บางทีก็ใจดี บางทีก็ดุ อะไรแบบนี้ พี่คิดว่าพี่เป็นคนให้โอกาสคนอะ แล้วก็พร้อมที่จะให้อภัย ให้โอกาสที่ 2 กับน้องๆ แต่ก็เป็นแม่นะ คือประมาณว่าถ้าทำผิดมาก็ต้องโดนดุอะ แต่ถ้าทำดีมาก็คุยกัน ก็คอย cheer up คอยให้กำลังใจ

หลายๆ คนที่ทำงานกับพี่ส่วนใหญ่จะบอกว่าพี่ใจดี เหมือนกับว่าไม่เคยเห็นพี่ดุ แต่ว่าเขาก็จะบอกว่าก็อย่าทำให้พี่นกดุ เพราะถ้าพี่นกดุก็จะโหมดแม่มา โหมดของความเป็นแม่มา แม่มาแล้ว น่าจะอารมณ์ประมาณนั้น

ดีครับ ผมชอบที่พี่นกพูดว่ามันต้องมีทั้งโหมดใจดี แล้วก็ต้องมีทั้งโหมดดุเนอะ คือถ้าเราไม่ใจดีเขาก็จะกลัว ไม่เป็นตัวของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันเรามีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เนอะ ถ้าเกิดเราไม่ดุ ไม่ตักเตือนเขา ผมชอบพูดว่าไม่มีใครอยากเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่แพ้ (Losing team) เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ชนะ (Winning team) เราอยากเป็นทีมชนะ ฉะนั้นปกติเราเป็นโค้ชเป็นอะไรเราก็ต้องดุเนอะ พยายามเคี่ยวเข็ญให้ทุกคนเก่งขึ้นแล้วก็ไปด้วยกัน

ค่ะ ซึ่งพี่ว่าตรงนี้มันเป็นศิลปะนิดนึงด้วยเหมือนกันแหละว่าเราจะนำเขายังไง เราจะโค้ชเขายังไง แต่ในขณะเดียวกันให้เขาไม่กลัว แล้วเขาสามารถเข้ามาหา (Approach) แล้วบอกเราได้ เพราะอันที่พี่กลัวมากที่สุดก็คือว่า เวลามีปัญหาหรือมีอะไรแล้วไม่บอก อันนี้น่ากลัวที่สุดเลย ก็คือเหมือนปิดๆ ว่าเอ้ย อย่าบอกเลย บอกแล้วเดี๋ยวโดนด่า เดี๋ยวโดนดุ แต่เราก็พยายามที่จะเห้ย เราเปิดนะ บอกได้ แต่ว่าเวลาพี่ดุพี่ก็ดุด้วยเหตุผล แต่มีอะไรบอกนะ แล้วเราช่วยกันแก้ ซึ่งอันนี้พี่ว่ามันสำคัญมากเลยที่จะทำให้ทีมมันรันไปด้วยกันได้

ดีครับ ปกติเวลาคุยกับใคร คนชอบพูดเหมือนการใจดีการดุมันต้องเกิดขึ้นแยกกัน คนนี้เป็นหัวหน้าใจดีก็ใจดีอย่างเดียว คนนี้ดุก็ดุเอาๆ จริงๆ ผมว่าพี่นกทำให้ทุกคนเห็นว่ามันมีสองบุคลิกที่อยู่ในคนคนเดียวกันได้

จากที่พี่นกเล่า จริงๆ มันมีมุมนึงที่ผมได้ยินที่พี่นกพยายามทำให้น้องๆ ไม่กลัว ตอนนี้คำนึงที่เขาฮิตกันเยอะก็ ความไว้วางใจ (Trust) สร้าง ความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา (Psychological safety) ในที่ทำงานนะครับ พี่นกมีหลักตรงนี้ยังไงบ้างครับในการทำให้ทุกคนกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น จริงๆ ก่อนหน้านี้พี่นกพูดเรื่องของการกล้าทำผิด มันมีความไม่แน่นอนอยู่ในอุตสาหกรรมของเราสูงมากเลย พี่นกมีแนวคิดตรงนี้ยังไง มีเทคนิคยังไงครับ

อืม พี่ว่ามันเริ่มจากการฟังเยอะๆ คือพี่จะชอบฟังน้องๆ ก่อนว่าน้องเขาคิดอะไรยังไง หรือแม้กระทั่งวันแรกที่เราเพิ่งเจอหน้ากัน พี่ก็จะถาม ให้เล่าเรื่องของเขา เป็นยังไง เรียนอะไรมา ทำอะไร ชอบทำอะไร วันนี้ออกไปกินอะไร การคุยเรื่องที่มันดูธรรมดาเนี่ยแหละแต่มันทำให้รู้สึกว่าพี่รู้จักเขามากขึ้น แล้วมันเหมือนทลายกำแพงน้ำแข็ง (Breaking the ice) เนอะ คนเพิ่งรู้จักกัน แล้วการที่พี่ว่าเราเป็นผู้ใหญ่แต่เราพยายามที่จะไปรู้จักเขาอะ เขาจะรู้สึกว่าเออ คนนี้คุยได้นะ แต่ถ้าเราจะรอให้น้องมันมาคุยกับเราเนี่ยพี่ว่ายากมากเลย ดังนั้นเราก็ต้องเป็นคนเปิดก่อน

เหมือนความสำคัญมันไม่ใช่แค่หัวหน้ากับลูกน้องเนอะ พี่นกพยายามทำให้เหมือนเป็นเพื่อน Connection มันส่วนตัวมากกว่านั้น

ใช่ค่ะ ซึ่งตรงนี้พี่รู้สึกว่าพอมันเปิดแล้วเราฟังเขาเยอะๆ เนี่ย เขาจะรู้สึกว่าเขาคุยกับเราได้ มันอาจจะเป็นแค่ความรู้สึกสบาย สบายใจที่จะคุยด้วย เรื่องธรรมดาก่อน ยังไม่ต้องเรื่องงานนะ เรื่องธรรมดา พี่นกคุยเล่นได้ มีอะไรมาเล่าให้พี่นกฟังได้ พี่นกพร้อมที่จะรับฟัง คือพี่ต้องการพยายามสร้างตรงนั้นกับน้องๆ ขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นก็เข้าโหมดเรื่องของการทำงาน

พอการทำงาน เวลาเรามีโปรเจกต์มีอะไรขึ้นมา ส่วนใหญ่ที่พี่ทำก็คือ วางสโคปกว้างๆ หรือไม่ก็วางเป้าหมายว่าสุดท้ายพี่อยากได้อย่างนี้ น้องไปลองคิดมาว่าจะทำยังไงดีให้ได้แบบนี้ แล้วมันก็เป็นวิธีที่เราพยายามทำแบบนี้ (27:10?) ไปนะ น้องบางคนไม่ชอบก็มีนะ น้องบางคนเขาชอบวิธีที่บอกผมมาว่าต้องทำอะไร เพราะฉะนั้นจริงๆ บางคนที่อาจจะเข้ามาแล้วรู้สึกว่าเอ้ย จริงๆ มันไม่มีอะไร มันแค่อาจจะสไตล์ไม่เหมือนกัน แต่ที่นี่เราเป็นแบบนี้ คือเราประมาณว่า เห้ย น้องลองดู น้องลองคิดดู แล้วน้องมาคุยซิว่าน้องมีอะไร ที่พี่ทำอย่างนี้ อันนึงก็ปล่อยให้เขามีอิสระ เขาอยากทำอะไร น้องบางคนก็กลัวนะ แบบ ทำอะไรวะ คิดไม่ออก ถ้าคิดไม่ออกก็โอเค มานั่งใกล้ๆ กันนิดนึง แต่เราก็จะไม่บอกเขาว่าเราเคยทำอะไรมา แล้วไอแบบนี้สิ่งที่พี่ได้จากน้องก็คือ ไอเดียใหม่ๆ เพราะบางทีเหมือนเราก็เป็น Gen เก่า เราก็โตไปเรื่อยๆ เราก็จะคุ้นชินกับการทำงานแบบนึง แต่พอน้องมันเสนออีกแบบนึงว่าอ๋อ เออว่ะ เดี๋ยวนี้โลกมันเป็นแบบนี้ มันก็เป็นวิธีนึงในการที่ทำให้เราทันสมัย (up-to-date) ด้วยว่ามันกำลังเกิดอะไรขึ้น

แล้วน้องมันก็รู้สึกว่า พอมันพูดแล้วรู้สึกว่าเราซื้อไอเดีย น้องเขาได้ทำ พอเหมือนกับว่ามันได้ลงมือทำจริงๆ แล้วน้องได้ทำจริง ซึ่งถ้าทำดีก็ดีใช่ป่ะ โปรเจกต์ประสบความสำเร็จก็ให้รางวัล (Reward) กันไป แต่ว่าถ้าเวลาน้องเขาเฟลหรือโปรเจกต์มันไม่ประสบความสำเร็จ ไอเราในฐานะหัวหน้าต้องพูดคุย เราก็จะเปิดฟังอีกแหละว่า แล้วน้องคิดว่ายังไง ทำไมน้องถึงคิดว่ามันถึงไม่เป็นอย่างที่คิด น้องลองวิเคราะห์ซิ พี่อะฟังเยอะมากเลยนะ พี่ฟังเยอะมากเลยว่าแล้วน้องคิดว่ายังไง แล้วเราค่อยพูดว่าเราคิดว่ายังไง

ซึ่งพี่รู้สึกว่าพอมันอยู่ในวงจร (Loop) แบบนี้ไปเรื่อยๆ น้องมันจะรู้สึกว่าเห้ย โอเค เฟลได้ ถ้าเฟลพี่จะไม่โกรธเลยถ้าน้องเต็มที่แล้วมันเฟลเนี่ย โอเค โหยแต่ถ้าเกิดเรามา เอ่อ น้องก็ไม่ทำหนิ น้องไม่ได้เต็มที่กับมันจริงๆ งั้นเรามาลองกันใหม่มั้ย ทำไมน้องถึงคิดว่าอย่างนั้น ทำไมน้องถึงไม่เต็มที่กับมัน น้องชะล่าใจไปหรือเปล่า น้องไม่ได้เช็คเรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วเราก็ลองให้โอกาสครั้งที่ 2 (Second chance) ดู แล้วพี่ว่าพอมันเป็นอย่างนี้ แล้วมันมีเด็กที่ทำได้แล้วเขาก็โตขึ้นเรื่อยๆ มันก็กลายเป็น น้องกลุ่มนั้นก็จะกลายเป็นแบบอย่าง (Role Model) ที่ทำให้น้องกลุ่มใหม่ๆ เห็นว่าเห้ย นี่ไง พี่คนนี้เขาทำอย่างนี้ได้ บริษัทไว้วางใจให้เขาสร้างตัวเองขึ้นมาได้ น้องมันก็จะวนเข้ามาในวงจรนี้ พยายามที่จะสร้างตัวเองขึ้นไปค่ะ

ดีมากๆ เลย เริ่มจากเราก่อนเลยเนอะ ให้ความไว้วางใจเขาก่อนเลย นะครับ แล้วก็อันนึงที่พี่นกพูดก็คือ เราบอกเป้าหมายเขา เราบอก Why เขาว่าอยากได้อะไรแล้วก็ปล่อยเขาไปทำ เราจะได้มีพื้นที่ให้เขาเล่น ได้ไอเดียใหม่ๆ จากเขา อันนี้ผมเห็นด้วยเลย คือเด็กรุ่นใหม่จริงๆ วิธีคิดเขาต่างจากเรามาก แล้วถ้าเอาที่เขาบอกมาแล้วเราเหมือนมาช่วยกันคิด มาช่วยกันตบต่อ เออจริงๆ ที่น้องพูดมามันก็น่าสนใจ แต่น้องอาจจะตกประเด็นนี้ เดี๋ยวพี่ช่วยเติมตรงนั้นตรงนี้ มันก็ต่อยอดไอเดียกันและกัน มันไม่ใช่เราถูกหรือน้องถูก หรือเราถูกหรือน้องต้องผิด จริงๆ เราถูกพร้อมกันได้แล้วเราก็มาช่วยกันคิดนะครับ

แล้วพี่นกก็ยังเสริมในมุมว่าเห้ย พอเขากลับมาด้วยไอเดียที่ดี เขาก็รู้สึกว่าเราให้ Trust เขา เราให้เขาทำต่อ เขาก็จะยิ่งอยากทำต่อ แต่ถ้าน้องคนไหนที่โอเคแหละ มันสุดความสามารถแล้ว มันเฟลจริงๆ ก็กลับมาคุยกันใหม่ว่ามันพลาดยังไง เริ่มต้นใหม่ ส่วนน้องคนไหนที่เรียกว่าบกพร่องเองก็เป็นเรื่องของการให้โอกาสที่ 2 คุยกันใหม่ว่ารอบหน้าไม่เอาแบบนี้นะ แล้วก็ทำให้เขาดีขึ้น

อย่างนี้อาจจะอยากถามพี่นกเพิ่มนิดนึงว่า ความผิดพลาดอะไรต่างๆ ของน้องๆ มันถูกผูกกับค่าตอบแทน (Compensation) รางวัล (Reward) มากน้อยแค่ไหนครับ เพราะผมสันนิษฐานเนอะว่าอุตสาหกรรมนี้ สมมติเราตั้งเป้าแคมเปญ 6.6 กำลังจะมา ปุ๊บ เราตั้งเป้าไว้เท่านี้ แต่จริงๆ ส่วนหนึ่งคือน้องๆ ก็ควบคุมไม่ได้นะ ตลาด คู่แข่ง แม่คงแม่ค้า มันอาจจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ได้ อย่างนี้พี่นกมองความผิดพลาดของน้อง แล้วก็ screen ในการตอบแทนน้องๆ ให้รางวัลน้องๆ ยังไงครับ

ค่ะ ความล้มเหลวหรือความสำเร็จเนี่ยไม่ได้ไปผูกกับผลประเมินขนาดนั้น เวลาเราประเมิน จริงๆ เราประเมินที่ตัวน้อง อย่างที่พี่บอก เวลาน้องมันเฟลเนี่ย มันเฟลแต่มันพยายามหรือเปล่า แล้ววิธีที่เขาฟื้นตัวกลับ (Bounce back) พยายามกลับมาแล้วทำใหม่มันเป็นยังไง เราดูตรงนั้นเขามากกว่า แม้แต่น้องที่ประสบความสำเร็จก็ไม่ได้หมายความว่าสำเร็จแล้วจะได้รางวัลนะ เพราะสำเร็จมันอาจจะมาจากปัจจัยนอกก็ได้ มันอาจจะ เห้ย น้อง จังหวะโคตรดีเลย ตลาดมันอย่างนี้พอดี น้องอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น ทำยังไงก็ขึ้น ทำยังไงมันก็ดี คือเราไม่ได้ไปผูกกับความล้มเหลวหรือความสำเร็จ แต่เราผูกกับตัว Performance ของตัวน้องเองว่าน้องได้พยายามแค่ไหน น้องได้ปรับปรุงตัวแค่ไหน น้องมีการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ไหม น้องเข้ากับคุณค่าหลัก (Core value) ของเราหรือเปล่า อะไรประมาณนี้มากกว่าค่ะ

เมื่อกี๊อีกอันที่ผมได้ยินคือ พี่นกดูพร้อมเลื่อนขั้นคนเร็วมากเลย พี่นกบอกว่าถ้าเราให้โอกาสเขาไปแล้วเขาทำมาแล้วสำเร็จก็พยายามดันเขาขึ้นมาเป็น Role Model ให้คนอื่นๆ ต่อ แล้วจริงๆ ผมรู้ว่า จริงๆ บริษัทพี่นก ช่วงแรกๆ พอเริ่มทำหลายอย่าง น้องช่วยทำเกมอยู่ก็โดดไปช่วยทำ Payment โดดกันไปทำนู่นทำนี่ พี่นกมองเรื่องการเสริมพลัง (Empower) คนรุ่นใหม่ยังไงครับ

คือผมว่าประสบการณ์มันก็มีคุณค่าของมันเนอะ คนทำงานมานาน มีความ Senior พร้อมละที่จะรับตำแหน่งผู้นำ แต่ในมุมพี่นกเรามีน้องๆ Manager เด็กๆ เยอะมาก มุมพี่นกอันนี้คิดยังไงครับ

ค่ะ ต้องบอกว่าจริงๆ พี่ชอบ คืออาจจะเป็นธรรมชาติของธุรกิจพี่ด้วยอะนะ เพราะเรากำลังทำอะไรที่คนไม่เคยทำ ดังนั้นช่วงที่สร้างบริษัทหรือสร้างทีม พี่ชอบทำงานกับคนที่ไม่มีประสบการณ์ด้วยซ้ำ เพราะว่าบางทีมีประสบการณ์มามันบล็อกความคิดบางอย่าง ใช่มั้ยคะ ดังนั้นมันอาจจะเพราะธรรมชาติของสิ่งที่เรากำลังจะทำแหละ แต่แน่นอน ในแต่ละตัวเราจะมีคนที่มีประสบการณ์มาประกบ อย่างเช่น ในแผนกอย่างกฎหมาย แผนกบัญชี อันนี้แน่นอน เราก็ต้องการคนที่มีประสบการณ์แต่เราก็จะมองว่าเขาพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆ หรือเปล่า เพราะประสบการณ์ที่เขาเคยทำบัญชีหรือกฎหมายมามันอาจจะไม่ใช่ธุรกิจที่เรากำลังสร้าง ธุรกิจที่เรากำลังสร้างมันอาจจะเป็นธุรกิจใหม่ๆ ดังนั้นเนี่ยเราก็จะมีคน 2 ส่วนแหละ แต่ส่วนคนที่สร้างธุรกิจขึ้นมา พี่มักจะเลือกน้องที่ไม่มีประสบการณ์ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เด็กๆ ก็ใช้คำว่าเด็กก็ไม่ถูก ก็ 20 กว่าๆ 25 คนที่ขึ้นมาเป็น Manager ที่เราพร้อมโปรโมตเขาเนี่ยก็จะเป็นคนที่เราเห็นแล้วว่า แน่นอน ฟิตกับบริษัท ทุ่มเท เต็มที่ คนที่โปรโมตขึ้นมาไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกคนนะ

เนี่ย ผมกำลังจะถามเลยว่าจะพิสูจน์ได้ยังไงว่าเขาเก่งแล้ว หรือจริงๆ พี่นกแค่เห็นศักยภาพ

เห็นเป็นศักยภาพมากกว่า ไม่ได้พิสูจน์ว่าทุกโปรเจกต์ที่ทำประสบความสำเร็จหมดเลยได้โปรโมต ไม่ใช่นะ แต่เป็นว่าโอเค มีสำเร็จมีเฟล แล้วเราเห็นแล้วว่าเวลาเขาเจอปัญหา เจออุปสรรค เขาปรับมันยังไง เขาปรับทัศนคติเขาได้ เขาพร้อมที่จะรับกับความท้าทาย แล้วเขาก็มีศักยภาพที่จะขึ้นมานำคนได้ คนกลุ่มนี้แหละเป็นคนกลุ่มที่พี่โปรโมตขึ้นมาเป็น Head ของแต่ละแผนก

ตอนนี้ Head ต่างๆ คนที่ดูธุรกิจ Garena ธุรกิจเกมให้พี่ ทั้งหมดตอนนี้อายุแค่ 30-31 คนที่ดูธุรกิจ Payment ให้พี่ทั้งหมดก็ประมาณนี้ 30 แล้วก็คนที่ดูฝั่ง E-commerce ที่เป็นขา Marketing Partnership ทั้งหมดก็เพิ่งจะประมาณ 30-31 แต่คนกลุ่มนี้อยู่กับพี่มาไม่ต่ำกว่า 6-7 ปี คือเราอยู่กับเขาตั้งแต่วันที่เขาอาจจะยังทำอะไรไม่เป็น แต่เขา share the same value, share the same purpose เจออะไรยากก็สร้างกันขึ้นมา แล้วเราเห็นศักยภาพ จนเขาขึ้นมาตอนนี้ช่วยดูแลธุรกิจหลักๆ ให้พี่ก็อายุประมาณนี้แหละ 30 32 ค่ะ

เมื่อกี๊พี่นกพูดเรื่องฟังเยอะๆ เป็นหนึ่งเรื่องที่พูดง่าย แต่ถ้าเราไปถามผู้นำคนไหนว่าอยากทำตัวเองให้ดีขึ้นยังไง ทุกคนก็จะบอกว่าอยากฟังเยอะขึ้น พี่นกมีเทคนิค มีอะไรอยากแชร์ไหมว่าทำยังไงให้เราฟังได้

คือต้องบอกว่าผู้นำหลายๆ ครั้ง เรามีคำตอบพร้อมแล้วอะ น้องยังไม่ทันอ้าปาก จริงๆ เราก็มีคำตอบพร้อมจะใส่รัวน้องเข้าไปละ พี่น้องต้องฝึกยังไง คือผมก็แอบไปคุยกับน้องๆ มาหลายคน ทุกคนก็จะชมพี่นกในมุมนี้นะว่า พี่นก Empathize พี่นกพยายามเข้าใจ พยายามฟัง เลยอยากให้พี่นกลองแชร์นิดนึงครับ

ช่วงแรกจริงๆ ต้องบอกว่ากัดฟันมาก กัดแบบ จิกตัวเองเลยอะ ต้องฟัง ต้องฟัง คือเราไม่รู้ด้วยไง อาจจะเพราะว่าตอนเริ่มต้นของการเข้ามาที่นี่ พี่ก็ไม่ได้เป็นคนที่รู้เรื่องธุรกิจเกมขนาดนั้น แต่ในฐานะวิศวะเราก็จะมีข้อสันนิษฐานในหัว มันน่าจะอย่างนี้ๆๆ แหละ ใช่ป่ะ มันควรจะเป็นแบบนี้ตามประสบการณ์ เราบอกว่ามันควรจะเป็นอย่างนี้ ดังนั้นช่วงแรกๆ พูดตรงๆ เลย อดทนมาก จิกตัวเองเลยนะ บางทีฟังน้องแล้วเริ่มจิก อย่าเพิ่งพูด ฟังให้จบก่อน ฟังน้องให้จบก่อน

แล้วพอมันฟังเนี่ย แน่นอน ช่วงเริ่มต้นของการทำงานกับน้องๆ น้องมันก็ไม่ได้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพขนาดนั้นหรอก น้องบางคนแบบ

ไม่กล้า งานยังไม่เสร็จจะมาพูดอะไรดี

ไม่กล้าบ้าง อ้อมโลก จนเราก็ต้องค่อยๆ จูนกันไป พอเราเหมือนกับเตือนตัวเองว่าแบบ อย่าเพิ่งด่วนสรุป อย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งที่คิดมันถูกต้อง ตอนแรกๆ มันยากมากเลยเพราะด้วยสิ่งที่ประสบการณ์มันสอนเรามาแบบนี้ แต่พอเรามีประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ว่าพอเราฟังแล้วเราได้อะไรจากการฟังอะ เราได้ประโยชน์จากน้องยังไง เราจะเริ่มรู้สึกว่าเออ ฟัง เพราะยิ่งฟังยิ่งได้ ยิ่งฟังยิ่งเข้าใจ ยิ่งฟังมันทำให้เรา ตอนสรุปสุดท้ายของเรามันครบลูป ครบองค์มากกว่า

พี่ก็เคยแบบ ฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง แล้วเราก็ตัดสินใจอะไรไป แล้วมันก็ไม่ใช่ ประสบการณ์มันก็ค่อยๆ สอนเราเหมือนกัน มันใช้เวลาเหมือนกัน ค่อยๆ เตือนตัวเอง แต่สุดท้ายเนี่ยเราจะเริ่มเห็นประโยชน์จากมันแล้วก็จะเริ่มรู้สึกว่าฟังอะดีที่สุด

เท่าที่ผมฟัง พี่นกให้เวลากับน้องๆ ในทีมเยอะมาก พี่นก one-on-one (คุยตัวต่อตัว) หรือว่ากินข้าวกับน้องๆ อะไรเยอะแค่ไหนยังไงครับ

อืม ต้องบอกว่าตอนช่วงสร้างบริษัทเนี่ยถี่มาก บ่อยมาก พี่คุยกับน้องกับน้องทุกวัน เป็นกิจวัตรประจำวัน มันสำคัญมาก ซึ่งพอใช้เวลาด้วยกันเยอะๆ มันก็รู้จักกัน มันจูนกันเร็ว มันก็มีความไว้ใจใช่มั้ยคะ ตอนนี้ด้วยไซส์ของธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น แน่นอนพี่คงไม่สามารถไปอย่างนั้นกับน้องทุกคนได้ ตอนนี้สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือ ก็จะมีน้องที่เป็นคีย์หลักนี่แหละที่เราจะคุยกับเขาบ่อยๆ บางทีถ้าช่วงโควิด ลำบากนิดนึงเหมือนกันเพราะมันเจอหน้ากันไม่ได้ มันก็ใช้วิธี แต่ดีอย่างคือเราจูนกันมาเรียบร้อยแล้ว คือถ้าต้องมาจูนกันช่วงโควิดเนี่ยจะท้าทายมากเลย เพราะมันไม่เจอหน้าด้วย

ก็ใช้วิธีนี้แหละค่ะ มีการสื่อสารกันเรื่อยๆ มี Communicate มี SEA Talk สื่อสารกัน แล้วพอมันมีช่วงปลดล็อกดาวน์บ้างก็เรียกมาทานข้าว เจอหน้าเจอตากันบ้าง พี่ก็ใช้วิธีนี้ในการติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ (Keep in touch) กับน้องๆ ในหลายๆ ส่วนค่ะ

อันนี้ถามเผื่อเลยนะครับ อย่าง SEA Thailand มีแผนว่าจะให้ทุกคนกลับเข้ามา หรือเราจะ Hybrid หรือเราจะยังไงครับ

จริงๆ ก่อนหน้านี้เราก็ Hybrid อยู่แล้วนะคะ คือเราไม่ได้เป็นประเภทที่ต้องมาตอกบัตรเช้าเย็นอยู่แล้ว แล้วเราก็เป็นแบบ พี่ก็ให้อิสระกับน้องแต่ละทีมอยู่แล้วว่าจัดการกันเอง สมมติวันนี้งานมันอยู่ข้างนอกก็ไปข้างนอกเลย เราก็ค่อนข้างฟรีสไตล์แบบนั้นอยู่แล้วค่ะ แต่ว่าตอนนี้เนี่ยพอมันมีสถานการณ์โควิดเกิดขึ้นเราก็ดูในแง่ของสถานที่ทำงาน เราก็จะลงพื้นที่ลงเพื่อความมีประสิทธิภาพในแง่ของต้นทุนมากขึ้น เพราะเราก็สามารถสับคนเข้าออกได้แล้วค่ะ ก็ศึกษาโมเดลนั้นอยู่ค่ะ

หลายคนชอบมาถามผมว่า ถ้าพนักงานที่อยู่ด้วยกันแล้วเนี่ย ทำงานทางไกล (Work Remote) ไม่ค่อยติด เราแค่พยักหน้า พิมพ์ข้อความสั้นๆ เราก็รู้เรื่องกันประมาณนึงแล้ว แต่กับคนใหม่ๆ on board คนใหม่ๆ ให้เขาสนิทกับทีมเรา ให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม อันนี้มันยากมากเลย

เมื่อกี๊เราอาจจะเน้นของความไว้วางใจ ทำให้น้องๆ เชื่อใจ ผมว่าอาจจะลองเปลี่ยนเกียร์ไป ในบริษัทเทคฯ เราก็จะคุยกันเรื่องตั้งเป้า 10X อยากจะมี Moonshot Goal พี่นกตั้งเป้าหรือกระตุ้นน้องๆ ยังไงให้เขาอยากจะไปกับเราครับ บางทีคนเขาได้ยินเป้าใหญ่ๆ เขาก็ ไหวมั้ย

จริงๆ เรามักจะตั้งเป้าเว่อๆ กันไว้อยู่แล้วอะค่ะ เราเคยคุยกันในกลุ่มของ Management team ว่า We need to dream big. (เราต้องฝันให้ใหญ่เข้าไว้) แล้วก็จะตั้งคำถามว่า do we dream big enough? can it be bigger? (เราฝันใหญ่พอหรือยัง ฝันใหญ่กว่านี้อีกได้ไหม) Let's set it bigger ตั้งใหญ่ๆ เว่อๆ ไปเลย ทุกคนก็จะพี่ครับ ใช่ครับ ผมได้ Goal มาแบบนี้แล้วก็จะหัวเราะแหะๆ ทุกคนก็จะหัวเราะ ตัวเลขมันดูเว่อ แต่สุดท้ายแล้วเนี่ยเราก็เกือบทำได้ทุกครั้ง ซึ่งพี่รู้สึกว่าพอมันทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ น้องมันจะเริ่มเห็นว่า เอ้า ที่มันดูเป็นไปไม่ได้ตอนแรก มันเป็นไปได้นี่หว่า ใช่ไหมคะ คือมันมีวิธี แต่ระหว่างทางแน่นอนในช่วงของการทำพี่ก็จะเออใช่ Goal มันดูท้าทาย มันดูใหญ่ ดังนั้นเรามาช่วยกันคิดดีกว่า จะทำอย่างนี้ให้ได้มันต้องทำอะไร มันเหมือนบังคับให้เราคิดมากกว่าเดิมทุกครั้งเพราะ Goal มันใหญ่กว่าที่เราตั้งไว้ตอนเริ่มต้น มันก็ช่วยๆ กันคิด

แน่นอน อย่างที่พี่บอก สำเร็จหรือไม่สำเร็จมันไม่ได้เชื่อมอยู่กับการประเมินผล พอเรามอบสิ่งที่เราพูดว่า เห้ย มันไม่ได้เกี่ยวว่าถ้าน้องทำไม่ได้ น้องคิดไม่ได้ น้องจะไม่ได้โปรโมตหรืออะไรก็ตาม น้องเขาก็เข้าใจแล้วค่ะว่าธรรมชาติของบริษัทมันเป็นแบบนี้ as long as you try your best (ตราบใดที่ทำเต็มที่แล้ว) ทำให้ดีที่สุดเนี่ยมันก็จะสามารถที่จะได้โปรโมตเหมือนกัน

เปลี่ยนเกียร์มาทางให้เคล็ดลับน้องๆ เด็กๆ รุ่นใหม่ อาจจะเริ่มจากพี่นกเล่าให้ฟังหน่อยว่าพี่นกชอบทำงานกับเด็กแบบไหนครับ ถ้าเลือกได้ สัมภาษณ์เข้ามา พี่นกอยากทำงานกับน้องแบบไหนครับ

พี่ชอบทำงานกับเด็กที่ดื้อๆ หน่อย เด็กที่มีความรั้นๆ นิดนึง มีความเป็นตัวของตัวเองระดับหนึ่ง ที่ตอนแรกดูเหมือนแบบว่าคุยกันแล้วเอ้ย เด็กคนนี้มันจะฟังเราไหม อารมณ์ประมาณนี้ คือถ้าเด็กมาแล้ว ค่ะ ค่ะ โอเคครับ เราจะรู้สึกแล้วว่า อืม ใช่หรือเปล่า เพราะจริงๆ เรากำลังต้องการคนที่มาช่วยเราคิด มาท้าทายเราในขณะเดียวกัน แต่ถ้าเกิดเด็กที่มาแบบโอ้โห อีโก้สูงมากๆ เนี่ยเราก็ต้องดูเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นพี่จะชอบเด็กที่แบบ มีความรั้นหน่อยๆ ดื้อนิดๆ แต่ว่ายังฟังเราบ้าง ซึ่งอันนี้มันสัมผัสได้ตอนสัมภาษณ์อยู่ละ เวลาทำงานด้วยกันพี่ก็จะโดนน้องท้าทายเหมือนกัน พี่นก ใช่หรือครับ ตอนนี้เป็นอย่างงี้อย่างงั้นนะ เราก็อ๋อหรอ แต่ที่พี่ทำมามันแบบนี้นะ แล้วมันมีดีเบตแบบนี้ มันทำให้การทำงานมันสดชื่น ไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว (one-way communication) ชั้นบอกไปแล้วเธอก็ไปทำ หรือถ้าเด็กที่แบบ อีโก้สูงมากๆ บอกไปไม่ทำเลยก็อาจจะไม่เวิร์คเหมือนกัน คือก็ต้องหาเด็กแนวๆ นี้อะค่ะ ชอบทำงานกับเด็กแนวๆ นี้

ผมชอบเหมือนกัน น้องๆ ในทีมผมชอบบอกว่า ต้องดื้อ ต้องเถียงกับพี่ คือถ้าไม่เถียงเราก็ไม่รู้หรอกว่าที่เราคิดมันครบถ้วนหรือเปล่า มาช่วยจิ้มๆ หน่อย คืออย่างมากเราก็ฟังแล้วเราก็แบบ พี่ยังมั่นใจว่าพี่ถูก Worst case คืออย่างนั้น ส่วนใหญ่มันมักจะเป็นแบบเออจริงๆ Solution เราก็แค่ปรับเข้ากับน้องนิดนึง จริงๆ มันก็ดีขึ้นเยอะ ดีครับ นี่เป็นโอกาสของเด็กดื้อแล้วนะครับ

รั้นนิดๆ ดื้อหน่อยๆ มีความเป็นตัวเองเนี่ย อือ ใช้ได้เลย

พี่นกเจอปัญหาอะไรกับการทำงานกับเด็กรุ่นใหม่ๆ บ้างไหมครับ ที่รู้สึกว่าหลังๆ มันเริ่มเห็นเป็นธีมซ้ำๆ ร่วมกันแล้วว่าเด็กรุ่นใหม่คิดแบบนี้แล้วเราเริ่มทำงานแบบเดิมของเรายากขึ้นแล้วเราต้องปรับเข้าหาเขาหรือให้เขาปรับเข้าหาเรา

อืม ความท้าทายของพี่อย่างหนึ่งคือบางทีตามเด็กไม่ทัน แล้วบางทีคำศัพท์ เด็กสมัยนี้มีคำศัพท์เฉพาะเยอะมาก ซึ่งพี่ต้องไปถามหลานพี่ เราเก็บเป็นคลังคำศัพท์เราไว้เลยอะ เดี๋ยวคุยแล้วไม่รู้เรื่องแล้วโอ้โห มนุษย์ป้า พี่ไม่อยากเป็นมนุษย์ป้า เพราะฉะนั้น น้องสมัยนี้ที่พี่รู้สึกเลยคือเขาเนี่ย แน่นอนเรื่องของความเป็นตัวของตัวเองเนี่ยมันมีสูง มันสูงมาซักพักแล้วล่ะ เรื่องของการสื่อสารที่มันมีความยากมากขึ้นเพราะว่าเขาเหมือนมีวิธีการสื่อสารใน Gen ของเขาแบบนึง ซึ่งถ้าเราไปฟังแรกๆ เราจะแบบ ไม่เกตอะ หมายความว่าอะไร พูดอะไร แปลว่าอะไร พอเราไม่เกตเนี่ยมันจะมีช่องว่างขึ้นมาทันที เขาคุยกับเราไม่รู้เรื่อง ซึ่งอันนี้มันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับตัวพี่แหละที่พี่ต้องปรับลงไปด้วย ปรับลงไปให้เข้ากับน้องให้ได้ว่าเห้ย โอเค แล้วน้องมันก็ต้องปรับเหมือนกัน ใช้คำศัพท์ที่มันง่ายขึ้นกับพี่เหมือนกัน พอเราพยายามปรับเขาก็จะพยายามปรับเข้าหาเรา อันนี้พี่ว่าอันที่หนึ่ง

อันที่สองคือพี่ว่า เด็ก Gen นี้ โดยเฉพาะที่กำลังจะจบๆ หรือเพิ่งจบเข้ามาเนี่ย เขาอยู่กับเทคโนโลยีมาเยอะ คือเขาโตมากับยุคดิจิทัลจริงๆ แล้วมันทำให้เรื่องของ Emotion เรื่องของอารมณ์ เรื่องของคนเขาน้อย น้อยแบบ น้อยลงไปเรื่อยๆ ที่พี่รู้สึกนะ น้อยลงไปเรื่อยๆ จนมันเป็นเรื่องที่เราต้อง on board เราต้องมีพูดเรื่องนี้กับน้องเลยอะ คือไม่ผิดนะ มันเป็นแค่วิธีการที่เขาโตมาแบบนี้

เหมือนเขาคุยกับคนเหมือนเขาตอบแชทอย่างนี้มะ

เหมือนตอบแชท เหมือนแบบ ทุกอย่างมันออนไลน์ แล้วยิ่งช่วงเด็กตรงนี้เป็นเด็กที่ ช่วงที่ก่อนจบเขาโควิดไป 2 ปีถูกป่ะ คือเขาชินกับการคุยทุกอย่างออนไลน์หมดเนี่ย ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับคนเนี่ยหายไป ทำให้การมีความสงสาร (Sympathy) ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ยิ่งไม่รู้ใหญ่เลย คือเหมือนกับเขาหายไป ค่อยๆ หายไปเยอะ อันนี้เราก็รู้สึกว่าเราเริ่มเห็นกับเด็กกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นจุดที่เราต้องไปสอนเขา อาจจะต้องใส่เร็วขึ้น

สุดท้ายคงจะเป็นเรื่องของ อันนี้อาจจะเป็นจุดร่วมกันของเด็กใหม่ ก็คือเรื่องของการที่อาจจะยังคิดไม่ครบลูป มองไม่ครบด้าน ซึ่งอันนี้พี่คิดว่ามันเป็นประสบการณ์ที่เราต้องค่อยๆ ใส่ให้เขา ให้เขามองให้มันครบด้านค่ะ

ดีครับ เดี๋ยวให้พี่นกอาจจะให้คำแนะนำน้องๆ ได้มั้ย ผมว่าตอนนี้การแข่งขันสูง หลายคนอยากได้งานดีๆ ผมเห็นน้องๆ สมัยนี้ ทุกคนมีเป้าที่ทะเยอทะยานมากเลย อยากทำบริษัทใหญ่ๆ อยากประสบความสำเร็จในชีวิต พี่นกมีคำแนะนำอะไรให้น้องๆ รุ่นใหม่ๆ บ้างครับ

ค่ะ คืออย่างที่พี่พูดไปตอนเริ่มต้นนะ พี่คิดว่าอายุ 20 ต้นๆ มันเป็นช่วงของการลงทุน มันเป็นช่วงของการเรียนรู้ แน่นอนค่ะ น้องควรจะขวนขวายหาสิ่งที่น้องอยากได้ สิ่งที่ใช่ แต่ถ้ามันไม่ได้มาแล้วมันไม่ใช่ อะไรที่อยู่ตรงหน้าเนี่ย คว้าไว้ก่อน แล้วทำมันให้ดีที่สุด อย่าเพิ่งเกี่ยงงาน อย่าเพิ่งเลือกงาน เพราะจริงๆ แล้วเราไม่รู้หรอกว่าจริงๆ สิ่งที่เราคิดว่าเราชอบ สิ่งที่เราคิดว่าเราใช่เนี่ยมันใช่จริงหรือเปล่า

ถ้าไม่อย่างนั้นพี่นกก็น่าจะเป็นวิศวกรอยู่ ใช่ไหม

ใช่ คืออันนี้ประสบการณ์ตรงเลย บางทีเราคิดว่าใช่ละ เราคิดว่าเรารู้แล้วอะ มันอาจจะไม่ใช่ก็ได้นะ ดังนั้นถ้ามันมีโอกาสก็โอบรับโอกาส (embrace the opportunity) ที่มันเข้ามา แล้วทำอย่างให้มันเต็มที่ เพราะว่าสุดท้ายแล้วเนี่ยพี่เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดี หรือประสบการณ์ที่ไม่ดี ใช่ ตรงกับสิ่งที่น้องชอบหรือไม่ชอบก็ตามเนี่ย มันคือจุดจุดนึงในชีวิตน้องที่น้องเก็บไว้ พอดีพี่เชื่อในคอนเซปต์ของ Connecting the dots ของ Steve Jobs มากๆ น้องอย่าพยายาม Connect the dots moving forward เลย อย่าไปคิดว่าชีวิตต้อง 1 2 3 4 แล้วเดินไปแบบนั้น เพราะมันยากมาก ชีวิตมันสุดท้ายแล้วเนี่ย น้องจะมีจุดในชีวิตหลายๆ จุด แล้วพอน้องมองย้อนกลับมาน้องจะเห็นเองแหละว่า ไอจุดนี้กับจุดนี้มันเชื่อมกันแล้วมันผลักเราไปข้างหน้ายังไง ดังนั้นเนี่ยพี่คิดว่าช่วง 20-30 เนี่ยมันเป็นช่วงที่ต้องสะสมจุด เก็บจุด เก็บประสบการณ์ให้เยอะที่สุด อะไรที่เข้ามาเราทำเต็มที่กับมัน ดีไม่ดีมันสอนทุกอย่างเราอยู่แล้ว สุดท้ายทั้งหมดมันจะหลอมรวมเป็นตัวน้อง แล้วก็จะผลักดันให้น้องเติบโตไปในทิศทางของน้องเองในอนาคตค่ะ

ดีมากๆ ครับผม วันนี้เชื่อว่าทุกๆ ท่านน่าจะได้รับฟังทั้งในเรื่องของการบริหารองค์กร รวมไปถึงคนทำงานว่าจริงๆ แล้วองค์กรใหญ่ๆ อย่าง SEA Thailand อยากได้คนแบบไหน คนแบบไหนที่มีโอกาสเติบโตในสายงานในธุรกิจเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว วันนี้ขอบคุณพี่นกมากๆ เลยนะครับที่ให้เกียรติกับรายการของเรานะครับ

ยินดีค่ะ

แล้วก็เดี๋ยวพวกเราพบกันใหม่กับ Chief's Table ในตอนหน้าครับผม วันนี้สวัสดีครับ

อ่านเพิ่ม
Transcript

เจอปัญหาอะไรกับการทำงานกับเด็กรุ่นใหม่ๆ บ้างไหมครับ เด็กรุ่นใหม่มักจะคิดแบบนี้ เราเริ่มทำงานแบบเดิมของเรายากขึ้น เราต้องปรับเข้าหาเขา หรือเขาปรับเข้าหาเรา

น้อง Gen นี้นะ Genใหม่ Gen Z เขาอยากรู้อยู่แล้วว่างานที่เขาทำมี ผลกระทบ (Impact) อะไร มันส่งผลยังไงกับบริษัท ถ้าเราไม่อธิบายไม่บอกเขาเลย ซักพักเขาก็จะ ทำทำไมอะ

เราไม่ได้ไปผูกกับความล้มเหลว (Failure) หรือ ความสำเร็จ (Success) เราผูกกับตัวผลงาน (Performance) ของน้องเอง ไม่ได้พิสูจน์ว่า ทุกโปรเจกต์ที่ทำมาประสบความสำเร็จหมดเลยได้เลื่อนขั้น (Promote) ไม่ใช่นะ โอเค มีสำเร็จ มีล้มเหลว แล้วเราเห็นแล้วว่าเวลาเขาเจอปัญหา เจออุปสรรค เขาปรับทัศนคติ (Mindset) เขาได้ เขาพร้อมที่จะรับกับความท้าทาย (Challenge) และเขามีศักยภาพ (Potential) ที่จะขึ้นมานำ (Lead) คนได้ คนกลุ่มนี้แหละเป็นคนกลุ่มที่พี่เลื่อนขั้นให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าแต่ละแผนก Head ต่างๆ คนที่ดูธุรกิจ Garena ธุรกิจเกมให้พี่ ทั้งหมดตอนนี้อายุแค่ 30-31

ในบริษัท Tech เราก็จะคุยกันเรื่องตั้งเป้า 10X อยากจะมี Moonshot Goal กระตุ้นน้องๆ ยังไงให้เขาอยากไปกับเรา

วันนี้รายการ Chief's Table ของเรา ได้รับเกียรติอย่างมากๆ เลยจาก CEO ของบริษัท SEA Thailand พี่นก มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ เราจะมาคุยกันถึงเคล็ดลับการบริหารงาน ทำยังไงให้องค์กรอย่าง SEA Thailand ที่เป็นหนึ่งในองค์กรที่เรียกได้ว่าวัยรุ่นยุคใหม่อยากทำงานด้วยมากๆ ส่วนน้องๆ คนไหนที่มาฟังวันนี้เราก็จะได้ประสบการณ์ของบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กร (Culture) ที่ดีที่ให้พวกเราเติบโตได้ วันนี้ยินดีต้อนรับพี่นกครับ สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะน้องต้า สวัสดีค่ะ

ครับผม วันนี้เดี๋ยวเรามาคุยกันสบายๆ อยากให้พี่นกมาแชร์ให้น้องๆ ทุกคนได้ฟังว่าทำงานที่ Shopee เป็นยังไง รวมไปถึงผู้บริหารหลายคนที่แอบมาฟังว่าทำยังไงให้องค์กรของเราน่าทำงาน ให้วัยรุ่นอยากมาทำงานกับพวกเราบ้าง

ก่อนอื่นอาจจะเริ่มง่ายๆ ก่อน ให้พี่นกลองเล่าประวัติพี่นกให้ฟังว่าเส้นทางจากวิศวกรมาจนเป็น CEO บริษัทที่ยิ่งใหญ่ตอนนี้ พี่นกทำอะไรมาบ้างครับ

ได้ค่ะ พี่จบวิศวะ จุฬาเนอะ เราก็วิศวะ จุฬาเหมือนกันนะคะ เรียน IE (Industrial Engineering) วิศวอุตสาหการ ตอนจบมาพี่ว่าพี่ก็เหมือนเด็กวิศวะทั่วไป พี่ก็ไปทำงานสายวิศวะเลย พี่ก็ไปทำงานในโรงงานตอนนั้นเป็นโรงงานผลิตเพชรพลอย ทำไปได้ประมาณปีนึงก็จับพลัดจับผลูได้ย้ายไปทำสายการตลาด มันก็เหมือนเปิดหูเปิดตา เหมือนเด็กวิศวะที่เราเคยอยู่ในโลกวิศวะ เราก็ อ๋อ การตลาดเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ทำให้เรารู้สึกว่าโลกมันกว้างกว่าที่เราคิด ไปเรียนต่อเลยเลือกที่จะไปเรียนต่อด้าน MBA ไปเรียนที่ Stanford ที่อเมริกามา

จบมาก็มาทำสายตรง โรงงานผลิตต่ออีกซักพักหนึ่งแล้วก็เริ่มขยับไปทำ IB (Investment Banking) ซึ่งบอกได้เลยว่าไม่มีอะไรผิดนะ แต่พี่แค่ไม่ชอบ ทำได้ประมาณปีนึงรู้สึกมันไม่ใช่เรา เลยไปทำงานที่ปรึกษา (Consult) ที่บริษัท BCG อยู่ไปประมาณ 6 ปี ในช่วงที่ทำ BCG ตอนนั้นมีเดินทางในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่แหละ ไปเจอ Forrest ที่เป็นผู้ก่อตั้ง (Founder) ของ SEA ตอนนั้นคือ Garena เป็นเพื่อนกันที่ Stanford ตอนนั้นเขาก็เริ่มสร้างธุรกิจ Garena แล้ว เขาก็บอกว่าถ้าวันหนึ่งเขาอยากจะเข้ามาทำตลาดเมืองไทยก็อยากให้เรามาช่วยดูช่วยขยาย ตอนที่เขาเริ่มเข้ามาปี 2012 พี่ก็ยังเป็นที่ปรึกษาอยู่ ก็ช่วยเขาในแง่การไปหาบริษัทเข้ามา ช่วยเขา setting ทำตัวเป็นที่ปรึกษานอกองค์กร (External Consultant) ค่อยเข้ามาทำประจำตอนปี 2014 หลังจากนั้นก็ช่วยสร้างธุรกิจกันขึ้นมาแล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น SEA ประเทศไทยค่ะ

ครับผม มีจุดเปลี่ยนหลายอย่างมาก จากวิศวกรไปเป็นนักการตลาด (Marketer) คิดยังไงครับตอนนั้น

ตอนแรกที่เขาบอกให้ไปทำงานสายการตลาดพี่ก็เกือบลาออก

เหมือนหัวหน้าเป็นคนขอให้ไป

ใช่

เขาเห็นอะไรในตัวพี่นกหรอครับ

มันก็คงสถานการณ์ตอนนั้นบริษัทเขาคงกำลังหาคนเข้าแผนกการตลาด เขาคงมองข้างในก่อนแล้วก็คงเห็นเราเป็นเด็กผู้หญิงไปอยู่ในโรงงาน ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่าไลน์การผลิตมันทำงานหนักมาก พี่ทำงาน 6 วันต่ออาทิตย์ จริงๆ วันอาทิตย์ก็ทำ แล้วก็ทำลากตั้งแต่ 9 โมงเช้ายัน 4-5 ทุ่มเที่ยงคืน เพราะจริงๆ โรงงานผลิตตลอด 24 ชั่วโมง เขาก็คงมองว่าผู้หญิงอยู่ในโรงงานแบบนี้อาจจะไม่เหมาะ น่าจะมาทำการตลาดดู เขาก็คงมองว่าเออ เราอาจจะพอทำได้ อาจจะพอเรียนรู้ได้ แต่สำหรับพี่ตอนนั้นมันเหมือนทิ้งความฝันของการเป็นวิศวะ เพราะพี่อยากเป็น พี่รู้ตัวว่าพี่อยากเรียน อยากเป็นวิศวะตั้งแต่ม.1 ตั้งแต่ม.ต้นเลยพี่ใฝ่ฝันมาก มันก็เลยเหมือน เฮ้ย จะให้เราทิ้งสิ่งที่เราอยากเป็นหรอ

แต่อันนึง พอเราได้คุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเขาก็บอกว่า ก็ไปลองดูไม่เห็นเสียหาย ถ้ามันไม่ใช่ก็ค่อยว่ากัน พี่ก็รู้สึกว่าเออ ก็ได้มั้ง เขาคงอะไรกับเราซักอย่าง คือเด็กวิศวะเอาไปทำการตลาด แล้วมันเป็นโรงงานผลิตเพชรพลอยส่งออกนอกนะ ดังนั้นหมายถึงการตลาดพี่ต้องคุยกับฝรั่ง คือสมัยนั้นพี่พิมพ์ดีดยังใช้นิ้วจิ้มๆ เราก็เลย เอาวะ ถ้าเขาทนกับเราได้เราก็ไปลองดู เลยจับพลัดจับผลูไปทำตรงนั้นได้เกือบ 3 ปีเหมือนกัน ก็ได้เรียนรู้ พี่ว่ามันก็เป็นการเปิดหูเปิดตามากๆ เป็นการเปลี่ยนมุมมองกับอาชีพ กับสิ่งที่เราอยากเป็น แล้วเราก็รู้สึกว่าจริงๆ เรียนวิศวะมาก็ไม่ได้จำเป็นต้องทำสายวิศวะจ๋าขนาดนั้นก็ได้ เรายังสามารถเอาสิ่งที่เราเรียน adapt และใช้กับอย่างอื่นได้

ครับ ดีมากเลย เมื่อกี๊พี่นกหลุดเปรยออกมาว่าพี่นกทำงานหนักมากตอนเป็นวิศวกร 6 วัน บางที 7 วัน 9 โมงเช้าถึง 3-4 ทุ่ม

ตอนทำการตลาดก็ยังเป็นแบบนั้น

พี่นกเป็นคนทำงานหนักมาแต่ไหนแต่ไรอย่างนี้ไหมครับ

อืม

อาจจะให้พี่นกลองเล่าให้ฟังว่าพี่นกมีมุมมองเกี่ยวกับการทำงานหนักยังไงดีไหม เพราะผมว่าเด็กๆ สมัยนี้บางทีอย่างพวกเราเวลาสัมภาษณ์งาน เดี๋ยวนี้เด็กเขาก็จะเริ่มละ ที่นี่ปกติเขาเริ่มงานกันกี่โมง ชั่วโมงการทำงาน (Working Hour) ยังไง อยากมี Work-Life Balance ที่ดี

จริงๆ คือมันเป็นงานแรกนะอันนั้นน่ะ พูดตรงๆ ว่าเราก็เด็กจบใหม่ เราไม่ได้มีความรู้ขนาดนั้นหรอกว่าบริษัทจริงๆ เขาต้องทำงานกันแบบไหน แต่เราก็เข้าไปด้วยความรู้สึกแค่ว่า เขาให้เราลองทำอะไรเราก็ทำ ถ้าเกิดมันทำงานแบบนี้แล้วมันได้ผล เรารู้สึกสนุกกับมันเราก็ทำไป ทำงาน 100 ชม. ต่ออาทิตย์คือเรื่องปกติ ซึ่งพี่มองว่า สำหรับพี่นะ ตอนนั้นมันทำไหวไง เพราะว่ามันเด็กจบใหม่ เรากำลังเฟรชๆ น้องๆ ที่ฟังอยู่ พี่คิดว่านะ น้องกำลังมีแรงอะ น้องจะมาทำ 100 ชม. ต่ออาทิตย์ตอนอายุเท่าพี่อาจจะไม่ไหว ดังนั้นพี่มองว่าการทำงานหนักมันสอนเราหลายอย่างมากเลย มันสอนให้พี่อึด ถึก ทน อันแรกเลยนะ อันที่หนึ่ง เจออะไรเราก็เหมือนไม่ยอมแพ้ง่ายๆ

เรื่องของประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning Curve) พี่คิดว่าพอเราใส่ให้เยอะ เราก็ได้เยอะกลับมา มันทำให้เรารู้จักการทำงานกับคน การทำงานกับคนหลายๆ แบบมากๆ เลยนะ พี่ทำงานในโรงงานพี่ก็ทำกับกลุ่มคนฝ่ายผลิต พี่ไปทำการตลาด พี่ไปเจอลูกค้าระดับ Wallmart QVC เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ละ มันก็มีแบรนด์ใหญ่ๆ ระดับอเมริกาขึ้นมาเยอะแยะ แต่สมัยนั้นมันดังมาก ทำให้พี่ได้สมผัสคนหลากหลาย แล้วพอเราใส่ไปเยอะ เราได้เยอะจริงๆ ซึ่งพี่มองว่าสำหรับน้องๆ ช่วงอายุ 20 ต้นๆ จนถึง 30 พี่มองว่ามันเป็นช่วงเวลาในการลงทุน (Investment Phrase) นะ ถ้าเรามองมันคือการลงทุน มันคือการลงทุน ลงแรง ใช้เวลาของเรานี่แหละลงทุนไปให้ได้ผลตอบแทน คืออะไร ประสบการณ์ ได้เรียนรู้ ได้ความรู้ เปิดหูเปิดตา แล้วเราเอามาต่อยอดตอนเราอายุ 30 ขึ้นไป ต่อไปเราจะรู้แล้วว่าประสบการณ์ที่เราสะสมมาเราเอาไปทำอะไรต่อได้

ถ้าให้พี่นกเล่าซัก 1 อย่าง อะไรที่ได้เรียนรู้ตอนไปทำงานที่โรงงานแล้วทุกวันนี้รู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับการเป็น CEO SEA Thailand ของพี่นกมากๆ

ค่ะ ถ้าให้นึกอย่างนึงพี่คิดว่ามันคือ ตอนที่พี่ทำงานในโรงงานหรือตอนที่ทำการตลาด พี่สัมผัสกับคนเยอะมาก ซึ่งอันนี้มันทำให้พี่เรียนรู้ในการรู้จักอ่านคน รู้จักเข้าใจคนและเห็นอกเห็นใจคน พอเราทำอะไรที่มันลงมือทำจริง (hands-on) มากๆ ในระดับที่เป็นงานด้านหน้า (Front line) แล้วเนี่ย การผลิตหรืออะไรก็ตาม คนที่อยู่หน้างานจริงๆ เราจะเห็นเลยว่างานมันเป็นแบบไหน งานมันเป็นแบบไหน งานมันน่าเบื่อมั้ย กระบวนการมันเป็นยังไง พอเราไปเจออย่างนั้นเยอะๆ ทำให้ทุกวันนี้พี่รู้สึกว่าพี่ต้องจัดการกระบวนการอะไรซักอย่าง พี่จะคิดถึงเรื่องคนขึ้นมาก่อน เพราะพี่คิดว่าอะไรก็ตามที่เรากำลังจะคิดจะทำมันมีผลกระทบอะไรกับคนบ้าง เรากำลังทำให้ชีวิตเขาเป็นยังไง น้องในบริษัท เราจัดการ เราวางระบบอย่างนี้ น้องในบริษัทจะรู้สึกยังไง เหมือนเราเอาตัวเองว่าถ้าไปนั่งตรงจุดนั้นเพราะเหมือนเราเคยผ่านจุดนั้นมาแล้ว ทำยังไงให้ชีวิตเขาดีกว่านั้นได้ไหม สบายกว่านั้นได้ไหม รวมไปถึงเวลาที่เราออกแบบตัว Product ของเราก็เช่นกัน เราก็จะคิดถึงคนมากขึ้นเพราะเราสัมผัสตรงนั้นมาพอสมควรค่ะ

ดีมากๆ เลย ผมเห็นด้วยมากๆ ผมมีโอกาสคุยกับน้องๆ สมัยนี้หลายคน พอจบมาทุกคนอยากทำงานวางกลยุทธ์ วางแผนธุรกิจ ซึ่งในมุมพวกเราเราก็จะบอกว่า ไปลองทำ Operation ก่อน ถ้าคุณไม่รู้ว่าแผนที่ออกแบบมาสุดท้ายมันทำง่ายทำยากยังไง จริงๆ แล้วมันเหนื่อยคนข้างล่าง เห็นด้วยกับพี่นกมากๆ เลย

เมื่อกี๊พี่นกแตะมาแล้วเรื่องเข้าใจคน หลังๆ ต้องบอกว่า SEA Thailand มีธุรกิจเยอะมาก E-commerce เกม Payment แต่พี่นกลองเล่าให้ฟังหน่อยว่าตลอดเส้นทางที่ผ่านมา SEA Thailand ได้สร้างผลกระทบอะไรให้ชีวิตคนไทยมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอาจจะต้องบอกว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมาครับ

ค่ะ ตัวผลิตภัณฑ์ของเรามันเป็นแอพพลิเคชั่น คือการเอาเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ชีวิตของคนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งตรงนี้มันเป็นภารกิจ (Mission) ของบริษัทเลย คือ Better the lives of the consumers กับ SME มันคือโจทย์แรกที่เราตั้งมาอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2014

ก็คือตั้งแต่ 2014 เราตั้งมาแล้ว

2014 เราตั้งโจทย์นี้ไว้แล้วว่าทำยังไงดีที่จะเอาเทคโนโลยีมาทำให้ชีวิตคนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งตอนนั้นที่เราทำ ตอนแรกของพี่เป็นธุรกิจเกม Garena เราก็คิดง่ายๆ ก่อนว่าทำยังไงให้น้องที่เขาเล่นเกม เล่นเกมง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมไปถึงเรื่องการเติม (Top-up) เกม ใครที่เล่นเกมอยู่ก็จะรู้ว่า ไม่รู้สมัยนี้ทันหรือเปล่า ต้องเดินไปร้านข้างนอก ไปซื้อการ์ดมาแล้วค่อยๆ เติม น้องพยักหน้า คือเราก็มองว่าทำยังไงให้มันง่ายขึ้น น้องไม่ต้องหยุดเกม เพราะนั่นคือการ Disrupt Experience คือการทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมโดนกระทบ เราก็ใช้หลักการนี้ตลอด ทำธุรกิจ Payment ซึ่งเริ่มจากการเติมเกมก่อน แล้วเราก็ดูว่าเราขยายไปอะไรได้บ้าง เติมเงินมือถือ ไปแตะไลฟ์สไตล์ของคน จองตั๋วหนัง จองโรงแรม จองเครื่องบิน รวมถึงชำระใบเสร็จต่างๆ แล้วเราก็ย้อนมาต่อว่าแล้ว Payment คู่กับอะไร ก็คู่กับ E-commerce ก็คือช้อปปิ้งออนไลน์ แต่มันคือหลักการเดียวกัน เรามองว่าเทคโนโลยีมาทำให้ชีวิตคนง่ายขึ้น คนอยู่บ้านก็สามารถซื้อของได้

ปรากฎว่าตรงนี้เราเห็นความสำเร็จที่เมืองจีนมาอยู่แล้ว เราเห็นที่อื่นเขาทำกัน แต่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือเมืองไทยต้องบอกว่า ตอนที่เราเริ่มต้นตอน 2014-2015 คนรับไปใช้ (pick-up) ช้า คนยังไม่ค่อยมั่นใจกับเทคโนโลยี ยังไม่ค่อยมั่นใจว่าเอ๊ะ ให้ข้อมูล Credit Card ไป ชำระเงินออนไลน์มันใช่หรือเปล่า มันไปได้จริงเปล่า ซื้อของจะได้มาหรือเปล่า แต่โควิดเป็นเหมือนตัวเร่ง (Accelerator) เป็นตัวกระตุ้น (Catalyst) เอามาเร่งเลย เหมือนเร่งปฏิกิริยา ถ้าน้องที่เรียนเคมี เหมือนเร่งเลย มันเหมือนว่าทุกคนจำเป็นต้องใช้เพราะว่าออกจากบ้านไม่ได้ พยายามจะไม่สัมผัสเงินปุ๊บ ก็ต้องบอกว่าเทคโนโลยีเรามันตอบโจทย์มากๆ เลย พอช่วงโควิดมันทำให้เรา อันนึงเราก็รู้สึกไม่ดีนะที่โควิดมันเกิดขึ้น แต่ส่วนหนึ่งเราก็รู้สึกเหมือนกันว่าโควิดมันทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไปในทางที่เรารู้สึกว่าเราอยากให้มันเกิด คือความสะดวกสบาย ความอยากได้อะไรก็หาออนไลน์ ซื้อได้เลย สามารถส่งมาถึงบ้านได้ทันที

แล้วโควิดเนี่ย เรียกว่าระยะเวลาในการเกิดมันนาน มันสองปีกว่า มันนานเพียงพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ของคน ตอนแรกคนอาจจะโดนบังคับต้องใช้เพราะมันไปไหนไม่ได้ แต่มันใช้แบบ 6 เดือน ปีนึง ก็เริ่มคุ้นชิน มีความคุ้นชินเกิดขึ้น แล้วก็ทำให้ตรงนี้เขาเริ่มเห็นความสะดวก (Convenience) ของตรงนี้ หลังจากโควิดหรือตอนที่เราปลด Lockdown มาแล้วคนก็ยังใช้ต่อ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ การชำระเงินออนไลน์ รวมไปถึงการเล่นเกมเนี่ย กลายเป็นว่าไอที่บูมมากๆ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาคือยอดของคนที่ดูการแข่งขัน E-Sport เพราะว่ามันกลายเป็น Content Entertainment อีกแบบหนึ่ง ติดอยู่บ้านไม่รู้จะทำอะไร เล่นเกมอาจจะเล่นไม่เก่ง แต่ดูคนเล่นแล้วสนุก เหมือนเราเตะฟุตบอลไม่เก่งแต่มันก็สนุก เราก็จะเห็นว่าตรงนี้เนี่ย บริการของเราค่อนข้างที่จะมีผลกระทบและช่วยในชีวิตประจำวันของคนได้พอสมควรเลยทีเดียว

มีแผนอยากจะขยายไปไหนอีกไหมครับ เท่าที่ฟังแล้วพี่นกเหมือนต่อมาเรื่อยๆ เลยเนอะ เริ่มทำเกม คนอยากเติมเกมก็ทำ Payment พอมี Payment แล้วก็ช้อปปิ้งมั้ย อยากไปไหนอีกไหมครับ

อยากไปไหนอีกมั้ย ตอนนี้จริงๆ ที่ทำอยู่คิดว่าในแต่ละก้อนก็มีความท้าทายและมีโอกาสในตัวค่อนข้างหลากหลาย อย่างตัวธุรกิจเกมเราก็พยายามขยับต่อ ก่อนหน้านี้เราเป็นแค่ Publisher คือเอาเกมนำเข้าแล้วก็มาให้บริการอย่างเดียว เราก็ขยับไปเป็น Game Developer พัฒนาเกมเอง ซึ่ง Free Fire เป็นเกมแรกที่เราพัฒนาเองเต็มๆ ตอนนี้ในฝั่งของธุรกิจเกมเองเราก็พยายามขยับขยายในการพัฒนาเกมอื่นๆ เข้ามามากขึ้น

ตัวของ Shopee พี่คิดว่าในแง่ของ E-commerce มันมีอะไรที่ทำได้อีกมากมาย จริงๆ Shopee ตอนเริ่มต้นเป็น C2C คือเป็น Customer to customer แต่หลังจากนั้นเราก็ขยับมาเป็น B2C (Business to customer) เราก็เริ่มทำของ Fulfillment เราก็จะเริ่มเห็นว่า พอเราทำงานกับผู้ขาย (Seller) กับ ผู้ซื้อ (Buyer) เยอะๆ จะเริ่มเห็นความต้องการซื้อ (Demand) ละ เขาอยากได้อะไร โดยเฉพาะผู้ขายเมืองไทยที่เป็น SME เราช่วยให้เขาโตยังไงได้บ้าง เขาอาจจะมีศักยภาพแต่เขาจัดการไม่ได้

เราช่วยให้เขาโตเนอะ คนอยากซื้อ แต่เขาแพ็คของไม่ทัน

แพ็คของไม่ทัน ไม่รู้จะเอาของไปเก็บที่ไหน จะทำรายงาน (Report) ยังไง

ก็เลยเห็นปัญหาใหม่ๆ อีก ก็ไปได้อีก

ใช่ ตรงนี้เราก็เอาเรื่องของ Fulfillment เข้ามาช่วยจัดการ แน่นอนค่ะ เรื่องของตัว Payment บริการต่างๆ ที่เราสามารถจะทำให้มันสะดวกสบายมากขึ้น ตรงนี้พี่คิดว่าเราก็จะขยับขยายในแต่ละก้อนเข้าไปก่อนค่ะ

ครับ อันนี้ไม่แน่ใจพี่นกตอบได้แค่ไหน เวลาพูดถึงธุรกิจแบบ E-commerce หลายคนจะบอกว่า เอ้ย นี่มันธุรกิจขาดทุนนะ ใช้เงินเยอะ มันเผา (burn) เงินไปเรื่อยๆ เลย ในมุมพี่นกคิดยังไงครับ

พี่คิดว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของการลงทุนนะคะ แล้วก็จริงๆ คงมีจุดที่เราสามารถปรับโมเดลธุรกิจ (Business Model) ได้โดยที่ไม่กระทบกับผู้ใช้งาน หลายๆ ธุรกิจมีวิถีทางในการดำเนินธุรกิจไป แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องมั่นใจมากๆ ไม่ว่าเราจะปรับโมเดลธุรกิจเรายังไงเพื่อให้เราเริ่มทำกำไร (Break even) ก็ตาม คนที่ใช้งานไม่ว่าจะเป็นฝั่งของผู้ขายหรือผู้ซื้อเองก็จะต้องไม่โดนผลกระทบตรงนั้น

พี่นกเล่าแล้วทุกคนน่าจะเริ่มพอเห็นภาพว่าจริงๆ ธุรกิจมีความหลากหลายมากเลย ขยับไปเรื่อยๆ อันนึงที่พี่นกเกริ่นมาแล้วคือ พี่นกให้ความสำคัญกับเรื่องของคนมากเลย อาจจะให้พี่นกลองเล่าให้ฟังหน่อยว่าพี่นกสร้างทีมยังไง มันเหมือนธุรกิจแรกเนอะ ทำเกม มันเหมือนเราต้องการคนที่มีความสามารถ (capability) แบบนึงหรือเปล่า ต้องเป็นคนชอบเล่นเกม อยู่ดีๆ เราก็ไปทำ Payment พอ Payment เดี๋ยวมันก็จะเปิดอีกหลายประตูมาก ต้องรู้เรื่องกฎหมาย การเงิน การธนาคาร กระโดดมาทำ E-commerce เหมือนอีกโลกนึงเลย พี่นกสร้างทีมยังไง แล้วทำยังไงให้สุดท้ายเราสามารถเติบโตแข่งขันได้ตลอดเวลาครับ

ค่ะ ก็ต้องบอกว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ เลยเนอะ คือแบบว่า คิดธุรกิจ คิดกลยุทธ์อะไรมาถ้ามันปฏิบัติ (Execution) ไม่ได้มันไม่มีความหมายเลย ซึ่งใช่ค่ะ ตอนเริ่มต้นของการสร้างทีมมันมีความท้าทายมากๆ เลย ตอนที่พี่เข้ามาเริ่มธุรกิจเกมเนี่ยก็ต้องบอกว่าเราต้องพยายามปรับ คือน้องๆ ที่ชอบเล่นเกมอยู่ในวงการเกมก็จะมีความเป็นศิลปินมากๆ ระดับหนึ่ง เราจะทำยังไงที่จะปรับให้เขาใส่เรื่องกฎระเบียบลงไปบ้าง ใส่มากก็ไม่ได้ ถ้าใส่มากก็ไปบล็อกความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เขาอีก ใส่น้อยไปแล้วจะยังไง เพราะฉะนั้นตอนเริ่มต้นมันคือความท้าทายในการหาจุดสมดุล (Balance) ว่าเราจะสามารถสร้างธุรกิจไปยังไงโดยที่ธุรกิจที่เราทำต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มันต้องมีสนามเด็กเล่นให้น้องๆ สามารถวิ่งเล่นได้ แต่เราตีกรอบใหญ่ๆ หลวมๆ ไว้ให้เขา

ตรงนี้ก็ค่อนข้างท้าทาย แต่พี่คิดว่ามันคือการค่อยๆ หาคนที่ใช่เข้ามาร่วมทีมกับเราแล้วก็เรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะอันนึงเลยในทุกๆ ธุรกิจที่เราทำมาต้องบอกว่าตัวพี่เองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ เราไม่รู้หรอกว่า Payment online จะเป็นยังไง E-commerce online จะเป็นยังไง E-sport จะเป็นยังไง มันไม่มีใครรู้ แล้วมันมีความสวยงามของการที่ไม่รู้ เพราะมันไม่รู้เราก็แค่หาคนที่ เฮ้ย เราฝันเหมือนกัน แล้วเรามาช่วยกันสร้าง ไอสร้างมันจะสร้างผิดสร้างถูก ตรงนี้พี่คิดว่ามันอยู่ที่เรากับน้องด้วย เวลามันสร้างถูกมันดีอยู่แล้วล่ะ เพราะเวลามันสร้างถูกทุกคนก็แฮปปี้ เฉลิมฉลอง ปล่อยเกมมาทุกคนชอบหมดเลย แต่เกมมันก็มีเกมที่ปล่อยมาแล้วพัง ไม่มีคนชอบเหมือนกัน จังหวะนั้นเนี่ยน้องยังเชื่อในความฝัน เชื่อในสิ่งที่เราทำด้วยกันแล้วก็สร้างไปด้วยกันหรือเปล่า

อันนี้พี่ว่าเป็นจุดแรกที่สำคัญมาก หาคนที่ใช่ หาคนที่มีเป้าหมายร่วมกัน (share the same purpose) แล้วไปในทิศทางเดียวกัน ในแต่ละธุรกิจเลย ธุรกิจเกมก็แบบนี้ พอทำ Payment ก็เหมือนกัน ก็ต้องหาคนแบบนี้เหมือนกันว่า Payment online พอย้อนกลับไป 8 ปีที่แล้วมันไม่มีใครรู้เรื่องเลยนะ E-wallet คืออะไร พูดไปคนยังงงๆ ใช่ไหมคะ ก็เหมือนกัน เราก็ต้องหาคนที่อย่างน้อย share the same purpose ว่าเราเชื่อว่าเทคโนโลยีเอามาทำให้ชีวิตคนดีขึ้นได้ แล้วมาช่วยกันสร้าง มาช่วยกันขยายเครือข่าย (Network) สร้าง Ecosystem กัน

แต่ว่าไอความสวยงามในความไม่รู้เนี่ยมันก็มีความซับซ้อนอยู่ข้างใน เพราะว่าไอความไม่รู้ของพี่ตอนนี้มันเป็น 3 ก้อน ใช่มั้ยคะ ก้อนของเกม ก้อนของ Payment แล้วก็ก้อนของ E-commerce แล้วแต่ละก้อนเนี่ย อย่างที่เมื่อกี๊น้องต้าบอกเลย มันเอา เขาเรียกอะไรดี ต้องการคนคนละบุคลิกลักษณะ (Character) กัน คนเล่นเกม ทำเกม ก็จะแบบนึง คนทำ Payment Finance ก็จะแบบนึง

โห พวกบัญชี กฎหมาย นี่ต้องเป๊ะทุกตัว

ทุกอย่างต้องเป๊ะ Professional ทุกอย่างมันต้องมีกฎระเบียบที่ต้องตายตัวมาก E-commerce ก็อีกแบบนึง เพราะฉะนั้นเนี่ย งานของพี่นอกจากหาคนที่มีเป้าหมายร่วมกันแล้วเนี่ย เราก็ต้องดูว่าทำยังไงที่ไอสามก้อนนี้เขาจะดำเนินการต่อไปในตัวของเขาเองเนี่ย เขามีเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้นร่วมกัน (share the bigger goal) ที่มันมากไปกว่าก้อนที่เขามากกว่าที่เขาฝันกันเอง ใน 3 อันนี้มันก็เป็นหน้าที่เราในการที่จะทำให้น้องๆ เห็นว่า 3 ก้อน ต่างคนต่างมีเป้าหมายของตัวเองนะ ทั้ง 3 ก้อนนี้เราก็ไปในทางเดียวกัน มันก็เป็นหน้าที่ที่เราต้องสื่อสาร

การสื่อสาร การพูดคุย การอธิบาย พี่เชื่อว่ามันเป็นวิธีที่ใช่ เพราะน้องทุกคนเวลาเขาทำงาน เขาอยากรู้อยู่แล้วแหละว่า โดยเฉพาะน้อง Gen นี้นะ Gen ใหม่ Gen Z เนี่ย เขาอยากรู้อยู่แล้วว่างานที่เขาทำมันมีผลกระทบอะไร เขากำลังมอบ (Contribute) อะไร สิ่งที่เขาทำมันส่งผลยังไงกับบริษัท ถ้าเราไม่อธิบาย เราไม่บอกเขาเลย เราบอกแค่ว่าโอเค น้องทำงานนี้ไป จบ แต่เขาไม่รู้เลยไอที่เขาทำมันเป็นฟันเฟืองที่ไปสร้างไปหมุนอะไรใหญ่ๆ น้องมันก็จะทำแล้วซักพักน้องมันก็จะแบบ ทำทำไมอะ ทำไปเพื่ออะไร แล้วผมได้อะไร แล้วยังไงต่อ อะไรคือบทถัดไปของผม แต่ถ้าเราอธิบายแล้วเราเห็นว่า ที่น้องทำนะ กำลังส่งผลอย่างนี้ มันทำให้บริษัทเป็นอย่างนี้ น้องเขาจะเห็นภาพแล้วน้องเขาจะรู้ว่า ภูมิใจอะ กับงานที่มันอาจจะดูเหมือนเล็กแต่จริงๆ แล้วงานเล็กๆ นี่แหละต่อยอดให้มันเกิดผลใหญ่ๆ ขึ้นมาค่ะ

ดีมากๆ พี่นกบอกว่า เราวางเป้าหมายให้ชัดว่าธุรกิจเราอยากจะช่วยให้ชีวิตคนดีขึ้น เราก็หาคนที่ยึดถือคุณค่าร่วมกัน (Shared value) กับเรา เขาเชื่อในสิ่งเดียวกับเรา เขามีความฝันเล็กๆ ของเขา แต่ว่าเราทุกคนก็ยังวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน แล้วระหว่างที่เขาทำงานก็พยายามทำให้เขาเห็น Contribution ของเขาตลอดเวลาว่าสิ่งที่เขาทำอยู่มันกำลังตอบเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น ที่พวกเราไปด้วยกัน ดีมากๆ เลย

จริงๆ ผมแอบไปคุยกับน้องๆ พี่นกมาหลายคนว่าพี่นกเป็นยังไง แต่จริงๆ อยากให้พี่นกลองเล่าให้ฟังว่า คิดว่าถ้าผมไปเม้าท์กับน้องๆ ของพี่นกแล้ว พี่นกคิดว่าเขาจะมองว่าพี่นกเป็นผู้นำแบบไหนครับ

อืม พี่ว่าเขาน่าจะแบบ อันนี้ก็เดาเอานะ เขาคงน่าจะรู้สึกว่าพี่เป็นแม่ บางทีก็ใจดี บางทีก็ดุ อะไรแบบนี้ พี่คิดว่าพี่เป็นคนให้โอกาสคนอะ แล้วก็พร้อมที่จะให้อภัย ให้โอกาสที่ 2 กับน้องๆ แต่ก็เป็นแม่นะ คือประมาณว่าถ้าทำผิดมาก็ต้องโดนดุอะ แต่ถ้าทำดีมาก็คุยกัน ก็คอย cheer up คอยให้กำลังใจ

หลายๆ คนที่ทำงานกับพี่ส่วนใหญ่จะบอกว่าพี่ใจดี เหมือนกับว่าไม่เคยเห็นพี่ดุ แต่ว่าเขาก็จะบอกว่าก็อย่าทำให้พี่นกดุ เพราะถ้าพี่นกดุก็จะโหมดแม่มา โหมดของความเป็นแม่มา แม่มาแล้ว น่าจะอารมณ์ประมาณนั้น

ดีครับ ผมชอบที่พี่นกพูดว่ามันต้องมีทั้งโหมดใจดี แล้วก็ต้องมีทั้งโหมดดุเนอะ คือถ้าเราไม่ใจดีเขาก็จะกลัว ไม่เป็นตัวของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันเรามีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เนอะ ถ้าเกิดเราไม่ดุ ไม่ตักเตือนเขา ผมชอบพูดว่าไม่มีใครอยากเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่แพ้ (Losing team) เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ชนะ (Winning team) เราอยากเป็นทีมชนะ ฉะนั้นปกติเราเป็นโค้ชเป็นอะไรเราก็ต้องดุเนอะ พยายามเคี่ยวเข็ญให้ทุกคนเก่งขึ้นแล้วก็ไปด้วยกัน

ค่ะ ซึ่งพี่ว่าตรงนี้มันเป็นศิลปะนิดนึงด้วยเหมือนกันแหละว่าเราจะนำเขายังไง เราจะโค้ชเขายังไง แต่ในขณะเดียวกันให้เขาไม่กลัว แล้วเขาสามารถเข้ามาหา (Approach) แล้วบอกเราได้ เพราะอันที่พี่กลัวมากที่สุดก็คือว่า เวลามีปัญหาหรือมีอะไรแล้วไม่บอก อันนี้น่ากลัวที่สุดเลย ก็คือเหมือนปิดๆ ว่าเอ้ย อย่าบอกเลย บอกแล้วเดี๋ยวโดนด่า เดี๋ยวโดนดุ แต่เราก็พยายามที่จะเห้ย เราเปิดนะ บอกได้ แต่ว่าเวลาพี่ดุพี่ก็ดุด้วยเหตุผล แต่มีอะไรบอกนะ แล้วเราช่วยกันแก้ ซึ่งอันนี้พี่ว่ามันสำคัญมากเลยที่จะทำให้ทีมมันรันไปด้วยกันได้

ดีครับ ปกติเวลาคุยกับใคร คนชอบพูดเหมือนการใจดีการดุมันต้องเกิดขึ้นแยกกัน คนนี้เป็นหัวหน้าใจดีก็ใจดีอย่างเดียว คนนี้ดุก็ดุเอาๆ จริงๆ ผมว่าพี่นกทำให้ทุกคนเห็นว่ามันมีสองบุคลิกที่อยู่ในคนคนเดียวกันได้

จากที่พี่นกเล่า จริงๆ มันมีมุมนึงที่ผมได้ยินที่พี่นกพยายามทำให้น้องๆ ไม่กลัว ตอนนี้คำนึงที่เขาฮิตกันเยอะก็ ความไว้วางใจ (Trust) สร้าง ความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา (Psychological safety) ในที่ทำงานนะครับ พี่นกมีหลักตรงนี้ยังไงบ้างครับในการทำให้ทุกคนกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น จริงๆ ก่อนหน้านี้พี่นกพูดเรื่องของการกล้าทำผิด มันมีความไม่แน่นอนอยู่ในอุตสาหกรรมของเราสูงมากเลย พี่นกมีแนวคิดตรงนี้ยังไง มีเทคนิคยังไงครับ

อืม พี่ว่ามันเริ่มจากการฟังเยอะๆ คือพี่จะชอบฟังน้องๆ ก่อนว่าน้องเขาคิดอะไรยังไง หรือแม้กระทั่งวันแรกที่เราเพิ่งเจอหน้ากัน พี่ก็จะถาม ให้เล่าเรื่องของเขา เป็นยังไง เรียนอะไรมา ทำอะไร ชอบทำอะไร วันนี้ออกไปกินอะไร การคุยเรื่องที่มันดูธรรมดาเนี่ยแหละแต่มันทำให้รู้สึกว่าพี่รู้จักเขามากขึ้น แล้วมันเหมือนทลายกำแพงน้ำแข็ง (Breaking the ice) เนอะ คนเพิ่งรู้จักกัน แล้วการที่พี่ว่าเราเป็นผู้ใหญ่แต่เราพยายามที่จะไปรู้จักเขาอะ เขาจะรู้สึกว่าเออ คนนี้คุยได้นะ แต่ถ้าเราจะรอให้น้องมันมาคุยกับเราเนี่ยพี่ว่ายากมากเลย ดังนั้นเราก็ต้องเป็นคนเปิดก่อน

เหมือนความสำคัญมันไม่ใช่แค่หัวหน้ากับลูกน้องเนอะ พี่นกพยายามทำให้เหมือนเป็นเพื่อน Connection มันส่วนตัวมากกว่านั้น

ใช่ค่ะ ซึ่งตรงนี้พี่รู้สึกว่าพอมันเปิดแล้วเราฟังเขาเยอะๆ เนี่ย เขาจะรู้สึกว่าเขาคุยกับเราได้ มันอาจจะเป็นแค่ความรู้สึกสบาย สบายใจที่จะคุยด้วย เรื่องธรรมดาก่อน ยังไม่ต้องเรื่องงานนะ เรื่องธรรมดา พี่นกคุยเล่นได้ มีอะไรมาเล่าให้พี่นกฟังได้ พี่นกพร้อมที่จะรับฟัง คือพี่ต้องการพยายามสร้างตรงนั้นกับน้องๆ ขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นก็เข้าโหมดเรื่องของการทำงาน

พอการทำงาน เวลาเรามีโปรเจกต์มีอะไรขึ้นมา ส่วนใหญ่ที่พี่ทำก็คือ วางสโคปกว้างๆ หรือไม่ก็วางเป้าหมายว่าสุดท้ายพี่อยากได้อย่างนี้ น้องไปลองคิดมาว่าจะทำยังไงดีให้ได้แบบนี้ แล้วมันก็เป็นวิธีที่เราพยายามทำแบบนี้ (27:10?) ไปนะ น้องบางคนไม่ชอบก็มีนะ น้องบางคนเขาชอบวิธีที่บอกผมมาว่าต้องทำอะไร เพราะฉะนั้นจริงๆ บางคนที่อาจจะเข้ามาแล้วรู้สึกว่าเอ้ย จริงๆ มันไม่มีอะไร มันแค่อาจจะสไตล์ไม่เหมือนกัน แต่ที่นี่เราเป็นแบบนี้ คือเราประมาณว่า เห้ย น้องลองดู น้องลองคิดดู แล้วน้องมาคุยซิว่าน้องมีอะไร ที่พี่ทำอย่างนี้ อันนึงก็ปล่อยให้เขามีอิสระ เขาอยากทำอะไร น้องบางคนก็กลัวนะ แบบ ทำอะไรวะ คิดไม่ออก ถ้าคิดไม่ออกก็โอเค มานั่งใกล้ๆ กันนิดนึง แต่เราก็จะไม่บอกเขาว่าเราเคยทำอะไรมา แล้วไอแบบนี้สิ่งที่พี่ได้จากน้องก็คือ ไอเดียใหม่ๆ เพราะบางทีเหมือนเราก็เป็น Gen เก่า เราก็โตไปเรื่อยๆ เราก็จะคุ้นชินกับการทำงานแบบนึง แต่พอน้องมันเสนออีกแบบนึงว่าอ๋อ เออว่ะ เดี๋ยวนี้โลกมันเป็นแบบนี้ มันก็เป็นวิธีนึงในการที่ทำให้เราทันสมัย (up-to-date) ด้วยว่ามันกำลังเกิดอะไรขึ้น

แล้วน้องมันก็รู้สึกว่า พอมันพูดแล้วรู้สึกว่าเราซื้อไอเดีย น้องเขาได้ทำ พอเหมือนกับว่ามันได้ลงมือทำจริงๆ แล้วน้องได้ทำจริง ซึ่งถ้าทำดีก็ดีใช่ป่ะ โปรเจกต์ประสบความสำเร็จก็ให้รางวัล (Reward) กันไป แต่ว่าถ้าเวลาน้องเขาเฟลหรือโปรเจกต์มันไม่ประสบความสำเร็จ ไอเราในฐานะหัวหน้าต้องพูดคุย เราก็จะเปิดฟังอีกแหละว่า แล้วน้องคิดว่ายังไง ทำไมน้องถึงคิดว่ามันถึงไม่เป็นอย่างที่คิด น้องลองวิเคราะห์ซิ พี่อะฟังเยอะมากเลยนะ พี่ฟังเยอะมากเลยว่าแล้วน้องคิดว่ายังไง แล้วเราค่อยพูดว่าเราคิดว่ายังไง

ซึ่งพี่รู้สึกว่าพอมันอยู่ในวงจร (Loop) แบบนี้ไปเรื่อยๆ น้องมันจะรู้สึกว่าเห้ย โอเค เฟลได้ ถ้าเฟลพี่จะไม่โกรธเลยถ้าน้องเต็มที่แล้วมันเฟลเนี่ย โอเค โหยแต่ถ้าเกิดเรามา เอ่อ น้องก็ไม่ทำหนิ น้องไม่ได้เต็มที่กับมันจริงๆ งั้นเรามาลองกันใหม่มั้ย ทำไมน้องถึงคิดว่าอย่างนั้น ทำไมน้องถึงไม่เต็มที่กับมัน น้องชะล่าใจไปหรือเปล่า น้องไม่ได้เช็คเรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วเราก็ลองให้โอกาสครั้งที่ 2 (Second chance) ดู แล้วพี่ว่าพอมันเป็นอย่างนี้ แล้วมันมีเด็กที่ทำได้แล้วเขาก็โตขึ้นเรื่อยๆ มันก็กลายเป็น น้องกลุ่มนั้นก็จะกลายเป็นแบบอย่าง (Role Model) ที่ทำให้น้องกลุ่มใหม่ๆ เห็นว่าเห้ย นี่ไง พี่คนนี้เขาทำอย่างนี้ได้ บริษัทไว้วางใจให้เขาสร้างตัวเองขึ้นมาได้ น้องมันก็จะวนเข้ามาในวงจรนี้ พยายามที่จะสร้างตัวเองขึ้นไปค่ะ

ดีมากๆ เลย เริ่มจากเราก่อนเลยเนอะ ให้ความไว้วางใจเขาก่อนเลย นะครับ แล้วก็อันนึงที่พี่นกพูดก็คือ เราบอกเป้าหมายเขา เราบอก Why เขาว่าอยากได้อะไรแล้วก็ปล่อยเขาไปทำ เราจะได้มีพื้นที่ให้เขาเล่น ได้ไอเดียใหม่ๆ จากเขา อันนี้ผมเห็นด้วยเลย คือเด็กรุ่นใหม่จริงๆ วิธีคิดเขาต่างจากเรามาก แล้วถ้าเอาที่เขาบอกมาแล้วเราเหมือนมาช่วยกันคิด มาช่วยกันตบต่อ เออจริงๆ ที่น้องพูดมามันก็น่าสนใจ แต่น้องอาจจะตกประเด็นนี้ เดี๋ยวพี่ช่วยเติมตรงนั้นตรงนี้ มันก็ต่อยอดไอเดียกันและกัน มันไม่ใช่เราถูกหรือน้องถูก หรือเราถูกหรือน้องต้องผิด จริงๆ เราถูกพร้อมกันได้แล้วเราก็มาช่วยกันคิดนะครับ

แล้วพี่นกก็ยังเสริมในมุมว่าเห้ย พอเขากลับมาด้วยไอเดียที่ดี เขาก็รู้สึกว่าเราให้ Trust เขา เราให้เขาทำต่อ เขาก็จะยิ่งอยากทำต่อ แต่ถ้าน้องคนไหนที่โอเคแหละ มันสุดความสามารถแล้ว มันเฟลจริงๆ ก็กลับมาคุยกันใหม่ว่ามันพลาดยังไง เริ่มต้นใหม่ ส่วนน้องคนไหนที่เรียกว่าบกพร่องเองก็เป็นเรื่องของการให้โอกาสที่ 2 คุยกันใหม่ว่ารอบหน้าไม่เอาแบบนี้นะ แล้วก็ทำให้เขาดีขึ้น

อย่างนี้อาจจะอยากถามพี่นกเพิ่มนิดนึงว่า ความผิดพลาดอะไรต่างๆ ของน้องๆ มันถูกผูกกับค่าตอบแทน (Compensation) รางวัล (Reward) มากน้อยแค่ไหนครับ เพราะผมสันนิษฐานเนอะว่าอุตสาหกรรมนี้ สมมติเราตั้งเป้าแคมเปญ 6.6 กำลังจะมา ปุ๊บ เราตั้งเป้าไว้เท่านี้ แต่จริงๆ ส่วนหนึ่งคือน้องๆ ก็ควบคุมไม่ได้นะ ตลาด คู่แข่ง แม่คงแม่ค้า มันอาจจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ได้ อย่างนี้พี่นกมองความผิดพลาดของน้อง แล้วก็ screen ในการตอบแทนน้องๆ ให้รางวัลน้องๆ ยังไงครับ

ค่ะ ความล้มเหลวหรือความสำเร็จเนี่ยไม่ได้ไปผูกกับผลประเมินขนาดนั้น เวลาเราประเมิน จริงๆ เราประเมินที่ตัวน้อง อย่างที่พี่บอก เวลาน้องมันเฟลเนี่ย มันเฟลแต่มันพยายามหรือเปล่า แล้ววิธีที่เขาฟื้นตัวกลับ (Bounce back) พยายามกลับมาแล้วทำใหม่มันเป็นยังไง เราดูตรงนั้นเขามากกว่า แม้แต่น้องที่ประสบความสำเร็จก็ไม่ได้หมายความว่าสำเร็จแล้วจะได้รางวัลนะ เพราะสำเร็จมันอาจจะมาจากปัจจัยนอกก็ได้ มันอาจจะ เห้ย น้อง จังหวะโคตรดีเลย ตลาดมันอย่างนี้พอดี น้องอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น ทำยังไงก็ขึ้น ทำยังไงมันก็ดี คือเราไม่ได้ไปผูกกับความล้มเหลวหรือความสำเร็จ แต่เราผูกกับตัว Performance ของตัวน้องเองว่าน้องได้พยายามแค่ไหน น้องได้ปรับปรุงตัวแค่ไหน น้องมีการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ไหม น้องเข้ากับคุณค่าหลัก (Core value) ของเราหรือเปล่า อะไรประมาณนี้มากกว่าค่ะ

เมื่อกี๊อีกอันที่ผมได้ยินคือ พี่นกดูพร้อมเลื่อนขั้นคนเร็วมากเลย พี่นกบอกว่าถ้าเราให้โอกาสเขาไปแล้วเขาทำมาแล้วสำเร็จก็พยายามดันเขาขึ้นมาเป็น Role Model ให้คนอื่นๆ ต่อ แล้วจริงๆ ผมรู้ว่า จริงๆ บริษัทพี่นก ช่วงแรกๆ พอเริ่มทำหลายอย่าง น้องช่วยทำเกมอยู่ก็โดดไปช่วยทำ Payment โดดกันไปทำนู่นทำนี่ พี่นกมองเรื่องการเสริมพลัง (Empower) คนรุ่นใหม่ยังไงครับ

คือผมว่าประสบการณ์มันก็มีคุณค่าของมันเนอะ คนทำงานมานาน มีความ Senior พร้อมละที่จะรับตำแหน่งผู้นำ แต่ในมุมพี่นกเรามีน้องๆ Manager เด็กๆ เยอะมาก มุมพี่นกอันนี้คิดยังไงครับ

ค่ะ ต้องบอกว่าจริงๆ พี่ชอบ คืออาจจะเป็นธรรมชาติของธุรกิจพี่ด้วยอะนะ เพราะเรากำลังทำอะไรที่คนไม่เคยทำ ดังนั้นช่วงที่สร้างบริษัทหรือสร้างทีม พี่ชอบทำงานกับคนที่ไม่มีประสบการณ์ด้วยซ้ำ เพราะว่าบางทีมีประสบการณ์มามันบล็อกความคิดบางอย่าง ใช่มั้ยคะ ดังนั้นมันอาจจะเพราะธรรมชาติของสิ่งที่เรากำลังจะทำแหละ แต่แน่นอน ในแต่ละตัวเราจะมีคนที่มีประสบการณ์มาประกบ อย่างเช่น ในแผนกอย่างกฎหมาย แผนกบัญชี อันนี้แน่นอน เราก็ต้องการคนที่มีประสบการณ์แต่เราก็จะมองว่าเขาพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆ หรือเปล่า เพราะประสบการณ์ที่เขาเคยทำบัญชีหรือกฎหมายมามันอาจจะไม่ใช่ธุรกิจที่เรากำลังสร้าง ธุรกิจที่เรากำลังสร้างมันอาจจะเป็นธุรกิจใหม่ๆ ดังนั้นเนี่ยเราก็จะมีคน 2 ส่วนแหละ แต่ส่วนคนที่สร้างธุรกิจขึ้นมา พี่มักจะเลือกน้องที่ไม่มีประสบการณ์ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เด็กๆ ก็ใช้คำว่าเด็กก็ไม่ถูก ก็ 20 กว่าๆ 25 คนที่ขึ้นมาเป็น Manager ที่เราพร้อมโปรโมตเขาเนี่ยก็จะเป็นคนที่เราเห็นแล้วว่า แน่นอน ฟิตกับบริษัท ทุ่มเท เต็มที่ คนที่โปรโมตขึ้นมาไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกคนนะ

เนี่ย ผมกำลังจะถามเลยว่าจะพิสูจน์ได้ยังไงว่าเขาเก่งแล้ว หรือจริงๆ พี่นกแค่เห็นศักยภาพ

เห็นเป็นศักยภาพมากกว่า ไม่ได้พิสูจน์ว่าทุกโปรเจกต์ที่ทำประสบความสำเร็จหมดเลยได้โปรโมต ไม่ใช่นะ แต่เป็นว่าโอเค มีสำเร็จมีเฟล แล้วเราเห็นแล้วว่าเวลาเขาเจอปัญหา เจออุปสรรค เขาปรับมันยังไง เขาปรับทัศนคติเขาได้ เขาพร้อมที่จะรับกับความท้าทาย แล้วเขาก็มีศักยภาพที่จะขึ้นมานำคนได้ คนกลุ่มนี้แหละเป็นคนกลุ่มที่พี่โปรโมตขึ้นมาเป็น Head ของแต่ละแผนก

ตอนนี้ Head ต่างๆ คนที่ดูธุรกิจ Garena ธุรกิจเกมให้พี่ ทั้งหมดตอนนี้อายุแค่ 30-31 คนที่ดูธุรกิจ Payment ให้พี่ทั้งหมดก็ประมาณนี้ 30 แล้วก็คนที่ดูฝั่ง E-commerce ที่เป็นขา Marketing Partnership ทั้งหมดก็เพิ่งจะประมาณ 30-31 แต่คนกลุ่มนี้อยู่กับพี่มาไม่ต่ำกว่า 6-7 ปี คือเราอยู่กับเขาตั้งแต่วันที่เขาอาจจะยังทำอะไรไม่เป็น แต่เขา share the same value, share the same purpose เจออะไรยากก็สร้างกันขึ้นมา แล้วเราเห็นศักยภาพ จนเขาขึ้นมาตอนนี้ช่วยดูแลธุรกิจหลักๆ ให้พี่ก็อายุประมาณนี้แหละ 30 32 ค่ะ

เมื่อกี๊พี่นกพูดเรื่องฟังเยอะๆ เป็นหนึ่งเรื่องที่พูดง่าย แต่ถ้าเราไปถามผู้นำคนไหนว่าอยากทำตัวเองให้ดีขึ้นยังไง ทุกคนก็จะบอกว่าอยากฟังเยอะขึ้น พี่นกมีเทคนิค มีอะไรอยากแชร์ไหมว่าทำยังไงให้เราฟังได้

คือต้องบอกว่าผู้นำหลายๆ ครั้ง เรามีคำตอบพร้อมแล้วอะ น้องยังไม่ทันอ้าปาก จริงๆ เราก็มีคำตอบพร้อมจะใส่รัวน้องเข้าไปละ พี่น้องต้องฝึกยังไง คือผมก็แอบไปคุยกับน้องๆ มาหลายคน ทุกคนก็จะชมพี่นกในมุมนี้นะว่า พี่นก Empathize พี่นกพยายามเข้าใจ พยายามฟัง เลยอยากให้พี่นกลองแชร์นิดนึงครับ

ช่วงแรกจริงๆ ต้องบอกว่ากัดฟันมาก กัดแบบ จิกตัวเองเลยอะ ต้องฟัง ต้องฟัง คือเราไม่รู้ด้วยไง อาจจะเพราะว่าตอนเริ่มต้นของการเข้ามาที่นี่ พี่ก็ไม่ได้เป็นคนที่รู้เรื่องธุรกิจเกมขนาดนั้น แต่ในฐานะวิศวะเราก็จะมีข้อสันนิษฐานในหัว มันน่าจะอย่างนี้ๆๆ แหละ ใช่ป่ะ มันควรจะเป็นแบบนี้ตามประสบการณ์ เราบอกว่ามันควรจะเป็นอย่างนี้ ดังนั้นช่วงแรกๆ พูดตรงๆ เลย อดทนมาก จิกตัวเองเลยนะ บางทีฟังน้องแล้วเริ่มจิก อย่าเพิ่งพูด ฟังให้จบก่อน ฟังน้องให้จบก่อน

แล้วพอมันฟังเนี่ย แน่นอน ช่วงเริ่มต้นของการทำงานกับน้องๆ น้องมันก็ไม่ได้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพขนาดนั้นหรอก น้องบางคนแบบ

ไม่กล้า งานยังไม่เสร็จจะมาพูดอะไรดี

ไม่กล้าบ้าง อ้อมโลก จนเราก็ต้องค่อยๆ จูนกันไป พอเราเหมือนกับเตือนตัวเองว่าแบบ อย่าเพิ่งด่วนสรุป อย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งที่คิดมันถูกต้อง ตอนแรกๆ มันยากมากเลยเพราะด้วยสิ่งที่ประสบการณ์มันสอนเรามาแบบนี้ แต่พอเรามีประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ว่าพอเราฟังแล้วเราได้อะไรจากการฟังอะ เราได้ประโยชน์จากน้องยังไง เราจะเริ่มรู้สึกว่าเออ ฟัง เพราะยิ่งฟังยิ่งได้ ยิ่งฟังยิ่งเข้าใจ ยิ่งฟังมันทำให้เรา ตอนสรุปสุดท้ายของเรามันครบลูป ครบองค์มากกว่า

พี่ก็เคยแบบ ฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง แล้วเราก็ตัดสินใจอะไรไป แล้วมันก็ไม่ใช่ ประสบการณ์มันก็ค่อยๆ สอนเราเหมือนกัน มันใช้เวลาเหมือนกัน ค่อยๆ เตือนตัวเอง แต่สุดท้ายเนี่ยเราจะเริ่มเห็นประโยชน์จากมันแล้วก็จะเริ่มรู้สึกว่าฟังอะดีที่สุด

เท่าที่ผมฟัง พี่นกให้เวลากับน้องๆ ในทีมเยอะมาก พี่นก one-on-one (คุยตัวต่อตัว) หรือว่ากินข้าวกับน้องๆ อะไรเยอะแค่ไหนยังไงครับ

อืม ต้องบอกว่าตอนช่วงสร้างบริษัทเนี่ยถี่มาก บ่อยมาก พี่คุยกับน้องกับน้องทุกวัน เป็นกิจวัตรประจำวัน มันสำคัญมาก ซึ่งพอใช้เวลาด้วยกันเยอะๆ มันก็รู้จักกัน มันจูนกันเร็ว มันก็มีความไว้ใจใช่มั้ยคะ ตอนนี้ด้วยไซส์ของธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น แน่นอนพี่คงไม่สามารถไปอย่างนั้นกับน้องทุกคนได้ ตอนนี้สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือ ก็จะมีน้องที่เป็นคีย์หลักนี่แหละที่เราจะคุยกับเขาบ่อยๆ บางทีถ้าช่วงโควิด ลำบากนิดนึงเหมือนกันเพราะมันเจอหน้ากันไม่ได้ มันก็ใช้วิธี แต่ดีอย่างคือเราจูนกันมาเรียบร้อยแล้ว คือถ้าต้องมาจูนกันช่วงโควิดเนี่ยจะท้าทายมากเลย เพราะมันไม่เจอหน้าด้วย

ก็ใช้วิธีนี้แหละค่ะ มีการสื่อสารกันเรื่อยๆ มี Communicate มี SEA Talk สื่อสารกัน แล้วพอมันมีช่วงปลดล็อกดาวน์บ้างก็เรียกมาทานข้าว เจอหน้าเจอตากันบ้าง พี่ก็ใช้วิธีนี้ในการติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ (Keep in touch) กับน้องๆ ในหลายๆ ส่วนค่ะ

อันนี้ถามเผื่อเลยนะครับ อย่าง SEA Thailand มีแผนว่าจะให้ทุกคนกลับเข้ามา หรือเราจะ Hybrid หรือเราจะยังไงครับ

จริงๆ ก่อนหน้านี้เราก็ Hybrid อยู่แล้วนะคะ คือเราไม่ได้เป็นประเภทที่ต้องมาตอกบัตรเช้าเย็นอยู่แล้ว แล้วเราก็เป็นแบบ พี่ก็ให้อิสระกับน้องแต่ละทีมอยู่แล้วว่าจัดการกันเอง สมมติวันนี้งานมันอยู่ข้างนอกก็ไปข้างนอกเลย เราก็ค่อนข้างฟรีสไตล์แบบนั้นอยู่แล้วค่ะ แต่ว่าตอนนี้เนี่ยพอมันมีสถานการณ์โควิดเกิดขึ้นเราก็ดูในแง่ของสถานที่ทำงาน เราก็จะลงพื้นที่ลงเพื่อความมีประสิทธิภาพในแง่ของต้นทุนมากขึ้น เพราะเราก็สามารถสับคนเข้าออกได้แล้วค่ะ ก็ศึกษาโมเดลนั้นอยู่ค่ะ

หลายคนชอบมาถามผมว่า ถ้าพนักงานที่อยู่ด้วยกันแล้วเนี่ย ทำงานทางไกล (Work Remote) ไม่ค่อยติด เราแค่พยักหน้า พิมพ์ข้อความสั้นๆ เราก็รู้เรื่องกันประมาณนึงแล้ว แต่กับคนใหม่ๆ on board คนใหม่ๆ ให้เขาสนิทกับทีมเรา ให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม อันนี้มันยากมากเลย

เมื่อกี๊เราอาจจะเน้นของความไว้วางใจ ทำให้น้องๆ เชื่อใจ ผมว่าอาจจะลองเปลี่ยนเกียร์ไป ในบริษัทเทคฯ เราก็จะคุยกันเรื่องตั้งเป้า 10X อยากจะมี Moonshot Goal พี่นกตั้งเป้าหรือกระตุ้นน้องๆ ยังไงให้เขาอยากจะไปกับเราครับ บางทีคนเขาได้ยินเป้าใหญ่ๆ เขาก็ ไหวมั้ย

จริงๆ เรามักจะตั้งเป้าเว่อๆ กันไว้อยู่แล้วอะค่ะ เราเคยคุยกันในกลุ่มของ Management team ว่า We need to dream big. (เราต้องฝันให้ใหญ่เข้าไว้) แล้วก็จะตั้งคำถามว่า do we dream big enough? can it be bigger? (เราฝันใหญ่พอหรือยัง ฝันใหญ่กว่านี้อีกได้ไหม) Let's set it bigger ตั้งใหญ่ๆ เว่อๆ ไปเลย ทุกคนก็จะพี่ครับ ใช่ครับ ผมได้ Goal มาแบบนี้แล้วก็จะหัวเราะแหะๆ ทุกคนก็จะหัวเราะ ตัวเลขมันดูเว่อ แต่สุดท้ายแล้วเนี่ยเราก็เกือบทำได้ทุกครั้ง ซึ่งพี่รู้สึกว่าพอมันทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ น้องมันจะเริ่มเห็นว่า เอ้า ที่มันดูเป็นไปไม่ได้ตอนแรก มันเป็นไปได้นี่หว่า ใช่ไหมคะ คือมันมีวิธี แต่ระหว่างทางแน่นอนในช่วงของการทำพี่ก็จะเออใช่ Goal มันดูท้าทาย มันดูใหญ่ ดังนั้นเรามาช่วยกันคิดดีกว่า จะทำอย่างนี้ให้ได้มันต้องทำอะไร มันเหมือนบังคับให้เราคิดมากกว่าเดิมทุกครั้งเพราะ Goal มันใหญ่กว่าที่เราตั้งไว้ตอนเริ่มต้น มันก็ช่วยๆ กันคิด

แน่นอน อย่างที่พี่บอก สำเร็จหรือไม่สำเร็จมันไม่ได้เชื่อมอยู่กับการประเมินผล พอเรามอบสิ่งที่เราพูดว่า เห้ย มันไม่ได้เกี่ยวว่าถ้าน้องทำไม่ได้ น้องคิดไม่ได้ น้องจะไม่ได้โปรโมตหรืออะไรก็ตาม น้องเขาก็เข้าใจแล้วค่ะว่าธรรมชาติของบริษัทมันเป็นแบบนี้ as long as you try your best (ตราบใดที่ทำเต็มที่แล้ว) ทำให้ดีที่สุดเนี่ยมันก็จะสามารถที่จะได้โปรโมตเหมือนกัน

เปลี่ยนเกียร์มาทางให้เคล็ดลับน้องๆ เด็กๆ รุ่นใหม่ อาจจะเริ่มจากพี่นกเล่าให้ฟังหน่อยว่าพี่นกชอบทำงานกับเด็กแบบไหนครับ ถ้าเลือกได้ สัมภาษณ์เข้ามา พี่นกอยากทำงานกับน้องแบบไหนครับ

พี่ชอบทำงานกับเด็กที่ดื้อๆ หน่อย เด็กที่มีความรั้นๆ นิดนึง มีความเป็นตัวของตัวเองระดับหนึ่ง ที่ตอนแรกดูเหมือนแบบว่าคุยกันแล้วเอ้ย เด็กคนนี้มันจะฟังเราไหม อารมณ์ประมาณนี้ คือถ้าเด็กมาแล้ว ค่ะ ค่ะ โอเคครับ เราจะรู้สึกแล้วว่า อืม ใช่หรือเปล่า เพราะจริงๆ เรากำลังต้องการคนที่มาช่วยเราคิด มาท้าทายเราในขณะเดียวกัน แต่ถ้าเกิดเด็กที่มาแบบโอ้โห อีโก้สูงมากๆ เนี่ยเราก็ต้องดูเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นพี่จะชอบเด็กที่แบบ มีความรั้นหน่อยๆ ดื้อนิดๆ แต่ว่ายังฟังเราบ้าง ซึ่งอันนี้มันสัมผัสได้ตอนสัมภาษณ์อยู่ละ เวลาทำงานด้วยกันพี่ก็จะโดนน้องท้าทายเหมือนกัน พี่นก ใช่หรือครับ ตอนนี้เป็นอย่างงี้อย่างงั้นนะ เราก็อ๋อหรอ แต่ที่พี่ทำมามันแบบนี้นะ แล้วมันมีดีเบตแบบนี้ มันทำให้การทำงานมันสดชื่น ไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว (one-way communication) ชั้นบอกไปแล้วเธอก็ไปทำ หรือถ้าเด็กที่แบบ อีโก้สูงมากๆ บอกไปไม่ทำเลยก็อาจจะไม่เวิร์คเหมือนกัน คือก็ต้องหาเด็กแนวๆ นี้อะค่ะ ชอบทำงานกับเด็กแนวๆ นี้

ผมชอบเหมือนกัน น้องๆ ในทีมผมชอบบอกว่า ต้องดื้อ ต้องเถียงกับพี่ คือถ้าไม่เถียงเราก็ไม่รู้หรอกว่าที่เราคิดมันครบถ้วนหรือเปล่า มาช่วยจิ้มๆ หน่อย คืออย่างมากเราก็ฟังแล้วเราก็แบบ พี่ยังมั่นใจว่าพี่ถูก Worst case คืออย่างนั้น ส่วนใหญ่มันมักจะเป็นแบบเออจริงๆ Solution เราก็แค่ปรับเข้ากับน้องนิดนึง จริงๆ มันก็ดีขึ้นเยอะ ดีครับ นี่เป็นโอกาสของเด็กดื้อแล้วนะครับ

รั้นนิดๆ ดื้อหน่อยๆ มีความเป็นตัวเองเนี่ย อือ ใช้ได้เลย

พี่นกเจอปัญหาอะไรกับการทำงานกับเด็กรุ่นใหม่ๆ บ้างไหมครับ ที่รู้สึกว่าหลังๆ มันเริ่มเห็นเป็นธีมซ้ำๆ ร่วมกันแล้วว่าเด็กรุ่นใหม่คิดแบบนี้แล้วเราเริ่มทำงานแบบเดิมของเรายากขึ้นแล้วเราต้องปรับเข้าหาเขาหรือให้เขาปรับเข้าหาเรา

อืม ความท้าทายของพี่อย่างหนึ่งคือบางทีตามเด็กไม่ทัน แล้วบางทีคำศัพท์ เด็กสมัยนี้มีคำศัพท์เฉพาะเยอะมาก ซึ่งพี่ต้องไปถามหลานพี่ เราเก็บเป็นคลังคำศัพท์เราไว้เลยอะ เดี๋ยวคุยแล้วไม่รู้เรื่องแล้วโอ้โห มนุษย์ป้า พี่ไม่อยากเป็นมนุษย์ป้า เพราะฉะนั้น น้องสมัยนี้ที่พี่รู้สึกเลยคือเขาเนี่ย แน่นอนเรื่องของความเป็นตัวของตัวเองเนี่ยมันมีสูง มันสูงมาซักพักแล้วล่ะ เรื่องของการสื่อสารที่มันมีความยากมากขึ้นเพราะว่าเขาเหมือนมีวิธีการสื่อสารใน Gen ของเขาแบบนึง ซึ่งถ้าเราไปฟังแรกๆ เราจะแบบ ไม่เกตอะ หมายความว่าอะไร พูดอะไร แปลว่าอะไร พอเราไม่เกตเนี่ยมันจะมีช่องว่างขึ้นมาทันที เขาคุยกับเราไม่รู้เรื่อง ซึ่งอันนี้มันเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับตัวพี่แหละที่พี่ต้องปรับลงไปด้วย ปรับลงไปให้เข้ากับน้องให้ได้ว่าเห้ย โอเค แล้วน้องมันก็ต้องปรับเหมือนกัน ใช้คำศัพท์ที่มันง่ายขึ้นกับพี่เหมือนกัน พอเราพยายามปรับเขาก็จะพยายามปรับเข้าหาเรา อันนี้พี่ว่าอันที่หนึ่ง

อันที่สองคือพี่ว่า เด็ก Gen นี้ โดยเฉพาะที่กำลังจะจบๆ หรือเพิ่งจบเข้ามาเนี่ย เขาอยู่กับเทคโนโลยีมาเยอะ คือเขาโตมากับยุคดิจิทัลจริงๆ แล้วมันทำให้เรื่องของ Emotion เรื่องของอารมณ์ เรื่องของคนเขาน้อย น้อยแบบ น้อยลงไปเรื่อยๆ ที่พี่รู้สึกนะ น้อยลงไปเรื่อยๆ จนมันเป็นเรื่องที่เราต้อง on board เราต้องมีพูดเรื่องนี้กับน้องเลยอะ คือไม่ผิดนะ มันเป็นแค่วิธีการที่เขาโตมาแบบนี้

เหมือนเขาคุยกับคนเหมือนเขาตอบแชทอย่างนี้มะ

เหมือนตอบแชท เหมือนแบบ ทุกอย่างมันออนไลน์ แล้วยิ่งช่วงเด็กตรงนี้เป็นเด็กที่ ช่วงที่ก่อนจบเขาโควิดไป 2 ปีถูกป่ะ คือเขาชินกับการคุยทุกอย่างออนไลน์หมดเนี่ย ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับคนเนี่ยหายไป ทำให้การมีความสงสาร (Sympathy) ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ยิ่งไม่รู้ใหญ่เลย คือเหมือนกับเขาหายไป ค่อยๆ หายไปเยอะ อันนี้เราก็รู้สึกว่าเราเริ่มเห็นกับเด็กกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นจุดที่เราต้องไปสอนเขา อาจจะต้องใส่เร็วขึ้น

สุดท้ายคงจะเป็นเรื่องของ อันนี้อาจจะเป็นจุดร่วมกันของเด็กใหม่ ก็คือเรื่องของการที่อาจจะยังคิดไม่ครบลูป มองไม่ครบด้าน ซึ่งอันนี้พี่คิดว่ามันเป็นประสบการณ์ที่เราต้องค่อยๆ ใส่ให้เขา ให้เขามองให้มันครบด้านค่ะ

ดีครับ เดี๋ยวให้พี่นกอาจจะให้คำแนะนำน้องๆ ได้มั้ย ผมว่าตอนนี้การแข่งขันสูง หลายคนอยากได้งานดีๆ ผมเห็นน้องๆ สมัยนี้ ทุกคนมีเป้าที่ทะเยอทะยานมากเลย อยากทำบริษัทใหญ่ๆ อยากประสบความสำเร็จในชีวิต พี่นกมีคำแนะนำอะไรให้น้องๆ รุ่นใหม่ๆ บ้างครับ

ค่ะ คืออย่างที่พี่พูดไปตอนเริ่มต้นนะ พี่คิดว่าอายุ 20 ต้นๆ มันเป็นช่วงของการลงทุน มันเป็นช่วงของการเรียนรู้ แน่นอนค่ะ น้องควรจะขวนขวายหาสิ่งที่น้องอยากได้ สิ่งที่ใช่ แต่ถ้ามันไม่ได้มาแล้วมันไม่ใช่ อะไรที่อยู่ตรงหน้าเนี่ย คว้าไว้ก่อน แล้วทำมันให้ดีที่สุด อย่าเพิ่งเกี่ยงงาน อย่าเพิ่งเลือกงาน เพราะจริงๆ แล้วเราไม่รู้หรอกว่าจริงๆ สิ่งที่เราคิดว่าเราชอบ สิ่งที่เราคิดว่าเราใช่เนี่ยมันใช่จริงหรือเปล่า

ถ้าไม่อย่างนั้นพี่นกก็น่าจะเป็นวิศวกรอยู่ ใช่ไหม

ใช่ คืออันนี้ประสบการณ์ตรงเลย บางทีเราคิดว่าใช่ละ เราคิดว่าเรารู้แล้วอะ มันอาจจะไม่ใช่ก็ได้นะ ดังนั้นถ้ามันมีโอกาสก็โอบรับโอกาส (embrace the opportunity) ที่มันเข้ามา แล้วทำอย่างให้มันเต็มที่ เพราะว่าสุดท้ายแล้วเนี่ยพี่เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดี หรือประสบการณ์ที่ไม่ดี ใช่ ตรงกับสิ่งที่น้องชอบหรือไม่ชอบก็ตามเนี่ย มันคือจุดจุดนึงในชีวิตน้องที่น้องเก็บไว้ พอดีพี่เชื่อในคอนเซปต์ของ Connecting the dots ของ Steve Jobs มากๆ น้องอย่าพยายาม Connect the dots moving forward เลย อย่าไปคิดว่าชีวิตต้อง 1 2 3 4 แล้วเดินไปแบบนั้น เพราะมันยากมาก ชีวิตมันสุดท้ายแล้วเนี่ย น้องจะมีจุดในชีวิตหลายๆ จุด แล้วพอน้องมองย้อนกลับมาน้องจะเห็นเองแหละว่า ไอจุดนี้กับจุดนี้มันเชื่อมกันแล้วมันผลักเราไปข้างหน้ายังไง ดังนั้นเนี่ยพี่คิดว่าช่วง 20-30 เนี่ยมันเป็นช่วงที่ต้องสะสมจุด เก็บจุด เก็บประสบการณ์ให้เยอะที่สุด อะไรที่เข้ามาเราทำเต็มที่กับมัน ดีไม่ดีมันสอนทุกอย่างเราอยู่แล้ว สุดท้ายทั้งหมดมันจะหลอมรวมเป็นตัวน้อง แล้วก็จะผลักดันให้น้องเติบโตไปในทิศทางของน้องเองในอนาคตค่ะ

ดีมากๆ ครับผม วันนี้เชื่อว่าทุกๆ ท่านน่าจะได้รับฟังทั้งในเรื่องของการบริหารองค์กร รวมไปถึงคนทำงานว่าจริงๆ แล้วองค์กรใหญ่ๆ อย่าง SEA Thailand อยากได้คนแบบไหน คนแบบไหนที่มีโอกาสเติบโตในสายงานในธุรกิจเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว วันนี้ขอบคุณพี่นกมากๆ เลยนะครับที่ให้เกียรติกับรายการของเรานะครับ

ยินดีค่ะ

แล้วก็เดี๋ยวพวกเราพบกันใหม่กับ Chief's Table ในตอนหน้าครับผม วันนี้สวัสดีครับ

อ่านเพิ่ม