เข้าสู่เว็บสคูลดิโอถอดรหัสทักษะแห่งความสำเร็จ ของผู้บริหารชั้นนำยุคดิจิทัล

EP.03 เจาะกระบวนการทำ Digital Transformation ให้สำเร็จ

Listen on

ในยุค Digital Transformation เราเห็นหลายธุรกิจพากันปรับกลยุทธ์กันอย่างน่าสนใจ ธุรกิจเหล่านี้มีวิธีคิดในการ transform ยังไง แล้วเราจะเริ่มต้นทำ Digital Transformation ได้ยังไง มาเจาะลึกกระบวนการทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จ กับคุณโบ๊ท พชร อารยะการกุล CEO แห่ง Bluebik บริษัท Consult ชั้นนำที่ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เน้นเรื่อง Digital Transformation ซึ่งมีส่วนช่วยหลายองค์กรระดับชั้นนำในไทย Transform ธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ

Guest
เจาะกระบวนการทำ
Digital Transformation ให้สำเร็จ | คุณโบ๊ท-พชร อารยะการกุล

คุณโบ๊ท-พชร อารยะการกุล

CEO, Bluebik


Transcript

ในยุคก่อนๆ พอธนาคารเริ่มมาใช้เทคโนโลยีเราจะเริ่มได้ยินคำว่า Internet Bankingสมัยก่อนก็คือการยกการบริการขึ้นมาอยู่ในช่องทางบนอินเตอร์เน็ตซึ่งมันไม่ใช่ Digital Transformation

แต่เราเห็นความเคลื่อนไหวของธนาคารในช่วงประมาน 5 - 10 ปีหลังเริ่มแตะเรื่องของ Lifestyle มากขึ้นเริ่มมีการทำตัวเองให้กลายเป็น Super Appเค้าพยายามที่จะ Capture คุณค่าของเค้าเกินกว่า Value Chain ที่เค้าอยู่นั่นคือเรื่องของ Financing

เหมือนอย่าง Grab กระโดดมาทำ Financials อยู่ดีๆ อยากจะปล่อยกู้Sea Thailand เคยทำเกมส์ และก็ไปทำ Payment แล้วก็ E-commerceSCB ที่กระโดดมาทำ Robinhoodแนวคิดแบบนี้ เวลาเราไปช่วยลูกค้ามันมีเทคนิคยังไงให้แก้ปัญหาออกมั้ย

หลายคนมาเป็น Vision ใหญ่เลย อยากมี Super App คำว่าแพลตฟอร์มคือคำที่เราเจอได้ในทุกวัน

ตามองค์กรจะบอกว่า เมืองนอกเขาทำแบบนี้ เวิร์คมากเลย อยากได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่ องค์กรเล็ก เรามีทรัพยากรจำกัด เราทำทุกอย่างไม่ได้วันนี้ เราไปเห็น Super App มา เราไปเห็นอันนี้มา เราทำหมด

พนักงานเราก็ไม่พอ เงินทุนเราก็ไม่พอ โฟกัสของเราเอง ก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น Keyword จริงๆ ของการทำกลยุทธ์ คือการ Trade-off (แลกเปลี่ยน)

สมัยก่อนเราอาจจะมองธุรกิจ เป็นการขยายสาขา เป็นการไปเปิดบริษัทเพิ่มเติม จะมองการเพิ่มคน เราเห็นได้เลยว่า บริษัทที่เขาตั้งเป้าที่จะเติบโตเป็นหลายๆ เท่า เขาไม่ได้ใช้กลยุทธ์แบบเดิมๆ แล้ว เขาใช้เทคโนโลยีเข้ามาจับ พอเราได้มีโอกาสได้ทำงานกับบริษัทในเมืองไทย เราได้เห็นว่า บริษัทในเมืองไทย เมื่อเทียบกับบริษัทชั้นนำในระดับโลก ก็ยังมีช่องว่างเรื่องนี้อยู่ เรื่อง Productivity เรื่อง Business Model เรายั อยู่ในรูปแบบที่เป็น Traditional Business ค่อนข้างเยอะ ทำให้เราสร้างทั้งรายได้ ทั้งกำไร ในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย เทียบกับจำนวนพนักงาน ทำให้เราเห็นได้ว่า เรายังมีความตามหลังบริษัทที่อยู่ในประเทศที่เจริญแล้ว พอสมควร ก็เลยเป็นสาเหตุที่ จากที่เป็นความชอบส่วนตัว มีความรู้ในเรื่องนี้อยู่ เราเห็นช่องว่างในตลาด ในเรื่องนี้พอดี นี่แหละ คือเรื่องที่เราน่าจะต้องทำ ก็เลยตัดสินใจเปิดตัวบริษัทที่ชื่อว่า Bluebik Group เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในเรื่องเดียวเลยคือเรื่องของ Digital Transformation

มีตัวอย่างในแต่ละอุตสาหกรรมยังไงบ้างว่าพอเค้า Transform ตัวเองได้แล้วภาพการทำธุรกิจเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากเป็นตัวล่างๆ ในการจัดอันดับ ขึ้นมาเป็นตัวต้นๆ เลย มีอันไหนที่โบ๊ตชอบ หรืออันที่เคยมีส่วนช่วยทำมาครับ

เล่าจากเคสที่เป็นระดับโลกก่อน ผมเชื่อว่าทุกคนก็คงจะรู้ แต่ว่าอาจจะไม่ได้สังเกตอย่าง Netflix Netflix แต่เดิมเป็นบริษัทปล่อยเช่า DVD พอเขามีโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ Streaming พอเขาเห็นเรื่องเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ เขาเริ่มมีการทำ Business Model นี้ขึ้นมา ซึ่งเขาก็ไปนำเสนอกับ Blockbuster หรืออะไรพวกนี้

ซึ่ง Blockbuster เป็นยังไงครับ ไม่เอา ทุกวันนี้เราก็จะเห็นได้ว่า Blockbuster อาจจะไม่ได้อยู่แล้ว แต่ว่าในฝั่งของ Netflix เอง ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ที่สำคัญคือเราเห็นการพัฒนาของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากเดิมเขาเป็นแค่แพลตฟอร์มในการสตรีม ตอนนี้เขาเริ่มทำหนังเอง ทำคอนเทนต์เอง

โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้อะไรมาเกี่ยวข้อง หรือแม้กระทั่งเรื่องของพวก Recommendation อะไรต่างๆ ก็ใช้เทคโนโลยี ใช้ AI ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วย ซึ่งผมมองว่า วิธีการของเขา สอดคล้องเลยกับการที่เขา Transform ธุรกิจเก่า เป็นธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่สามารถ Scale ได้ค่อนข้างง่าย กระจายไปยังประเทศอื่นๆ ได้ สามารถที่จะ Operate ด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ แต่ว่าในประเทศไทย ผมก็มีโอกาสทำงานกับบริษัทชั้นนำหลายๆ บริษัท เราก็มีอีกหลายเคสที่เราชอบเหมือนกัน อย่างธนาคาร ก็มีหลายธนาคารที่สมัยก่อนเราให้คำปรึกษา พอธนาคารเริ่มมาใช้เทคโนโลยี เราจะเริ่มได้ยินคำว่า Internet Banking ซึ่งสมัยก่อนคือการยกการบริการขึ้นมาอยู่บนช่องทางอินเตอร์เน็ต

แต่ว่าภาพตรงนั้น ไม่ได้เป็นการ Shift Business Model มันไม่ได้เป็นการ Transform มันเหมือนเป็นการเปิดช่องทางเพิ่ม เป็นการเปิดช่องทางเพิ่ม เหมือนแค่ทดแทนของเก่ามาอยู่บนระบบดิจิทัล ซึ่งมันไม่ใช่ Digital Transformation ซึ่งเราเห็นการเคลื่อนไหวของธนาคารในช่วง 5 - 10 ปีหลัง เริ่มมีการเคลื่อนไหวในมุม Business Model เยอะ เราเห็นบางธนาคารเริ่มแตะเรื่องของ Lifestyle มากขึ้น เริ่มมีการทำตัวเองให้กลายเป็น Super App เขาพยายามที่จะ Capture คุณค่าของเขาเกินกว่า Value Chain ที่เขาอยู่นั่นคือเรื่องของ Financing

ถ้าเขามองตัวเองในเรื่องของ Finance คือเรื่องของการใช้เงิน แต่คนใช้เงินทำอะไร ถ้าเขาเขยิบขึ้นไปอีกนิดนึง เขาก็จะ Capture คุณค่าตรงนี้ได้มากขึ้น Transformation มันไม่ใช่แค่ เปลี่ยนจากกระดาษมาอยู่บนโลกดิจิทัล มันต้องอาศัยการคิดใหม่ ทำใหม่ ว่า Business Model เราจะเป็นยังไง แล้วเทคโนโลยีจะมาช่วยได้ยังไง อย่างตังอย่าง Netflix ผมว่า ถ้าเป็นคนทำธุรกิจ มันเหมือนรื้อกระดานใหม่หมดเลย แล้วก็หามุมที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ อย่างพี่สอนเรื่อง Data เยอะ ก็จำชอบเคสนี้มาก ชอบบอกทุกคนว่า เราเดินเข้า Blockbuster นะ ไม่มีคนรู้เลยว่าเราอยากดูหนังเรื่องอะไรบ้าง เราก็เดินเลือกๆ ของเราไปเรื่อยๆ พอเราใช้ Netflix ตั้งแต่สมัย DVD กลายเป็นว่าเราต้องคลิกบอกเค้าว่า เราอยากเพิ่มอันนี้ไว้ในคิว ฉันสนใจอันนี้ ฉันสนใจอันนั้น เขาเลยกลายเป็นเจ้าแรกๆ ที่เก่งมากเรื่อง Recommendation ต่างๆ

พี่ว่าทุกคนตื่นเต้นกับเราแล้ว กับเรื่อง Digital Transformation อยากให้โบ๊ทลองเล่าหน่อยครับ

สมมุติวันนี้มีธุรกิจนึง เขาคิดแล้วว่า ฟังเราพูดแล้ว เขาต้องมาแล้วหล่ะ Digital Transformation

ถ้าอยากจะเริ่มทำ เวลา Bluebik เข้าไปช่วยลูกค้า เราเข้าไปช่วยเค้ายังไงได้บ้างครับ

มันจะมีภาพสองภาพนะครับ ภาพแบบ Outside-In กับ Inside-Out ซึ่งสองภาพนี้จะช่วยให้เราสร้างไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่าง ได้ชัดเจนมากขึ้น

Inside-Out ก่อน วิธีการวิเคราะห์โดยทั่วๆ ไป เราก็จะต้องมองแล้วว่า ธุรกิจมันคืออะไร มันคือสิ่งที่เราต้องการที่จะสร้างคุณค่าขึ้นมา ซึ่งคุณค่าในที่นี้ โดยทั่วๆ ไปเราก็จะมองเรื่องกำไร แน่นอนว่าบางธุรกิจเราอาจจะมองตัวชี้วัดอื่นๆ นอกเหนือจากกำไร อาจจะเป็นเรื่องของสังคม เรื่องของอะไรก็ว่าไป ถ้าเรามีตัวชี้วัดหลักตัวนี้ได้ เราสามารถที่จะแยกองค์ประกอบมันออกมายิบๆ ย่อยๆ มากขึ้น เราสามารถเอากำไรตั้ง กำไรประกอบไปด้วยรายได้ ลบ รายจ่าย รายได้มันคืออะไร เรา Breakdown มันต่อ มันคือเรื่องของราคาคูณกับปริมาณ ในฝั่งของรายจ่าย เราอาจจะมี Fixed Cost เราอาจจะมี Variable Cost

ซึ่งพอเราวิเคราะห์ตรงนี้ได้ วิเคราะห์ในที่นี้คือสมมติว่าเราเปรียบเทียบตัวเรากับคู่แข่ง

เราคิดเงินแพงกว่ารึเปล่า หรือเราคิดถูกกว่า เราคิดแพงกว่าแปลว่า เราสามารถ Command Pricing ได้ จุดแข็งเราคืออะไร เป็นเรื่องแบรนด์รึเปล่า หรือว่าเป็นเรื่องของความเข้าใจลูกค้า หรือเรื่องของ Timing เราได้ เรื่องของปริมาณ ทำไมเราขายได้จำนวนเยอะ หรือว่าสินค้าเราตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น แล้วก็แน่นอนว่าเรื่องของต้นทุนเช่นกัน เราสามารถที่จะเทียบเรากับในอดีต เทียบเรากับคู่แข่ง หรือว่าคนที่เป็นแรงบันดาลใจ หรือปณิธานของเรา ตรงนี้เราจะเริ่มเห็นแล้วว่า จุดแข็งจุดอ่อนขององค์กะเป็นยังไง ทำให้เรารู้ว่า ถ้าสมมติว่าเราจะเดินหน้าต่อไป เราจะต้องใช้จุดแข็งอะไรบ้าง อะไรเป็นสิ่งที่พอเราเดินไปแล้วต้องอย่าทิ้ง ตรงนี้เอามาใช้สร้างความได้เปรียบได้ อีกภาพนึงที่จะมาต่อกันก็คือภาพ Outside-In เราจะสร้างแรงบันดาลใจกับไอเดียเหล่านี้ยังไง ถ้าพูดตรงๆ ภาพนี้เป็นภาพที่ยาก ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีหลายเทคนิคมากๆ อย่างบางคนก็จะเริ่มจากลูกค้า ใช้พวก Design Thinking ดูจาก Pain Point (ปัญหา) ที่มีอยู่ในตลาด ลอง Innovate ขึ้นมาว่า ภาพตรงนี้ในปัจจุบันบางสถานการณ์ ลูกค้ากลุ่มนี้มี Pain Point อะไรอีก ที่เรายังไม่สามารถไปจั ได้ หรือบางคนอาจจะไปดูจาก Benchmark เปรียบเทียบกับบริษัทที่เป็น Aspiration ของเขา หรือบางคนก็อาจจะคิดจากวิธีอื่นๆ เราก็จะมีเทคนิคมากมาย แต่ในภาพรวมคือเราต้องการที่จะสร้างไอเดีย พอ Outside-In มาเจอกับ Inside-Out สุดท้ายจะเกิดการวิเคราะห์ว่าในแต่โอกาสเราใช้ความได้เปรียบเราได้จริงมั้ย

ตัว Impact ที่จะเกิดขึ้น และ Investment ที่จะเกิดขึ้น มันมากน้อยแค่ไหน อันนี้จะเป็นภาพคร่าวๆ ที่ปกติ ในการที่เราจะวางกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับองค์กรใด องค์กรหนึ่ง ก็จะต้องพิจารณาภาพตรงนั้น บริษัทใหญ่ๆ เราเห็นตามข่าว หลายคนมา Vision ใหญ่เลย อยากมี Super App คำว่าแพลตฟอร์ม คือคำที่เราเจอได้ในทุกวัน หลายเจ้ามาดุดันมาก เล่นสไตล์ Freemium ฉันจะแจกฟรี ไปตามองค์กรแล้วเขาก็จะบอกว่า เมืองนอกเขาทำอันนี้ เวิร์คมากเลย อยากได้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีที่สุดรึเปล่า เลยอยากจะฟังคำแนะนำในเชิงนี้ วิธีการวางกลยุทธ์ โดยเฉพาะในเชิงกลยุทธ์ดิจิทัล

คำว่ากลยุทธ์ หรือคำว่า Strategy จริงๆ ในภาพธุรกิจ เราจะมองถึงการ Trade-off (แลกเปลี่ยน) ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่ องค์กรเล็ก เรามีทรัพยากรจำกัด เราทำทุกอย่างไม่ได้วันนี้ เราไปเห็น Super App มา เราไปเห็นอันนี้มา เราทำหมด พนักงานเราก็ไม่พอ เงินทุนเราก็ไม่พอ โฟกัสของเราเอง ก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น Keyword จริงๆ ของการทำกลยุทธ์ คือการ Trade-off (แลกเปลี่ยน) ที่เราบอกว่า เราต้องรู้จักตัวด้วยว่าจุดแข็งของเราคืออะไรกันแน่ จุดแข็งของเราคือเพราะว่าเราทำต้นทุนได้ถูกมากๆ รึเปล่า เรามีพาร์ทเนอร์เยอะรึเปล่า หรือว่าแบรนด์เราเป็นที่รู้จักเป็นที่ต้องการ จุดแข็งต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยกำหนดกรอบให้กลยุทธ์ที่เราเลือก สุดท้ายมันเหมาะกับเรา อาจจะไม่ได้เหมาะกับคู่แข่ง เพราะเรา Trade-off จรกระทั่งมันเหมาะสมกับเราคนเดียว บางบริษัท เวลาเราพูดถึง อยากจะมี Digital Platform เขาอาจจะมองถึง Super App เลย เพราะว่าเขาบอกว่า จริงๆ แล้วเขามี User Stickiness สูงมาก ลูกค้าอยู่กับเขาตลอด เพราะงั้นเขาไม่ต้องคิดอะไรมาก

เขาอยากจะอยู่ให้ครบวงจรของลูกค้า ยังไงลูกค้าต้องอยู่กับเขาทุกวัน ต้องกลับมาหาเขา เขาครอบคลุมทั้งวงจรเลย แต่บางธุรกิจไม่ใช่ ลูกค้ากลับมาแค่ เดือนละครั้ง หรือว่าไตรมาสละครั้ง แต่การซื้อแต่ละครั้งใหญ่มาก จุดแข็งเขาอาจจะไม่ใช่มุมนั้น วิธีการวางกลยุทธ์ก็จะแตกต่างกัน และกลยุทธ์ที่ดีแปลว่ามันใช้กับเราได้ ไม่ควรใช้กับคนอื่นได้ ภาพมันควรจะเป็นประมาณนี้ ถ้าเป็นในเชิงปรับหลังบ้าน เอาเทคโนโลยีมาช่วย เราอาจจะพอคิดออก แต่ตอนนี้ภาพที่มันเกิดขึ้น สมมติอย่าง Grab กระโดดมาทำ Financials Sea Thailand เคยทำเกมส์ และก็มาทำ Payment แล้วก็ E-commerce SCB ที่กระโดดมาทำ Robinhood ที่เป็น แพลตฟอร์มส่งอาหาร และกำลังจะขยายต่ออีก แนวคิดแบบนี้ เวลาเราไปช่วยลูกค้า

มันมีเทคนิคยังไงให้แก้ปัญหาออกมั้ย หรือบางทีเราอาจจะรู้สึกว่ามันเป็นไอเดียที่ดี ผู้บริหารเขาอาจจะไม่ซื้อกับเรา เราเป็นแบงก์อยู่ ทำไมเราต้องมาส่งอาหาร วิธีการที่จะหาไอเดียที่ดี อยู่ที่การสังเกต ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค Design Thinking หรืออะไร สุดท้ายเราก็ต้องสังเกต แล้วมองให้เห็นว่า โอกาสนี้มันจะเกิดขึ้น มันไป Impact ลูกค้ายังไง ภาพตรงนี้ ไม่ว่าเราจะสังเกตลูกค้าเอง สังเกตบริษัทที่เก่งๆ เอง มันก็จะได้ไอเดียขึ้นมา ทีนี้ ไอเดียต่างๆ มันไม่พอหรอก ในการที่จะทำให้มันเกิดกลยุทธ์ที่ดี มันต้องเกิดผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Validation เราจะต้องมีการวิเคราะห์ว่าแต่ละไอเดีย สุดท้าย Impact ที่เกิดขึ้น มันเหมาะสมกับการลงทุน และเวลาที่เราเสียไปรึเปล่า ถ้าถามว่าเราจะโน้มน้าวผู้บริหารยังไง ต้องบอกว่า ผู้บริหารเองเวลาทำ Investment หรือการวางกลยุทธ์แบบนี้ สิ่งที่เป็นปัญหาของเขาเลยก็คือ เขาไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะมันไม่ได้มี

ข้อมูล และตรรกะที่ชัดเจน หน้าที่ของเราคือเปลี่ยนจากปัญหาที่ เมื่อกี้มีความกำกวมอยู่เยอะ ออกมาเป็นปัญหาที่ชัดเจนมากขึ้น และมีการไล่เรียงตรรกะของวิธีคิดในการ Validate ว่า กว่าไอเดียเป็นสิบๆ อัน ถูกกรั่นกรองออกมา อาจจะเหลือ สามอัน สองอัน หนึ่งอัน มันผ่านกระบวนการอะไรยังไงมาบ้าง มันถูกปัดตกเพราะอะไร มันยังอยู่เพราะอะไร ตรรกะต้องเคลียร์ในการทำกลยุทธ์ อีกมุมนึงที่ผมมองว่า การที่เราจะสามารถสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูง ให้เขาสามารถที่จะเข้าใจตัวกลยุทธ์ และอยากจะนำไปใช้ได้จริง เราต้องคาดการณ์เรื่องของปัญหาที่จะเกิดขึ้น เราต้องมองข้ามช็อตให้เห็นว่า ความท้าทาย หรือช่องว่างซึ่งมีอยู แล้วทุกองค์กร ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการที่เราจะทำกลยุทธ์นี้คืออะไร กลยุทธ์เนี่ย ถึงเมื่อกี้เราบอกว่า เราใช้จุดแข็งของตัวองค์กร แต่มันเป็นไปไม่ได้หรอกว่า ทุกวันนี้ เราไม่ต้องปรับตัว บางทีเราต้องลงทุนเรื่องเทคโนโลยี ต้องเปลี่ยนคน ทำ Change Management ทำเทรนนิ่ง ต้องจ้างคนเพิ่ม ภาพตรงนี้ เป็นสิ่งที่จริงๆ แล้วจะช่วยให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ได้มากขึ้นว่า ผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจของตัวเองอยู่แล้ว เขาจะสามารถเห็นได้ว่า ช่องว่างตรงนี้ เขาปิดได้จริงหรือเปล่า ปิดได้เร็วมั้ย

ถ้าเขามองว่ามันมีความเป็นไปได้ ช่องว่างเหล่านี้ เขาสามารถปิดได้

เขาก็จะมีความเชื่อมั่นในกลยุทธ์เหล่านี้มากขึ้น

ในโปรเจกต์ Transformation ทั้งหลายที่โบ๊ทไปช่วยมา

คิดว่าความท้าทายหลักๆ มีตรงไหนบ้าง

อันที่หนึ่งเลย เป็นเรื่องของการเปลี่ยน Mindset ของคนที่อยู่ในอุตสาหกรรม ต้องมองว่าการเป็นที่ปรึกษา ยางที่เราไม่ได้รู้อุตสาหกรรม หรือรู้บริษัทดีกว่าผู้บริหาร หรือเจ้าของ สิ่งที่ยากคือ เราจะต้องให้ผู้บริหาร มองข้ามอุตสาหกรรมของตัวเองไปได้เหมือนกันต้องหลุดกรอบ ซึ่งผมว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะด้วยความที่เราเข้าไป และเราอาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ในอุตสหากรรมเท่ากับเขา แต่เรามั่นใจกับคำแนะนำ เพราะข้อมูลทุกอย่างมันชี้ไปในทิศทางนี้ เราก็จะต้องหนักแน่น และต้องมีข้อมูลมาเสริมที่ค่อนข้างชัดเจน

อันที่สองผมคิดว่า เรื่องของการทำ Digital Transformation สุดท้ายงานยากก็กลับมาเรื่องของคนอีกเหมือนกัน เวลาเราบอกว่า เราจะเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยน Business Model จากเดิมใช้กระดาษ มาเป็นคอม เอาแค่ง่ายๆ แค่นี้ก่อน จะต้องมีคนต่อต้านแน่นอน เราก็ต้องหาให้ได้ก่อนว่าเขาต่อต้านเพราะอะไร อันที่หนึ่ง เขาต่อต้านเพราะว่าเขาไม่มีทักษะ อันที่สอง เขาต่อต้านเพราะเขารู้สึกว่าไม่มีสิ่งจูงใจ อันที่สาม เขามองว่ามันไม่ได้ตอบโจทย์ในเชิงของจรรยาบรรณ ความรู้สึก หรืออะไรของเขาเลย มันเป็นความรู้สึกว่า ไม่ได้มีความเชื่อในอนาคตของหลักการตรงนี้ เขาก็อาจจะไม่ไปเหมือนกัน ทั้งในสามมุมนี้ ก็จะทำให้เกิดการขัดขืนขึ้น ซึ่งผมมองว่าอันนี้เป็นจุดที่สำคัญ

อีกข้อนึงที่ผมมองว่าเป็น Top 3 คือ ความเข้าใจในเชิงของ Business Impact ของเทคโนโลยีเหล่านั้น

ยกตัวอย่างเทคโนโลยีตัวนึง ตอนนี้เราพูดกันบ่อยมาก และก็มีการทำไปใช้ ก็คือ Cloud การที่เราย้ายไป Cloud ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ของมัน เอาง่ายๆ ว่าบางธุรกิจที่ Operate แค่ตอนกลางวัน ไม่ Operate ตอนกลางคืน พอใช้ Cloud ก็สามารถที่จะลด Scale ได้ ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้ Economics มันเปลี่ยนไป วิธีคิดมันเปลี่ยนไป เทคโนโลยีต่างๆ มันเปลี่ยนวิธีคิดแบบนี้เยอะ

หรือเรื่องของสาขา เมื่อกี้ที่เราพูด ธุรกิจพอเป็นลักษณะ Digital Platform เราไม่ได้พูดถึงจำนวนสาขาแล้ว Marginal Cost ในการเพิ่มผู้ใช้มันน้อยมาก เพราะฉะนั้น ความเข้าใจในเชิง Business Impact บนโลกดิจิทัล อันนี้เป็นความท้าทายอันที่สาม ผมอ่านบทความอันนึงของ Harvard Business Review เขาบอกว่า กับดักอันนึงคือ ผู้บริหารยังลงมือทำ และเข้าใจเทคโนโลยีน้อยเกินไป ทำให้หลายๆ ครั้งเขาไม่กล้าขยับไปในทางที่ Make sense มากในมุมคนเทคโนโลยี แต่เขาไม่เก็ท เข้าไม่เก็ทว่าการที่เราไปอยู่ใน Cloud มันไม่ต้องมีแอดมินอีกเยอะมากที่ต้องมานั่งเฝ้าว่า Server จะล่มไม่ล่ม ล่าสุด Bluebik เริ่มผันตัวเอง มีพันธกิจใหม่ในการไปทำในเรื่องของ Venture Builder มากขึ้น อยากให้โบ๊ทลองเล่าให้ฟังนิดนึง ว่า Venture Builder มันคืออะไร แล้วสิ่งที่ Bluebik ทำมันน่าตื่นเต้นยังไง

ที่ปรึกษา โดยส่วนใหญ่แล้ว พอทำเสร็จแล้วมันจะไป ไม่ได้อยู่ด้วย อยู่ดูแลต่อ เราก็เลยมีการมาคิดว่า จริงๆ ลูกค้าหลายๆ ที่ Pain Point ของเขา พอเขารับตัวแผนกลยุทธ์ แม้กระทั่งไปช่วยเขาสร้างให้เสร็จ

เขาต้อง Operate ต่อ มันมีความท้าทายอยู่เยอะมาก เพราะโลกปัจจุบันเราเรียกว่ามัน Vuca มันเปลี่ยนเยอะมาก มันมีความไม่แน่นอน ความซับซ้อนอยู่เยอะ ที่สำคัญตอนนี้ เขาต้องการความเร็ว โลกมันเปลี่ยนเร็ว แปลว่าบางทีไอเดียที่เราคิดวันนี้ อีกอาทิตย์นึงมันอาจจะไม่อยู่แล้ว ถ้าสมมุติว่า ทีมของ Bluebik ได้มีโอกาสในการไปทำโปรเจกต์มาค่อนข้างเยอะ เข้าไปช่วย Set up ธุรกิจขึ้รมาจริงๆ ทางลูกค้าได้ประโยชน์แน่นอน เพราะว่าเขาเอง สามารถที่จะเริ่มไอเดียต่างๆ ได้รวดเร็วมากขึ้น เพราะว่า Bluebik เรามีครบตั้งแต่ฝั่งที่เป็น Pure Business เลย ไปจนถึง Deep Technology เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตาม เราสามารถที่จะส่งระดับผู้นำเข้าไป CTO CEO CFO CMO First Tier เราไปไว้ก่อน แล้วเราสามารถที่จะใช้ความสามารถของเรา ในการ Ramp up ทีมในด้านต่างๆ ได้ค่อนข้างรวดเร็ว บวกกับ Know-how ที่เรามี

แต่ Bluebik ไม่สามารถที่จะไปทำธุรกิจอะไรเองได้ เพราะเราไม่ได้มีความได้เปรียบในเชิงอื่น

เราอาจจะไม่ได้มีสาขาเดิมอยู่ เราอาจจะไม่มีข้อมูลเดิมอยู่เยอะ ซึ่งตรงนี้ ทางลูกค้ามี ลูกค้าบอกว่าอยากจะเร่ง อยากจะทำธุรกิจนี้ให้เกิด เห็นโอกาสอยู่ข้างหน้า ตรงนี้ มันคือสิ่งที่เรามองว่าเป็นความสวยงาม

ว่าองค์กรทั้งสองฟาก มันสามารถร่วมกันได้ และที่สำคัญทั้งสองฝั่งมีพันธร่วมกัน เพราะมีส่วนได้ส่วนเสีย

เราก็ลงทุน ทาง Bluebik เองเราก็มีกองทุนที่เรากันไว้ส่วนนึงในการที่จะ Co-invest ลงทุกใน Venture

ถ้าธุรกิจในประเทศไทยตอนนี้ เรามองมีสองกลุ่ม กลุ่มที่เป็น Startup ที่เขาอาจจะพุ่งขึ้นมาด้วยนวัตกรรมอยู่แล้ว กับกลุ่มที่เป็น Traditional ที่เขาอาจจะมี Legacy ที่ใช้ประโยชน์ได้ แต่เขาก็ขยับตัวไม่ได้ เรานี่แหละจะเป็นตัวนึงที่มาช่วยเขาในการที่จะสร้างบริษัทใหม่ๆ สร้างนวัตกรรม สร้าง Venture ใหม่ๆ ร่วมกัน อาศัยความได้เปรียบจากทั้งสองฝั่ง

หลายๆ คนจริงๆ สนใจงานด้าน Consult ฉันอยากเป็นที่ปรึกษา เพราะมันดูน่าสนุก ได้คิดทั้งในฝั่ง Business มีมุมที่เป็น Creativity ที่เราต้องใส่เข้าไปด้วย ในขณะเดียวกัน เรื่องของตรรกะ การคิดวิเคราะห์ รวมไปถึงความรู้เชิงเทคโนโลยี ว่าจะเอาอะไรมาปรับใช้ ก็ได้ใช้

ถ้าคนที่ฟังอยู่อยากมาเป็น Consult ต้องมี Background ยังไง ต้องฝึกตัวเองยังไง ในงานที่ปรึกษา มันมีหลายสายงาน มันมีทั้งฝั่ง Business ฝั่ง Technology ซึ่งแปลว่าจริงๆ แล้วเรื่อง Background ทางการศึกษา เป็นข้อจำกัดที่น้อยมาก ไม่ว่าเราจะจบด้านไหนมา ส่วนใหญ่เราก็จะมี Background ตรงกับสักสายงานนึง เพราะที่ปรึกษาเองก็มีทั้งฝั่งที่เป็นเทคโนโลยี ฝั่งธุรกิจที่เป็นกลยุทธ์ ฝั่งที่เป็นการตลาด ฝั่งที่เป็นเรื่องไฟแนนซ์ มีหมด

สิ่งที่สำคัญคือทักษะมากกว่า แต่ไม่ใช่ Hard Skill ทั้งหมด สกิลในการเรียนรู้ มาเป็นอันดับหนึ่ง

สกิลที่สองคือการวิเคราะห์ Analytical Skills และแน่นอนว่าสำคัญอีกอย่างคือทักษาในการสื่อสารระหว่างบุคคล เราวิเคราะห์ได้ เราคิดออก สื่อสารไม่ได้ ลูกค้าไม่อยากคุยด้วย จบเลยนะ ไม่ได้ มันเป็นอุตสาหกรรมการบริการ ในธุรกิจที่ปรึกษา เรามีข้อมูลอยู่บนอินเตอร์เน็ตค่อนข้างเยอะ การเตรียมตัวเอง การสมัครงานเอง กระบวนการทั่วๆ ไปเราจะเรียกว่า Case Interview ตรงนี้จะเป็นการจำลองสถานการณ์

เพื่อให้ผู้สมัครได้วิเคราะห์ ซึ่งตรงนี้ผมเชื่อว่ามีข้อมูลอยู่บนอินเตอร์เน็ตค่อนข้างเยอะ น้องๆ คนไหนยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย แน่นอนว่าน่าจะมีชมรม Case Club ซึ่งอันนี้ผมว่าเป็นการซ้อมที่ดีมากๆ เลย

จริงๆ การแก้เคสก็เป็นงานที่ปรึกษานั่นแหละ ได้มีโอกาสได้เข้าใจกระบวนการด้วย อาจจะได้เพื่อนที่เขารู้ว่าต้องไปสมัครงานที่ไหนยังไงบ้าง

เรามองหาอะไรในผู้สมัครงาน

เราพยายามที่จะดูว่า เขาสามารถที่จะคิดทันทีได้รึเปล่า สามารถคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน

หลายๆ ครั้ง งานพวกนี้ต้องการคนที่สามารถที่จะ Drive เรื่องของการวิเคราะห์อะไรต่างๆ ได้ด้วยตัวเองค่อนข้างเยอะ เพราะว่างานมันค่อนข้างยาก มีความกำกวมสูง พฤติกรรมที่เขาแสดงออก จะเป็นประมานไหนครับ เขาจะพยายามถามซอกแซกเยอะกว่าปกติ อย่างงี้มั้ย

อันที่หนึ่ง เขาเข้ามาปุ๊บ เขาจะพยายามที่จะถามคำถามที่ถูกต้อง พยายามที่จะถามคำถามที่มี Impact เยอะๆ ก่อน หรือสามารถที่จะเรียงลำดับความสำคัญได้ ที่สำคัญอาจจะไม่ใช่แค่ตอนเริ่ม คือเวลาเจออุปสรรค เขาจะไม่ได้ยอมแพ้ง่ายๆ มันอาจจะติดขัดเพราะว่าเราไปผิดทาง สมมุติฐานที่เราตั้งไว้มันผิด มันเกิดขึ้นได้

แต่เราสามารถกู้คืนได้รึเปล่า เราเสียกำลังใจ เราเป๋เลยมั้ย หรือว่าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว อันนี้ก็จะทำให้เราแก้เคสไม่ทันตามเวลา ที่เหลือก็คงจะเป็นทักษะอย่างที่บอก เช่น การคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ได้มั้ย สมมุติเอาข้อมูลมาตั้ง บวกเลขผิด ก็เริ่มยากแล้ว

ต้องบอกว่าตอนนี้ ทุกธุรกิจที่พยายามจะทำ Digital Transformation คิดว่าอุปสรรคอย่างนึงคือเรื่องของการสร้างความสามารถของคน รักษาคน สร้างทีมเทคโนโลยี ซึ่งต้องบอกว่าเป็นความท้าทายมากๆ

อยากให้โบ๊ทลองแชร์ในมุมของผู้นำ ว่าเราบริการทีมยังไง ทำไม Bluebik ถึงกว้านคนเก่งๆ ไปทำงานได้เยอะขึ้นมากๆ เผื่อจะเป็น Tips ดีๆ ให้คนอื่นเอาไปใช้ได้

ถ้าเราพูดกันง่ายๆ อันแรกทุกคนทำงานต้องการการเติบโต สิ่งที่ Bluebik พยายามจะทำเสมอ คือเราเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เขาเติมโตได้ ไม่ว่าจะเติบโตกับเรา ไปเติบโตกับคนอื่นหลังจากนี้ แม้กระทั่งว่าเขาอยากจะไปสร้างเส้นทางของเขาเอง ถ้าเรามองแต่ตัวเอง เราจะไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ คือเราจะไม่ได้คิดว่า เราทำบริษัท เราวาง Career Path ให้พนักงานเรายังไง มองแต่ว่าเขาต้องอยู่กับเราตลอดไป ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้

สิ่งที่เราพยายามจะทำก็คือว่า หนึ่งคือตัว Career Path ของเรา มีได้ค่อนข้างหลากหลาย คนที่ทำอยู่ในสาย Tech บางทีอาจจะชอบ Business ขึ้นมาก็ได้ คนที่อยู่ในสาย Business บางทีอาจจะชอบ Tech ก็ได้ เขาอาจจะเปลี่ยนไป หรือว่าคนที่เป็น High Performer บางทีเขาไม่อยากจะยืดติดกับการเติบโตที่มัน Fixed อย่างเช่นว่า เขาโต 3 ปีเลื่อนขั้นทีนึง ในองค์กรที่จริงๆ มีขั้นบันไดค่อนข้างเยอะ ซึ่งเราพยายามจะทลายกำแพงพวกนั้นไปให้หมด และก็อยู่ในองค์กรเรา เราค่อนข้างที่จะขยับได้เยอะ ได้เร็ว ก็จะดึงดูดคนที่มีความสามารถและศักยาภาพสูงเข้ามา เพราะว่าเขาเองก็อยากจะขยับด้วยความเร็วเดียวกัน เขาอยากที่จะเติบโตเร็ว บางคนบอก อีกสามปีอยากเป็นหัวหน้าแล้ว เราไม่เคยปิดกั้นเลย เรื่อง Venture Builder จริงๆ เป็นอีกเรื่องที่เรารองรับ Career Path อีกแบบนึงด้วย บางคนไม่ได้อยากเป็นที่ปรึกษาไปตลอด เขาไปนำทีม Venture ก็ได้ อีกส่วนนึงผมก็เชื่อว่าเราก็ต้องเข้าใจในความแตกต่างของบุคลากร ของคนแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน และเราก็ต้อง Engage เขาในรูปแบบที่หลากหลาย เรามีแทบทุกเพศ ทุกวัย เราเคารพความแตกต่างตรงนี้หมด แล้วเวลาเรา Engage เราก็ต้องมองในมุมของพนักงานเองว่าเขาเหมาะกับวิธียังไง น้องสมัยใหม่บางคนบอกว่า ไม่ต้องการมาทำงานที่ออฟฟิศ เราจะไปบีบบังคับเขา มันอาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราก็จะพยายามที่จะออกแบบพวกนโยบายใหม่ เช่นพวก Hybrid เราประกาศนโยบายพวกนี้ เป็นนโยบายถาวรไปเรียบร้อยแล้ว

สุดท้าย อยากให้ทิ้งท้ายว่า โบ๊ทมีโอกาสทำงานกับต่างประเทศมาเยอะ และกลับมาทำในเมืองไทยผ่าน Bluebik ของตัวเอง อยากฟังความเห็นของโบ๊ทว่า ประเทศไทยเรา อยู่ตรงไหน เรามีอนาคตตรงไหน เราไปได้ไม่ได้ อยากฝากอะไรให้กับคนที่ทำธุรกิจอยู่ตอนนี้

มีหลายๆ เรื่องที่เราทำได้ดี เช่นผมเชื่อว่าบุคลากร คนไทยเองเก่งแน่นอน โดยเฉพาะในภาคเทคโนโลยี อย่างพี่ต้าเองก็เคยอยู่กับบริษัทระดับโลกมา เรามีบุคลากรแบบนี้อยู่เยอะมาก ทีนี้ถ้ามองในมุมกลับ เราใช้ประโยชน์จากบุคลากรเหล่านี้ได้เต็มที่หรือยัง ก็ต้องตอบว่ายัง เพราะว่า ถ้าวันนี้เราพูดถึงบริษัทที่คนอยากมาทำงานด้วยเยอะๆ บริษัทที่สร้าง Impact ได้เยอะๆ จริงๆ ในประเทศเรา ก็ยังมีอยู่ไม่มาก

ถามว่าเราจะไปต่อยังไง เราต้องกลับมามอง ว่าเราจะทำตัวเองให้ดึงดูดยังไง

ทำให้บริษัทของเรา รองรับคนที่เก่ง ให้เขากลับมาอยากมาอยู่กับเรา เพื่อมาช่วยเราพัฒนา องค์กรต่างๆ ก็ต้องมองหาพันธมิตร ในการมา Partner กัน เราไม่สามารถโตได้คนเดียวอีกต่อไปละ การแบ่งแยกอุตสาหกรรมตอนนี้ก็ไม่ชัดแล้ว ทุกวันนี้อย่างที่พี่ต้าบอกว่า แบงก์ก็มาทำ Lifestyle บริษัท Lifestyle ก็ไปทำ Financials มันไม่มีแล้ว ที่เราบอกว่า เราจะโตอยู่ในอุตสาหกรรมตัวเอง

กำแพงเหล่านั้นมันลดลงเรื่อยๆ แต่สิ่งที่เราจะโตได้อย่างยั่งยืน คือเราร่วมมือกัน แล้วเราเอาจุดแข็งของแต่ละคนมาจับกัน เราก็จะโตกันไปด้วยกัน อย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่ม
Transcript

ในยุคก่อนๆ พอธนาคารเริ่มมาใช้เทคโนโลยีเราจะเริ่มได้ยินคำว่า Internet Bankingสมัยก่อนก็คือการยกการบริการขึ้นมาอยู่ในช่องทางบนอินเตอร์เน็ตซึ่งมันไม่ใช่ Digital Transformation

แต่เราเห็นความเคลื่อนไหวของธนาคารในช่วงประมาน 5 - 10 ปีหลังเริ่มแตะเรื่องของ Lifestyle มากขึ้นเริ่มมีการทำตัวเองให้กลายเป็น Super Appเค้าพยายามที่จะ Capture คุณค่าของเค้าเกินกว่า Value Chain ที่เค้าอยู่นั่นคือเรื่องของ Financing

เหมือนอย่าง Grab กระโดดมาทำ Financials อยู่ดีๆ อยากจะปล่อยกู้Sea Thailand เคยทำเกมส์ และก็ไปทำ Payment แล้วก็ E-commerceSCB ที่กระโดดมาทำ Robinhoodแนวคิดแบบนี้ เวลาเราไปช่วยลูกค้ามันมีเทคนิคยังไงให้แก้ปัญหาออกมั้ย

หลายคนมาเป็น Vision ใหญ่เลย อยากมี Super App คำว่าแพลตฟอร์มคือคำที่เราเจอได้ในทุกวัน

ตามองค์กรจะบอกว่า เมืองนอกเขาทำแบบนี้ เวิร์คมากเลย อยากได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่ องค์กรเล็ก เรามีทรัพยากรจำกัด เราทำทุกอย่างไม่ได้วันนี้ เราไปเห็น Super App มา เราไปเห็นอันนี้มา เราทำหมด

พนักงานเราก็ไม่พอ เงินทุนเราก็ไม่พอ โฟกัสของเราเอง ก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น Keyword จริงๆ ของการทำกลยุทธ์ คือการ Trade-off (แลกเปลี่ยน)

สมัยก่อนเราอาจจะมองธุรกิจ เป็นการขยายสาขา เป็นการไปเปิดบริษัทเพิ่มเติม จะมองการเพิ่มคน เราเห็นได้เลยว่า บริษัทที่เขาตั้งเป้าที่จะเติบโตเป็นหลายๆ เท่า เขาไม่ได้ใช้กลยุทธ์แบบเดิมๆ แล้ว เขาใช้เทคโนโลยีเข้ามาจับ พอเราได้มีโอกาสได้ทำงานกับบริษัทในเมืองไทย เราได้เห็นว่า บริษัทในเมืองไทย เมื่อเทียบกับบริษัทชั้นนำในระดับโลก ก็ยังมีช่องว่างเรื่องนี้อยู่ เรื่อง Productivity เรื่อง Business Model เรายั อยู่ในรูปแบบที่เป็น Traditional Business ค่อนข้างเยอะ ทำให้เราสร้างทั้งรายได้ ทั้งกำไร ในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย เทียบกับจำนวนพนักงาน ทำให้เราเห็นได้ว่า เรายังมีความตามหลังบริษัทที่อยู่ในประเทศที่เจริญแล้ว พอสมควร ก็เลยเป็นสาเหตุที่ จากที่เป็นความชอบส่วนตัว มีความรู้ในเรื่องนี้อยู่ เราเห็นช่องว่างในตลาด ในเรื่องนี้พอดี นี่แหละ คือเรื่องที่เราน่าจะต้องทำ ก็เลยตัดสินใจเปิดตัวบริษัทที่ชื่อว่า Bluebik Group เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในเรื่องเดียวเลยคือเรื่องของ Digital Transformation

มีตัวอย่างในแต่ละอุตสาหกรรมยังไงบ้างว่าพอเค้า Transform ตัวเองได้แล้วภาพการทำธุรกิจเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากเป็นตัวล่างๆ ในการจัดอันดับ ขึ้นมาเป็นตัวต้นๆ เลย มีอันไหนที่โบ๊ตชอบ หรืออันที่เคยมีส่วนช่วยทำมาครับ

เล่าจากเคสที่เป็นระดับโลกก่อน ผมเชื่อว่าทุกคนก็คงจะรู้ แต่ว่าอาจจะไม่ได้สังเกตอย่าง Netflix Netflix แต่เดิมเป็นบริษัทปล่อยเช่า DVD พอเขามีโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับ Streaming พอเขาเห็นเรื่องเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ เขาเริ่มมีการทำ Business Model นี้ขึ้นมา ซึ่งเขาก็ไปนำเสนอกับ Blockbuster หรืออะไรพวกนี้

ซึ่ง Blockbuster เป็นยังไงครับ ไม่เอา ทุกวันนี้เราก็จะเห็นได้ว่า Blockbuster อาจจะไม่ได้อยู่แล้ว แต่ว่าในฝั่งของ Netflix เอง ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ที่สำคัญคือเราเห็นการพัฒนาของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากเดิมเขาเป็นแค่แพลตฟอร์มในการสตรีม ตอนนี้เขาเริ่มทำหนังเอง ทำคอนเทนต์เอง

โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้อะไรมาเกี่ยวข้อง หรือแม้กระทั่งเรื่องของพวก Recommendation อะไรต่างๆ ก็ใช้เทคโนโลยี ใช้ AI ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วย ซึ่งผมมองว่า วิธีการของเขา สอดคล้องเลยกับการที่เขา Transform ธุรกิจเก่า เป็นธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่สามารถ Scale ได้ค่อนข้างง่าย กระจายไปยังประเทศอื่นๆ ได้ สามารถที่จะ Operate ด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ แต่ว่าในประเทศไทย ผมก็มีโอกาสทำงานกับบริษัทชั้นนำหลายๆ บริษัท เราก็มีอีกหลายเคสที่เราชอบเหมือนกัน อย่างธนาคาร ก็มีหลายธนาคารที่สมัยก่อนเราให้คำปรึกษา พอธนาคารเริ่มมาใช้เทคโนโลยี เราจะเริ่มได้ยินคำว่า Internet Banking ซึ่งสมัยก่อนคือการยกการบริการขึ้นมาอยู่บนช่องทางอินเตอร์เน็ต

แต่ว่าภาพตรงนั้น ไม่ได้เป็นการ Shift Business Model มันไม่ได้เป็นการ Transform มันเหมือนเป็นการเปิดช่องทางเพิ่ม เป็นการเปิดช่องทางเพิ่ม เหมือนแค่ทดแทนของเก่ามาอยู่บนระบบดิจิทัล ซึ่งมันไม่ใช่ Digital Transformation ซึ่งเราเห็นการเคลื่อนไหวของธนาคารในช่วง 5 - 10 ปีหลัง เริ่มมีการเคลื่อนไหวในมุม Business Model เยอะ เราเห็นบางธนาคารเริ่มแตะเรื่องของ Lifestyle มากขึ้น เริ่มมีการทำตัวเองให้กลายเป็น Super App เขาพยายามที่จะ Capture คุณค่าของเขาเกินกว่า Value Chain ที่เขาอยู่นั่นคือเรื่องของ Financing

ถ้าเขามองตัวเองในเรื่องของ Finance คือเรื่องของการใช้เงิน แต่คนใช้เงินทำอะไร ถ้าเขาเขยิบขึ้นไปอีกนิดนึง เขาก็จะ Capture คุณค่าตรงนี้ได้มากขึ้น Transformation มันไม่ใช่แค่ เปลี่ยนจากกระดาษมาอยู่บนโลกดิจิทัล มันต้องอาศัยการคิดใหม่ ทำใหม่ ว่า Business Model เราจะเป็นยังไง แล้วเทคโนโลยีจะมาช่วยได้ยังไง อย่างตังอย่าง Netflix ผมว่า ถ้าเป็นคนทำธุรกิจ มันเหมือนรื้อกระดานใหม่หมดเลย แล้วก็หามุมที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ อย่างพี่สอนเรื่อง Data เยอะ ก็จำชอบเคสนี้มาก ชอบบอกทุกคนว่า เราเดินเข้า Blockbuster นะ ไม่มีคนรู้เลยว่าเราอยากดูหนังเรื่องอะไรบ้าง เราก็เดินเลือกๆ ของเราไปเรื่อยๆ พอเราใช้ Netflix ตั้งแต่สมัย DVD กลายเป็นว่าเราต้องคลิกบอกเค้าว่า เราอยากเพิ่มอันนี้ไว้ในคิว ฉันสนใจอันนี้ ฉันสนใจอันนั้น เขาเลยกลายเป็นเจ้าแรกๆ ที่เก่งมากเรื่อง Recommendation ต่างๆ

พี่ว่าทุกคนตื่นเต้นกับเราแล้ว กับเรื่อง Digital Transformation อยากให้โบ๊ทลองเล่าหน่อยครับ

สมมุติวันนี้มีธุรกิจนึง เขาคิดแล้วว่า ฟังเราพูดแล้ว เขาต้องมาแล้วหล่ะ Digital Transformation

ถ้าอยากจะเริ่มทำ เวลา Bluebik เข้าไปช่วยลูกค้า เราเข้าไปช่วยเค้ายังไงได้บ้างครับ

มันจะมีภาพสองภาพนะครับ ภาพแบบ Outside-In กับ Inside-Out ซึ่งสองภาพนี้จะช่วยให้เราสร้างไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่าง ได้ชัดเจนมากขึ้น

Inside-Out ก่อน วิธีการวิเคราะห์โดยทั่วๆ ไป เราก็จะต้องมองแล้วว่า ธุรกิจมันคืออะไร มันคือสิ่งที่เราต้องการที่จะสร้างคุณค่าขึ้นมา ซึ่งคุณค่าในที่นี้ โดยทั่วๆ ไปเราก็จะมองเรื่องกำไร แน่นอนว่าบางธุรกิจเราอาจจะมองตัวชี้วัดอื่นๆ นอกเหนือจากกำไร อาจจะเป็นเรื่องของสังคม เรื่องของอะไรก็ว่าไป ถ้าเรามีตัวชี้วัดหลักตัวนี้ได้ เราสามารถที่จะแยกองค์ประกอบมันออกมายิบๆ ย่อยๆ มากขึ้น เราสามารถเอากำไรตั้ง กำไรประกอบไปด้วยรายได้ ลบ รายจ่าย รายได้มันคืออะไร เรา Breakdown มันต่อ มันคือเรื่องของราคาคูณกับปริมาณ ในฝั่งของรายจ่าย เราอาจจะมี Fixed Cost เราอาจจะมี Variable Cost

ซึ่งพอเราวิเคราะห์ตรงนี้ได้ วิเคราะห์ในที่นี้คือสมมติว่าเราเปรียบเทียบตัวเรากับคู่แข่ง

เราคิดเงินแพงกว่ารึเปล่า หรือเราคิดถูกกว่า เราคิดแพงกว่าแปลว่า เราสามารถ Command Pricing ได้ จุดแข็งเราคืออะไร เป็นเรื่องแบรนด์รึเปล่า หรือว่าเป็นเรื่องของความเข้าใจลูกค้า หรือเรื่องของ Timing เราได้ เรื่องของปริมาณ ทำไมเราขายได้จำนวนเยอะ หรือว่าสินค้าเราตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น แล้วก็แน่นอนว่าเรื่องของต้นทุนเช่นกัน เราสามารถที่จะเทียบเรากับในอดีต เทียบเรากับคู่แข่ง หรือว่าคนที่เป็นแรงบันดาลใจ หรือปณิธานของเรา ตรงนี้เราจะเริ่มเห็นแล้วว่า จุดแข็งจุดอ่อนขององค์กะเป็นยังไง ทำให้เรารู้ว่า ถ้าสมมติว่าเราจะเดินหน้าต่อไป เราจะต้องใช้จุดแข็งอะไรบ้าง อะไรเป็นสิ่งที่พอเราเดินไปแล้วต้องอย่าทิ้ง ตรงนี้เอามาใช้สร้างความได้เปรียบได้ อีกภาพนึงที่จะมาต่อกันก็คือภาพ Outside-In เราจะสร้างแรงบันดาลใจกับไอเดียเหล่านี้ยังไง ถ้าพูดตรงๆ ภาพนี้เป็นภาพที่ยาก ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีหลายเทคนิคมากๆ อย่างบางคนก็จะเริ่มจากลูกค้า ใช้พวก Design Thinking ดูจาก Pain Point (ปัญหา) ที่มีอยู่ในตลาด ลอง Innovate ขึ้นมาว่า ภาพตรงนี้ในปัจจุบันบางสถานการณ์ ลูกค้ากลุ่มนี้มี Pain Point อะไรอีก ที่เรายังไม่สามารถไปจั ได้ หรือบางคนอาจจะไปดูจาก Benchmark เปรียบเทียบกับบริษัทที่เป็น Aspiration ของเขา หรือบางคนก็อาจจะคิดจากวิธีอื่นๆ เราก็จะมีเทคนิคมากมาย แต่ในภาพรวมคือเราต้องการที่จะสร้างไอเดีย พอ Outside-In มาเจอกับ Inside-Out สุดท้ายจะเกิดการวิเคราะห์ว่าในแต่โอกาสเราใช้ความได้เปรียบเราได้จริงมั้ย

ตัว Impact ที่จะเกิดขึ้น และ Investment ที่จะเกิดขึ้น มันมากน้อยแค่ไหน อันนี้จะเป็นภาพคร่าวๆ ที่ปกติ ในการที่เราจะวางกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับองค์กรใด องค์กรหนึ่ง ก็จะต้องพิจารณาภาพตรงนั้น บริษัทใหญ่ๆ เราเห็นตามข่าว หลายคนมา Vision ใหญ่เลย อยากมี Super App คำว่าแพลตฟอร์ม คือคำที่เราเจอได้ในทุกวัน หลายเจ้ามาดุดันมาก เล่นสไตล์ Freemium ฉันจะแจกฟรี ไปตามองค์กรแล้วเขาก็จะบอกว่า เมืองนอกเขาทำอันนี้ เวิร์คมากเลย อยากได้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีที่สุดรึเปล่า เลยอยากจะฟังคำแนะนำในเชิงนี้ วิธีการวางกลยุทธ์ โดยเฉพาะในเชิงกลยุทธ์ดิจิทัล

คำว่ากลยุทธ์ หรือคำว่า Strategy จริงๆ ในภาพธุรกิจ เราจะมองถึงการ Trade-off (แลกเปลี่ยน) ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่ องค์กรเล็ก เรามีทรัพยากรจำกัด เราทำทุกอย่างไม่ได้วันนี้ เราไปเห็น Super App มา เราไปเห็นอันนี้มา เราทำหมด พนักงานเราก็ไม่พอ เงินทุนเราก็ไม่พอ โฟกัสของเราเอง ก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น Keyword จริงๆ ของการทำกลยุทธ์ คือการ Trade-off (แลกเปลี่ยน) ที่เราบอกว่า เราต้องรู้จักตัวด้วยว่าจุดแข็งของเราคืออะไรกันแน่ จุดแข็งของเราคือเพราะว่าเราทำต้นทุนได้ถูกมากๆ รึเปล่า เรามีพาร์ทเนอร์เยอะรึเปล่า หรือว่าแบรนด์เราเป็นที่รู้จักเป็นที่ต้องการ จุดแข็งต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยกำหนดกรอบให้กลยุทธ์ที่เราเลือก สุดท้ายมันเหมาะกับเรา อาจจะไม่ได้เหมาะกับคู่แข่ง เพราะเรา Trade-off จรกระทั่งมันเหมาะสมกับเราคนเดียว บางบริษัท เวลาเราพูดถึง อยากจะมี Digital Platform เขาอาจจะมองถึง Super App เลย เพราะว่าเขาบอกว่า จริงๆ แล้วเขามี User Stickiness สูงมาก ลูกค้าอยู่กับเขาตลอด เพราะงั้นเขาไม่ต้องคิดอะไรมาก

เขาอยากจะอยู่ให้ครบวงจรของลูกค้า ยังไงลูกค้าต้องอยู่กับเขาทุกวัน ต้องกลับมาหาเขา เขาครอบคลุมทั้งวงจรเลย แต่บางธุรกิจไม่ใช่ ลูกค้ากลับมาแค่ เดือนละครั้ง หรือว่าไตรมาสละครั้ง แต่การซื้อแต่ละครั้งใหญ่มาก จุดแข็งเขาอาจจะไม่ใช่มุมนั้น วิธีการวางกลยุทธ์ก็จะแตกต่างกัน และกลยุทธ์ที่ดีแปลว่ามันใช้กับเราได้ ไม่ควรใช้กับคนอื่นได้ ภาพมันควรจะเป็นประมาณนี้ ถ้าเป็นในเชิงปรับหลังบ้าน เอาเทคโนโลยีมาช่วย เราอาจจะพอคิดออก แต่ตอนนี้ภาพที่มันเกิดขึ้น สมมติอย่าง Grab กระโดดมาทำ Financials Sea Thailand เคยทำเกมส์ และก็มาทำ Payment แล้วก็ E-commerce SCB ที่กระโดดมาทำ Robinhood ที่เป็น แพลตฟอร์มส่งอาหาร และกำลังจะขยายต่ออีก แนวคิดแบบนี้ เวลาเราไปช่วยลูกค้า

มันมีเทคนิคยังไงให้แก้ปัญหาออกมั้ย หรือบางทีเราอาจจะรู้สึกว่ามันเป็นไอเดียที่ดี ผู้บริหารเขาอาจจะไม่ซื้อกับเรา เราเป็นแบงก์อยู่ ทำไมเราต้องมาส่งอาหาร วิธีการที่จะหาไอเดียที่ดี อยู่ที่การสังเกต ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค Design Thinking หรืออะไร สุดท้ายเราก็ต้องสังเกต แล้วมองให้เห็นว่า โอกาสนี้มันจะเกิดขึ้น มันไป Impact ลูกค้ายังไง ภาพตรงนี้ ไม่ว่าเราจะสังเกตลูกค้าเอง สังเกตบริษัทที่เก่งๆ เอง มันก็จะได้ไอเดียขึ้นมา ทีนี้ ไอเดียต่างๆ มันไม่พอหรอก ในการที่จะทำให้มันเกิดกลยุทธ์ที่ดี มันต้องเกิดผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Validation เราจะต้องมีการวิเคราะห์ว่าแต่ละไอเดีย สุดท้าย Impact ที่เกิดขึ้น มันเหมาะสมกับการลงทุน และเวลาที่เราเสียไปรึเปล่า ถ้าถามว่าเราจะโน้มน้าวผู้บริหารยังไง ต้องบอกว่า ผู้บริหารเองเวลาทำ Investment หรือการวางกลยุทธ์แบบนี้ สิ่งที่เป็นปัญหาของเขาเลยก็คือ เขาไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะมันไม่ได้มี

ข้อมูล และตรรกะที่ชัดเจน หน้าที่ของเราคือเปลี่ยนจากปัญหาที่ เมื่อกี้มีความกำกวมอยู่เยอะ ออกมาเป็นปัญหาที่ชัดเจนมากขึ้น และมีการไล่เรียงตรรกะของวิธีคิดในการ Validate ว่า กว่าไอเดียเป็นสิบๆ อัน ถูกกรั่นกรองออกมา อาจจะเหลือ สามอัน สองอัน หนึ่งอัน มันผ่านกระบวนการอะไรยังไงมาบ้าง มันถูกปัดตกเพราะอะไร มันยังอยู่เพราะอะไร ตรรกะต้องเคลียร์ในการทำกลยุทธ์ อีกมุมนึงที่ผมมองว่า การที่เราจะสามารถสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูง ให้เขาสามารถที่จะเข้าใจตัวกลยุทธ์ และอยากจะนำไปใช้ได้จริง เราต้องคาดการณ์เรื่องของปัญหาที่จะเกิดขึ้น เราต้องมองข้ามช็อตให้เห็นว่า ความท้าทาย หรือช่องว่างซึ่งมีอยู แล้วทุกองค์กร ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการที่เราจะทำกลยุทธ์นี้คืออะไร กลยุทธ์เนี่ย ถึงเมื่อกี้เราบอกว่า เราใช้จุดแข็งของตัวองค์กร แต่มันเป็นไปไม่ได้หรอกว่า ทุกวันนี้ เราไม่ต้องปรับตัว บางทีเราต้องลงทุนเรื่องเทคโนโลยี ต้องเปลี่ยนคน ทำ Change Management ทำเทรนนิ่ง ต้องจ้างคนเพิ่ม ภาพตรงนี้ เป็นสิ่งที่จริงๆ แล้วจะช่วยให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ได้มากขึ้นว่า ผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจของตัวเองอยู่แล้ว เขาจะสามารถเห็นได้ว่า ช่องว่างตรงนี้ เขาปิดได้จริงหรือเปล่า ปิดได้เร็วมั้ย

ถ้าเขามองว่ามันมีความเป็นไปได้ ช่องว่างเหล่านี้ เขาสามารถปิดได้

เขาก็จะมีความเชื่อมั่นในกลยุทธ์เหล่านี้มากขึ้น

ในโปรเจกต์ Transformation ทั้งหลายที่โบ๊ทไปช่วยมา

คิดว่าความท้าทายหลักๆ มีตรงไหนบ้าง

อันที่หนึ่งเลย เป็นเรื่องของการเปลี่ยน Mindset ของคนที่อยู่ในอุตสาหกรรม ต้องมองว่าการเป็นที่ปรึกษา ยางที่เราไม่ได้รู้อุตสาหกรรม หรือรู้บริษัทดีกว่าผู้บริหาร หรือเจ้าของ สิ่งที่ยากคือ เราจะต้องให้ผู้บริหาร มองข้ามอุตสาหกรรมของตัวเองไปได้เหมือนกันต้องหลุดกรอบ ซึ่งผมว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะด้วยความที่เราเข้าไป และเราอาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ในอุตสหากรรมเท่ากับเขา แต่เรามั่นใจกับคำแนะนำ เพราะข้อมูลทุกอย่างมันชี้ไปในทิศทางนี้ เราก็จะต้องหนักแน่น และต้องมีข้อมูลมาเสริมที่ค่อนข้างชัดเจน

อันที่สองผมคิดว่า เรื่องของการทำ Digital Transformation สุดท้ายงานยากก็กลับมาเรื่องของคนอีกเหมือนกัน เวลาเราบอกว่า เราจะเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยน Business Model จากเดิมใช้กระดาษ มาเป็นคอม เอาแค่ง่ายๆ แค่นี้ก่อน จะต้องมีคนต่อต้านแน่นอน เราก็ต้องหาให้ได้ก่อนว่าเขาต่อต้านเพราะอะไร อันที่หนึ่ง เขาต่อต้านเพราะว่าเขาไม่มีทักษะ อันที่สอง เขาต่อต้านเพราะเขารู้สึกว่าไม่มีสิ่งจูงใจ อันที่สาม เขามองว่ามันไม่ได้ตอบโจทย์ในเชิงของจรรยาบรรณ ความรู้สึก หรืออะไรของเขาเลย มันเป็นความรู้สึกว่า ไม่ได้มีความเชื่อในอนาคตของหลักการตรงนี้ เขาก็อาจจะไม่ไปเหมือนกัน ทั้งในสามมุมนี้ ก็จะทำให้เกิดการขัดขืนขึ้น ซึ่งผมมองว่าอันนี้เป็นจุดที่สำคัญ

อีกข้อนึงที่ผมมองว่าเป็น Top 3 คือ ความเข้าใจในเชิงของ Business Impact ของเทคโนโลยีเหล่านั้น

ยกตัวอย่างเทคโนโลยีตัวนึง ตอนนี้เราพูดกันบ่อยมาก และก็มีการทำไปใช้ ก็คือ Cloud การที่เราย้ายไป Cloud ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ของมัน เอาง่ายๆ ว่าบางธุรกิจที่ Operate แค่ตอนกลางวัน ไม่ Operate ตอนกลางคืน พอใช้ Cloud ก็สามารถที่จะลด Scale ได้ ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้ Economics มันเปลี่ยนไป วิธีคิดมันเปลี่ยนไป เทคโนโลยีต่างๆ มันเปลี่ยนวิธีคิดแบบนี้เยอะ

หรือเรื่องของสาขา เมื่อกี้ที่เราพูด ธุรกิจพอเป็นลักษณะ Digital Platform เราไม่ได้พูดถึงจำนวนสาขาแล้ว Marginal Cost ในการเพิ่มผู้ใช้มันน้อยมาก เพราะฉะนั้น ความเข้าใจในเชิง Business Impact บนโลกดิจิทัล อันนี้เป็นความท้าทายอันที่สาม ผมอ่านบทความอันนึงของ Harvard Business Review เขาบอกว่า กับดักอันนึงคือ ผู้บริหารยังลงมือทำ และเข้าใจเทคโนโลยีน้อยเกินไป ทำให้หลายๆ ครั้งเขาไม่กล้าขยับไปในทางที่ Make sense มากในมุมคนเทคโนโลยี แต่เขาไม่เก็ท เข้าไม่เก็ทว่าการที่เราไปอยู่ใน Cloud มันไม่ต้องมีแอดมินอีกเยอะมากที่ต้องมานั่งเฝ้าว่า Server จะล่มไม่ล่ม ล่าสุด Bluebik เริ่มผันตัวเอง มีพันธกิจใหม่ในการไปทำในเรื่องของ Venture Builder มากขึ้น อยากให้โบ๊ทลองเล่าให้ฟังนิดนึง ว่า Venture Builder มันคืออะไร แล้วสิ่งที่ Bluebik ทำมันน่าตื่นเต้นยังไง

ที่ปรึกษา โดยส่วนใหญ่แล้ว พอทำเสร็จแล้วมันจะไป ไม่ได้อยู่ด้วย อยู่ดูแลต่อ เราก็เลยมีการมาคิดว่า จริงๆ ลูกค้าหลายๆ ที่ Pain Point ของเขา พอเขารับตัวแผนกลยุทธ์ แม้กระทั่งไปช่วยเขาสร้างให้เสร็จ

เขาต้อง Operate ต่อ มันมีความท้าทายอยู่เยอะมาก เพราะโลกปัจจุบันเราเรียกว่ามัน Vuca มันเปลี่ยนเยอะมาก มันมีความไม่แน่นอน ความซับซ้อนอยู่เยอะ ที่สำคัญตอนนี้ เขาต้องการความเร็ว โลกมันเปลี่ยนเร็ว แปลว่าบางทีไอเดียที่เราคิดวันนี้ อีกอาทิตย์นึงมันอาจจะไม่อยู่แล้ว ถ้าสมมุติว่า ทีมของ Bluebik ได้มีโอกาสในการไปทำโปรเจกต์มาค่อนข้างเยอะ เข้าไปช่วย Set up ธุรกิจขึ้รมาจริงๆ ทางลูกค้าได้ประโยชน์แน่นอน เพราะว่าเขาเอง สามารถที่จะเริ่มไอเดียต่างๆ ได้รวดเร็วมากขึ้น เพราะว่า Bluebik เรามีครบตั้งแต่ฝั่งที่เป็น Pure Business เลย ไปจนถึง Deep Technology เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตาม เราสามารถที่จะส่งระดับผู้นำเข้าไป CTO CEO CFO CMO First Tier เราไปไว้ก่อน แล้วเราสามารถที่จะใช้ความสามารถของเรา ในการ Ramp up ทีมในด้านต่างๆ ได้ค่อนข้างรวดเร็ว บวกกับ Know-how ที่เรามี

แต่ Bluebik ไม่สามารถที่จะไปทำธุรกิจอะไรเองได้ เพราะเราไม่ได้มีความได้เปรียบในเชิงอื่น

เราอาจจะไม่ได้มีสาขาเดิมอยู่ เราอาจจะไม่มีข้อมูลเดิมอยู่เยอะ ซึ่งตรงนี้ ทางลูกค้ามี ลูกค้าบอกว่าอยากจะเร่ง อยากจะทำธุรกิจนี้ให้เกิด เห็นโอกาสอยู่ข้างหน้า ตรงนี้ มันคือสิ่งที่เรามองว่าเป็นความสวยงาม

ว่าองค์กรทั้งสองฟาก มันสามารถร่วมกันได้ และที่สำคัญทั้งสองฝั่งมีพันธร่วมกัน เพราะมีส่วนได้ส่วนเสีย

เราก็ลงทุน ทาง Bluebik เองเราก็มีกองทุนที่เรากันไว้ส่วนนึงในการที่จะ Co-invest ลงทุกใน Venture

ถ้าธุรกิจในประเทศไทยตอนนี้ เรามองมีสองกลุ่ม กลุ่มที่เป็น Startup ที่เขาอาจจะพุ่งขึ้นมาด้วยนวัตกรรมอยู่แล้ว กับกลุ่มที่เป็น Traditional ที่เขาอาจจะมี Legacy ที่ใช้ประโยชน์ได้ แต่เขาก็ขยับตัวไม่ได้ เรานี่แหละจะเป็นตัวนึงที่มาช่วยเขาในการที่จะสร้างบริษัทใหม่ๆ สร้างนวัตกรรม สร้าง Venture ใหม่ๆ ร่วมกัน อาศัยความได้เปรียบจากทั้งสองฝั่ง

หลายๆ คนจริงๆ สนใจงานด้าน Consult ฉันอยากเป็นที่ปรึกษา เพราะมันดูน่าสนุก ได้คิดทั้งในฝั่ง Business มีมุมที่เป็น Creativity ที่เราต้องใส่เข้าไปด้วย ในขณะเดียวกัน เรื่องของตรรกะ การคิดวิเคราะห์ รวมไปถึงความรู้เชิงเทคโนโลยี ว่าจะเอาอะไรมาปรับใช้ ก็ได้ใช้

ถ้าคนที่ฟังอยู่อยากมาเป็น Consult ต้องมี Background ยังไง ต้องฝึกตัวเองยังไง ในงานที่ปรึกษา มันมีหลายสายงาน มันมีทั้งฝั่ง Business ฝั่ง Technology ซึ่งแปลว่าจริงๆ แล้วเรื่อง Background ทางการศึกษา เป็นข้อจำกัดที่น้อยมาก ไม่ว่าเราจะจบด้านไหนมา ส่วนใหญ่เราก็จะมี Background ตรงกับสักสายงานนึง เพราะที่ปรึกษาเองก็มีทั้งฝั่งที่เป็นเทคโนโลยี ฝั่งธุรกิจที่เป็นกลยุทธ์ ฝั่งที่เป็นการตลาด ฝั่งที่เป็นเรื่องไฟแนนซ์ มีหมด

สิ่งที่สำคัญคือทักษะมากกว่า แต่ไม่ใช่ Hard Skill ทั้งหมด สกิลในการเรียนรู้ มาเป็นอันดับหนึ่ง

สกิลที่สองคือการวิเคราะห์ Analytical Skills และแน่นอนว่าสำคัญอีกอย่างคือทักษาในการสื่อสารระหว่างบุคคล เราวิเคราะห์ได้ เราคิดออก สื่อสารไม่ได้ ลูกค้าไม่อยากคุยด้วย จบเลยนะ ไม่ได้ มันเป็นอุตสาหกรรมการบริการ ในธุรกิจที่ปรึกษา เรามีข้อมูลอยู่บนอินเตอร์เน็ตค่อนข้างเยอะ การเตรียมตัวเอง การสมัครงานเอง กระบวนการทั่วๆ ไปเราจะเรียกว่า Case Interview ตรงนี้จะเป็นการจำลองสถานการณ์

เพื่อให้ผู้สมัครได้วิเคราะห์ ซึ่งตรงนี้ผมเชื่อว่ามีข้อมูลอยู่บนอินเตอร์เน็ตค่อนข้างเยอะ น้องๆ คนไหนยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย แน่นอนว่าน่าจะมีชมรม Case Club ซึ่งอันนี้ผมว่าเป็นการซ้อมที่ดีมากๆ เลย

จริงๆ การแก้เคสก็เป็นงานที่ปรึกษานั่นแหละ ได้มีโอกาสได้เข้าใจกระบวนการด้วย อาจจะได้เพื่อนที่เขารู้ว่าต้องไปสมัครงานที่ไหนยังไงบ้าง

เรามองหาอะไรในผู้สมัครงาน

เราพยายามที่จะดูว่า เขาสามารถที่จะคิดทันทีได้รึเปล่า สามารถคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน

หลายๆ ครั้ง งานพวกนี้ต้องการคนที่สามารถที่จะ Drive เรื่องของการวิเคราะห์อะไรต่างๆ ได้ด้วยตัวเองค่อนข้างเยอะ เพราะว่างานมันค่อนข้างยาก มีความกำกวมสูง พฤติกรรมที่เขาแสดงออก จะเป็นประมานไหนครับ เขาจะพยายามถามซอกแซกเยอะกว่าปกติ อย่างงี้มั้ย

อันที่หนึ่ง เขาเข้ามาปุ๊บ เขาจะพยายามที่จะถามคำถามที่ถูกต้อง พยายามที่จะถามคำถามที่มี Impact เยอะๆ ก่อน หรือสามารถที่จะเรียงลำดับความสำคัญได้ ที่สำคัญอาจจะไม่ใช่แค่ตอนเริ่ม คือเวลาเจออุปสรรค เขาจะไม่ได้ยอมแพ้ง่ายๆ มันอาจจะติดขัดเพราะว่าเราไปผิดทาง สมมุติฐานที่เราตั้งไว้มันผิด มันเกิดขึ้นได้

แต่เราสามารถกู้คืนได้รึเปล่า เราเสียกำลังใจ เราเป๋เลยมั้ย หรือว่าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว อันนี้ก็จะทำให้เราแก้เคสไม่ทันตามเวลา ที่เหลือก็คงจะเป็นทักษะอย่างที่บอก เช่น การคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ได้มั้ย สมมุติเอาข้อมูลมาตั้ง บวกเลขผิด ก็เริ่มยากแล้ว

ต้องบอกว่าตอนนี้ ทุกธุรกิจที่พยายามจะทำ Digital Transformation คิดว่าอุปสรรคอย่างนึงคือเรื่องของการสร้างความสามารถของคน รักษาคน สร้างทีมเทคโนโลยี ซึ่งต้องบอกว่าเป็นความท้าทายมากๆ

อยากให้โบ๊ทลองแชร์ในมุมของผู้นำ ว่าเราบริการทีมยังไง ทำไม Bluebik ถึงกว้านคนเก่งๆ ไปทำงานได้เยอะขึ้นมากๆ เผื่อจะเป็น Tips ดีๆ ให้คนอื่นเอาไปใช้ได้

ถ้าเราพูดกันง่ายๆ อันแรกทุกคนทำงานต้องการการเติบโต สิ่งที่ Bluebik พยายามจะทำเสมอ คือเราเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เขาเติมโตได้ ไม่ว่าจะเติบโตกับเรา ไปเติบโตกับคนอื่นหลังจากนี้ แม้กระทั่งว่าเขาอยากจะไปสร้างเส้นทางของเขาเอง ถ้าเรามองแต่ตัวเอง เราจะไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ คือเราจะไม่ได้คิดว่า เราทำบริษัท เราวาง Career Path ให้พนักงานเรายังไง มองแต่ว่าเขาต้องอยู่กับเราตลอดไป ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้

สิ่งที่เราพยายามจะทำก็คือว่า หนึ่งคือตัว Career Path ของเรา มีได้ค่อนข้างหลากหลาย คนที่ทำอยู่ในสาย Tech บางทีอาจจะชอบ Business ขึ้นมาก็ได้ คนที่อยู่ในสาย Business บางทีอาจจะชอบ Tech ก็ได้ เขาอาจจะเปลี่ยนไป หรือว่าคนที่เป็น High Performer บางทีเขาไม่อยากจะยืดติดกับการเติบโตที่มัน Fixed อย่างเช่นว่า เขาโต 3 ปีเลื่อนขั้นทีนึง ในองค์กรที่จริงๆ มีขั้นบันไดค่อนข้างเยอะ ซึ่งเราพยายามจะทลายกำแพงพวกนั้นไปให้หมด และก็อยู่ในองค์กรเรา เราค่อนข้างที่จะขยับได้เยอะ ได้เร็ว ก็จะดึงดูดคนที่มีความสามารถและศักยาภาพสูงเข้ามา เพราะว่าเขาเองก็อยากจะขยับด้วยความเร็วเดียวกัน เขาอยากที่จะเติบโตเร็ว บางคนบอก อีกสามปีอยากเป็นหัวหน้าแล้ว เราไม่เคยปิดกั้นเลย เรื่อง Venture Builder จริงๆ เป็นอีกเรื่องที่เรารองรับ Career Path อีกแบบนึงด้วย บางคนไม่ได้อยากเป็นที่ปรึกษาไปตลอด เขาไปนำทีม Venture ก็ได้ อีกส่วนนึงผมก็เชื่อว่าเราก็ต้องเข้าใจในความแตกต่างของบุคลากร ของคนแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน และเราก็ต้อง Engage เขาในรูปแบบที่หลากหลาย เรามีแทบทุกเพศ ทุกวัย เราเคารพความแตกต่างตรงนี้หมด แล้วเวลาเรา Engage เราก็ต้องมองในมุมของพนักงานเองว่าเขาเหมาะกับวิธียังไง น้องสมัยใหม่บางคนบอกว่า ไม่ต้องการมาทำงานที่ออฟฟิศ เราจะไปบีบบังคับเขา มันอาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราก็จะพยายามที่จะออกแบบพวกนโยบายใหม่ เช่นพวก Hybrid เราประกาศนโยบายพวกนี้ เป็นนโยบายถาวรไปเรียบร้อยแล้ว

สุดท้าย อยากให้ทิ้งท้ายว่า โบ๊ทมีโอกาสทำงานกับต่างประเทศมาเยอะ และกลับมาทำในเมืองไทยผ่าน Bluebik ของตัวเอง อยากฟังความเห็นของโบ๊ทว่า ประเทศไทยเรา อยู่ตรงไหน เรามีอนาคตตรงไหน เราไปได้ไม่ได้ อยากฝากอะไรให้กับคนที่ทำธุรกิจอยู่ตอนนี้

มีหลายๆ เรื่องที่เราทำได้ดี เช่นผมเชื่อว่าบุคลากร คนไทยเองเก่งแน่นอน โดยเฉพาะในภาคเทคโนโลยี อย่างพี่ต้าเองก็เคยอยู่กับบริษัทระดับโลกมา เรามีบุคลากรแบบนี้อยู่เยอะมาก ทีนี้ถ้ามองในมุมกลับ เราใช้ประโยชน์จากบุคลากรเหล่านี้ได้เต็มที่หรือยัง ก็ต้องตอบว่ายัง เพราะว่า ถ้าวันนี้เราพูดถึงบริษัทที่คนอยากมาทำงานด้วยเยอะๆ บริษัทที่สร้าง Impact ได้เยอะๆ จริงๆ ในประเทศเรา ก็ยังมีอยู่ไม่มาก

ถามว่าเราจะไปต่อยังไง เราต้องกลับมามอง ว่าเราจะทำตัวเองให้ดึงดูดยังไง

ทำให้บริษัทของเรา รองรับคนที่เก่ง ให้เขากลับมาอยากมาอยู่กับเรา เพื่อมาช่วยเราพัฒนา องค์กรต่างๆ ก็ต้องมองหาพันธมิตร ในการมา Partner กัน เราไม่สามารถโตได้คนเดียวอีกต่อไปละ การแบ่งแยกอุตสาหกรรมตอนนี้ก็ไม่ชัดแล้ว ทุกวันนี้อย่างที่พี่ต้าบอกว่า แบงก์ก็มาทำ Lifestyle บริษัท Lifestyle ก็ไปทำ Financials มันไม่มีแล้ว ที่เราบอกว่า เราจะโตอยู่ในอุตสาหกรรมตัวเอง

กำแพงเหล่านั้นมันลดลงเรื่อยๆ แต่สิ่งที่เราจะโตได้อย่างยั่งยืน คือเราร่วมมือกัน แล้วเราเอาจุดแข็งของแต่ละคนมาจับกัน เราก็จะโตกันไปด้วยกัน อย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่ม